เมนู

[29] ควรรู้ยิ่งว่า ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร ความไม่เกิดขึ้น
เป็นนิพพาน ความเป็นไปเป็นสังขาร ความไม่เป็นไปเป็นนิพพาน
เครื่องหมายเป็นสังขาร ความไม่มีเครื่องหมายเป็นนิพพาน ความ
ประมวลมาเป็นสังขาร ความไม่ประมวลมาเป็นนิพพาน ความสืบต่อ
เป็นสังขาร ความไม่สืบต่อเป็นนิพพาน ความไปเป็นสังขาร ความไม่
ไปเป็นนิพพาน ความบังเกิดเป็นสังขาร ความไม่บังเกิดเป็นนิพพาน
ความอุบัติเป็นสังขาร ความไม่อุบัติเป็นนิพพาน ความเกิดเป็นสังขาร
ความไม่เกิดเป็นนิพพาน ความแก่เป็นสังขาร ความไม่แก่เป็นนิพพาน
ความป่วยไข้เป็นสังขาร ความไม่ป่วยไข้เป็นนิพพาน ความตายเป็น
สังขาร ความไม่ตายเป็นนิพพาน ความเศร้าโศกเป็นสังขาร ความ
ไม่เศร้าโศกเป็นนิพพาน ความรำพันเป็นสังขาร ความไม่รำพันเป็น
นิพพาน ความคับแค้นใจเป็นสังขาร ความไม่คับแค้นใจเป็นนิพพาน.
จบ ปฐมภาณวาร
________________________

อรรถกถาทุกขสัจเป็นต้น


10 ] พระสารีบุตรได้ชี้แจงถึงการวิสัชนา 808 ข้อ มีทุกข์
เป็นต้นโดยประกอบเข้ากับอริยสัจ 4. พระสารีบุตรกล่าวประมวล การ
วิสัชนา 24 อย่าง ด้วยจตุกกะ 6 ไว้ในบทมี อาทิว่า ทุกฺขํ อภิญฺเญยฺยํ
ทุกข์ ควรรู้ยิ่ง ด้วยการวิสัชนา 195 มีอาทิว่า จกฺขุํ อภิญฺเญยฺยํ

โสตํ อภิญฺเญยฺยํ จักขุ... โสตะ ควรรู้ยิ่ง ในไปยาล (ละคำ) ว่า
จกฺขุํ ฯเปฯ ชรามรณํ - จักขุ ฯลฯ ชรามรณะ เป็นอันได้ 195
จตุกกะ ด้วยอำนาจของจสุกกะเหล่านั้น จึงเป็นการวิสัชนา 780,
ในจตุกกะมีอาทิว่า ชรามรณํ อภิญฺเญยฺยํ - ชรามรณะควรรู้ยิ่งทั้งหมด
จึงเป็นการวิสัชนา 808 ข้อ โดยประการฉะนี้ว่า จตฺตาริ วิสชฺชนานิ
การวิสัชนา 4 ข้อ.
อนึ่ง ในการวิสัชนานี้ พึงทราบว่า ปัจจัยอันเป็นประธานของ
ธรรมนั้นๆ เป็นสมุทัย, นิพพานว่างจากสังขารทั้งปวงเป็นนิโรธ.
ในอธิการนี้ บทมีอาทิว่า อนญฺญาตญฺญสฺสามีตินฺทฺริยนิโรโธ การ
ดับอินทรีย์ คืออัธยาศัยที่มุ่งบรรลุมรรคผลของผู้ปฏิบัติ หมายถึงความ
ไม่มีอินทรีย์อันเป็นโลกุตระ 3 ประการ มี อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์
เป็นต้น ถูกต้อง. บทว่า นิโรธคามินีปฏิปทา ในทุกแห่งเป็นอริยมรรค
ทั้งนั้น. แม้เมื่อท่านกล่าวถึงผลอย่างนี้ไว้ แม้ อัญญินทรีย์ ( อินทรีย์
คือการตรัสรู้สัจธรรมด้วยมรรค) อัญญาตาวินทรีย์ ( อินทรีย์ของ
พระอรหันต์ผู้ตรัสรู้สัจธรรมแล้ว) ย่อมถูกต้อง เพราะมีชื่อเรียกว่า มรรค.
พระสารีบุตรได้ชี้แจงถึงการวิสัชนา 808 ข้อ ด้วยสภาพที่ควร
กำหนดรู้ทุกข์เป็นต้นต่อไป. ท่านได้ชี้แจงการวิสัชนา 808 ข้อ ด้วย
สภาพที่แทงตลอดด้วยการกำหนดรู้ทุกข์เป็นต้นอีก. การกำหนดรู้และ
การแทงตลอดด้วยสภาพที่ควรแทงตลอด ชื่อว่า ปริญญาปฏิเวธะ.


อรรถคือปริญญาปฏิเวธะนั้นแล ชื่อว่า ปริญฺญาปฏิเวธฏฺโฐ - สภาพที่
แทงตลอดด้วยการกำหนดรู้.
11 - 14] พระสารีบุตรได้ชี้แจงถึงการวิสัชนา 1,616 ข้อ
มีทุกข์เป็นต้น มีชรามรณะเป็นที่สุด ต่อไปด้วย 202 อัฏฐกะ ประกอบ
ด้วยบท อย่างละ 7 บท มีสมุทัยเป็นต้น.
ในอธิการนั้น ปัจจัยอันเป็นประธาน คือ สมุทัย, การดับ
สมุทัยนั้น คือ สมุทยนิโรธ. ความกำหนัดคือความพอใจ คือ
ฉันทราคะ, ความกำหนัดคือความพอใจทุกข์ ด้วยสำคัญในทุกข์ว่า
เป็นสุข, ความดับฉันทราคะนั้น คือ ฉันทราคนิโรธ. สุขโสมนัส
เกิดขึ้นเพราะอาศัยทุกข์ คือความยินดีในทุกข์. ความไม่เที่ยงแห่งทุกข์
ความแปรปรวนเป็นธรรมดาแห่งทุกข์ คือโทษแห่งทุกข์. การนำออก
ซึ่งฉันทราคะ การละฉันทราคะในทุกข์ คืออุบายเครื่องสลัดออกแห่ง
ทุกข์. นิพพานนั่นแล คืออุบายเครื่องสลัดออกแห่งทุกข์ เพราะบาลี
ว่า ยํ โข ปน กิญฺจิ ภูตํ สงฺขตํ ปฏิจฺจสมุปฺปนฺนํ นิโรโธ ตสฺส
นิสฺสรณํ -
นิโรธเป็นเครื่องสลัดออกแห่งสังขตธรรมที่เกิดขึ้นแล้วอย่าง
ใดอย่างหนึ่งซึ่งอาศัยกันและกันเกิดขึ้น. พึงทราบว่า ท่านกล่าวถึง
นิพพาน ในฐานะ 4 อย่าง ด้วยคำอันมีปริยายต่าง ๆ โดยตรงกันข้าม
กับสังขตธรรมต่าง ๆ ว่า การดับทุกข์. การดับสมุทัย. การดับฉันทราคะ,
อุบายเครื่องสลัดออกแห่งทุกข์ 1. ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า เพราะ

อาหารเป็นต้นเหตุ ทุกข์จึงเกิด เพราะดับอาหารทุกข์จึงดับ การดับ
สมุทัยด้วยอำนาจความเป็นไปกับด้วยกิจ - กิจรส. อีกอย่างหนึ่ง การ
ดับสมุทัย ด้วยการเห็นความเกิดและความดับ มรรคพร้อมด้วยวิปัสสนา
เป็นการดับฉันทราคะ. เมื่อท่านกล่าวไว้อย่างนี้พึงถือเอานัยที่กล่าวไว้
ตอนแรกว่า ยังไม่เป็นสรรพสาธารณะเพราะอินทรีย์อันเป็นโลกุตระ
ยังไม่เข้าถึงวิปัสสนา. นัยที่ท่านกล่าวว่า การดับฉันทราคะเพราะไม่มี
ฉันทราคะในอินทรีย์อันเป็นโลกุตระนั่นแลจึงถูกต้อง. เป็นอันกระทำ
ฉันทราคะแม้ในผมเป็นต้น อันเป็นส่วนหนึ่งของสรีระ ด้วยความ
กำหนัดคือความพอใจในสรีระนั่นแล. เป็นอันกระทำฉันทราคะแม้ใน
ชราและมรณะ ด้วยความกำหนัดคือความพอใจ ในการมีชราและมรณะ
โดยแท้ พึงประกอบแม้ความพอใจและโทษไว้อย่างนี้ด้วย. พระสารี-
บุตรได้ชี้แจงถึงการวิสัชนา 1,414 นัย มี 202 บท มีทุกข์เป็นต้น
มีชรามรณะเป็นที่สุดต่อไป ด้วย 202 สัตตกะประกอบด้วยบทอย่าง
ละ 6 มีสมุทัยเป็นต้น.
15] บัดนี้ เพื่อแสดงประกอบบท 201 บท มีรูปเป็นต้น
ชรามรณะเป็นที่สุด ด้วยอนุปัสนา 7 พระสารีบุตรจึงชี้แจงอนุ-
ปัสนา 7 มีอนิจจานุปัสนาเป็นต้นก่อน. ทั้งหมดเหล่านั้นเป็นการ
วิสัชนา 1,414 นัย พร้อมด้วยการวิสัชนาอนุปัสนาล้วน 7
ประการ. การพิจารนาเห็นว่าไม่เที่ยง คือ อนิจจานุปัสนา.

อนิจจานุปัสนานั้น เป็นปฏิปักษ์ต่อ นิจสัญญา ความสำคัญว่าเที่ยง.
การพิจารณาเห็นว่า เป็นทุกข์ คือ ทุกขานุปัสนา. ทุกขานุปัสนา
นั้นเป็นปฏิปักษ์ต่อ สุขสัญญา - ความสำคัญว่าเป็นสุข. การพิจารณา
เห็นว่า เป็นอนัตตา คือ อนัตตานุปัสนา. อนัตตานุปัสนานั้น
เป็นปฏิปักษ์ต่อ อัตสัญญา - ความสำคัญว่าเป็นอัตตา. พระโยคาวจร
ย่อมเบื่อหน่าย เพราะอนุปัสนา 3 บริบูรณ์ ฉะนั้น จึงชื่อว่า
นิพพิทา, นิพพิทานั้นด้วย อนุปัสนาด้วย ชื่อว่า นิพพิทานุปัสนา.
นิพพิทานุปัสนานั้น เป็นปฏิปักษ์ต่อความเพลิดเพลิน. พระโยคาวจร
ย่อมคลายกำหนัด เพราะอนุปัสนา 4 บริบูรณ์ จึงชื่อว่า วิราโค,
วิราคะนั้นด้วย อนุปัสนาด้วย ชื่อว่า วิราคานุปัสนา. วิราคานุ-
ปัสนานั้นเป็นปฏิปักษ์ต่อราคะ. พระโยคาวจรย่อมดับราคะเสียได้
เพราะอนุปัสนา 5 บริบูรณ์ จึงชื่อว่า นิโรโธ. นิโรธนั้นด้วย
อนุปัสนาด้วย ชื่อว่า นิโรธานุปัสนา. นิโรธานุปัสนานั้นเป็น
ปฏิปักษ์ต่อสมุทัย. พระโยคาวจรย่อมสละคืนเสียได้ เพราะอนุปัสนา
6 บริบูรณ์ จึงชื่อว่า ปฏินิสฺสคฺโค. ปฏินิสสัคคะนั้นด้วย อนุปัสนา
ด้วย ชื่อว่า ปฏินิสสัคคานุปัสนา. ปฏินิสสัคคานุปัสนานั้นเป็น
ปฏิปักษ์ต่อการยึดมั่น. เมื่ออินทรีย์อันเป็นโลกุตระเข้าถึงวิปัสนายัง
ไม่มี พึงทราบว่า ท่านประกอบอนุปัสนา 7 ไว้ด้วยธรรมะแม้เหล่านั้น
โดยพิจารณาเห็นว่า ชื่อว่า มีนิโรธ เพราะไม่มีความเพลิดเพลินและ
ความกำหนัดในสิ่งที่สำคัญว่า เที่ยง เป็นสุข เป็นตัวตน เพราะสิ่ง

เหล่านั้นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ดังบาลีว่า สพฺเพ
สงฺขารา อนิจฺจา, สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา, สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา

สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์. ธรรมทั้งหลาย
ทั้งปวงเป็นอนัตตา และเพราะมีการสละด้วยการบริจาค การสละด้วยการ
แล่นไป. เมื่อผู้มีชรามรณะที่ตนเห็นแล้ว โดยเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น
เป็นอันชื่อว่า เห็นแม้ชรามรณะ โดยเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น, เมื่อ
เบื่อหน่าย คลายกำหนัดในชรามรณะที่มีอยู่ เป็นอันเบื่อหน่ายและ
คลายกำหนัดในชรามรณะ, เมื่อมีชรามรณะที่เห็นแล้วโดยนิโรธ เป็น
อันชื่อว่า เห็นแม้ชรามรณะโดยนิโรธ เมื่อสละในชรามรณะที่มีอยู่
ย่อมเป็นอันสละชรามรณะโดยแท้ พึงทราบว่า ท่านประกอบอนุปัส-
นา 7 ด้วยชรามรณะ ด้วยประการฉะนี้.
16-29] บัดนี้ พระสารีบุตรได้ชี้แจงถึงการวิสัชนา 15 ข้อ
อันเป็นไวพจน์ของธรรมเหล่านั้น มี อุปฺปโท - ความเกิดขึ้นเป็นต้น
และด้วยอารมณ์ 5 มี อุปฺปาโท เป็นต้น อันเป็นวัตถุแห่ง อาทีนว-
ญาณ
- ความรู้ว่าเป็นโทษ, ชี้แจงการวิสัชนา 15 ข้อ มี อนุปิปาโท
เป็นต้น ด้วยอารมณ์อันเป็นปฏิปักษ์แห่งธรรมนั้น แห่ง สนฺติปท-
ญาณ
- ความรู้ทางแห่งสันติ, ชี้แจงการวิสัชนา 30 ประกอบบท มี
อุปปาทะและอนุปปาทะเป็นต้นเหล่านั้นต่อไปด้วยเป็นคู่กัน ด้วย
ประการฉะนี้ จึงเป็นการวิสัชนา 60 ในนัยนี้นั่นแล.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อุปฺปาโท - การเกิดขึ้น ได้แก่ การ
เกิดในภพนี้ เพราะกรรมก่อนเป็นปัจจัย.
บทว่า ปวตฺตํ - ความเป็นไป ได้แก่ ความเป็นไปแห่งการ
เกิดอย่างนั้น.
บทว่า นิมิตฺตํ - เครื่องหมาย ได้แก่ เครื่องหมายสังขารทั้งหมด.
เพราะสังขารของพระโยคาวจรย่อมปรากฏดุจมีซวดทรง ฉะนั้น ท่าน
จึงกล่าวว่า นิมิตฺตํ.
บทว่า อายูหนา - ความประมวลมา ได้แก่ กรรมอันเป็นเหตุ
แห่งปฏิสนธิต่อไป เพราะว่า กรรมนั้นท่านเรียกว่า อายูหนา เพราะ
อรรถว่าปรุงแต่งปฏิสนธิ.
บทว่า ปฎิสนฺธิ ได้แก่ เกิดต่อไป. การเกิดนั้นท่านเรียกว่า
ปฏิสนธิ เพราะสืบต่อกันในระหว่างภพ
บทว่า คติ - การไป ได้แก่ ปฏิสนธิ ที่ท่านเรียกว่า คติ เพราะ
สัตว์ต้องไป.
บทว่า นิพฺพตฺติ- ความบังเกิด ได้แก่ ความเกิดแห่งขันธ์
ทั้งหลาย.
บทว่า อุปฺปตฺติ - อุบัติ ได้แก่ ความเป็นไปแห่งวิบากที่ท่าน
กล่าวไว้อย่างนี้ว่า สมาปนฺนสฺส วา อุปปนฺนสฺส วา-ธรรมคือจิต
และเจตสิกของผู้เข้าถึงแล้วหรือผู้อุบัติแล้ว.

บทว่า ชาติ - การเกิด ได้แก่ ความปรากฏครั้งแรกแห่งขันธ์
ของสัตว์ทั้งหลายผู้เกิดในภพนั้น ๆ.
บทว่า ชรา - ความเสื่อมโทรม อธิบายว่า ชรานั้นมี 2 อย่าง
คือสังขตลักษณะอันได้แก่ลักษณะที่ตั้งอยู่และเป็นอย่างอื่น 1 ภพเก่า
แห่งขันธ์อันเนื่องในภพหนึ่งในสันตติ เป็นที่รู้กันว่ามีฟันหักเป็นต้น 1.
ในที่นี้ท่านประสงค์เอาชรานั้น.
บทว่า พฺยาธิ - ความเจ็บป่วย ได้แก่ อาพาธ 8 อย่าง อัน
ตั้งขึ้นเพราะธาตุกำเริบเป็นปัจจัย คือ น้ำดี 1 เสมหะ 1 ลม 1
ไข้สันนิบาต 1 การเปลี่ยนฤดู 1 การบริหารร่างกายไม่สม่ำเสมอ 1
เพียรเกินไป 1 วิบากของกรรม 1. ชื่อว่า พฺยาธิ เพราะทุกข์
หลายอย่าง แผดเผา กลุ้มรุม หรือ เพราะทุกข์เบียดเบียนให้เดือดร้อน
หวั่นไหว.
บทว่า มรณํ คือพยาธิเป็นเหตุให้ตาย มรณะนั้น มี 2 อย่าง
คือ สังขตลักษณะอันมีความเสื่อมเป็นลักษณะ 1 การตัดขาดการ
เกี่ยวเนื่องกันแห่งชีวิตินทรีย์อันนับเนื่องในภพหนึ่ง 1. ในที่นี้ท่าน
ประสงค์เอามรณะนั้น.
บทว่า โสโก คือ ความเหี่ยวแห้งใจ ได้แก่ ความเดือดร้อนใจ
ของผู้ที่ถูกความเสื่อมจากญาติ สมบัติ โรค ศีล และทิฏฐิ กระทบ.

บทว่า ปริเทโว คือ ร้องไห้คร่ำครวญ ได้แก่ การพร่ำเพ้อ
ของผู้ที่ถูกความเสื่อมจากญาติเป็นต้น กระทบ.
บทว่า อุปายาโส - แค้นใจมาก. ได้แก่ โทสะอันเกิดจากทุกข์
ใจหนัก ของผู้ที่ถูกความเสื่อมจากญาติเป็นต้น กระทบ.
ในนิทเทสนี้ท่านกล่าวอภิญไญยธรรม 5 มี อุปฺปาโท เป็นต้น
ด้วยสามารถเป็นวัตถุแห่งอาทีนวญาณ, ที่เหลือท่านกล่าวด้วยสามารถ
เป็นไวพจน์ของอภิญไญยธรรมเหล่านั้น, บทว่า นิพฺพตฺติ เป็นไวพจน์
ของ อุปฺปาโท. บทว่า ชาติ เป็นไวพจน์ของ ปฏิสนธิ, สองบทว่า
คติ อุปปตฺติ เป็นไวพจน์ของ ปวตฺตํ, ชรา เป็นต้นเป็นไวพจน์
ของ นิมิตฺตํ. ท่านกล่าวนิพพานเท่านั้นด้วยคำ มี อนุปฺปสโท - ความ
ไม่เกิดขึ้นเป็นต้น.
พระสารีบุตรชี้แจงบท 61 มี อุปปาทะ และ อนุปปาทะ
เป็นต้น การวิสัชนา 60 ประกอบด้วยบทว่าด้วยทุกข์และสุข, การ
วิสัชนา 60 ประกอบด้วยบทว่าด้วยภัยและความปลอดภัย, การวิสัชนา
60 ประกอบด้วยบทว่าด้วยสามิส ( มีเครื่องล่อ ) และนิรามิส ( ไม่มี
เครื่องล่อ ), การวิสัชนา 60 ประกอบด้วยบทแห่งสังขารและนิพพาน.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ทุกขํ - เป็นทุกข์ อธิบายว่า ชื่อว่า
ทุกข์ เพราะเป็นของไม่เที่ยง. ชื่อว่า สุขเพราะตรงกันข้ามกับทุกข์.
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นภัย. ชื่อว่า เขมะ - ความปลอดภัย เพราะ
ตรงกันข้ามกับภัย. สิ่งใดเป็นภัยสิ่งนั้นชื่อว่าเป็น สามิส ( มีเครื่องล่อ)

เพราะไม่พ้นไปจากวัฏฏามิสและโลกุามิส ชื่อว่า นิรามิส (ไม่มีเครื่อง
ล่อ) เพราะตรงกันข้ามกับ สามิส. สิ่งใดเป็นสามิส สิ่งนั้นเป็น
เพียงสังขารเท่านั้น. ชื่อว่า นิพพาน เพราะสงบจากสิ่งตรงกันข้าม
กับสังขาร. เพราะสังขารเป็นของร้อน นิพพานเป็นของสงบ. พึง
ทราบว่าท่านกล่าวไว้อย่างนั้นหมายถึงความเป็นไปโดยอาการนั้น ๆ อย่าง
นี้ว่า โดยอาการที่เป็นทุกข์ โดยอาการที่เป็นภัย โดยอาการที่เป็นสามิส
โดยอาการที่เป็นสังขาร ด้วยประการฉะนี้.
จบ อรรถกถาปฐมภาณวาร

ทุติยภาณวาร


[30] สภาพแห่งธรรมที่ควรกำหนดถือเอา สภาพแห่งธรรม
ที่เป็นบริวาร ภาพแห่งธรรมที่เต็มรอบ สภาพแห่งสมาธิที่มีอารมณ์
อย่างเดียว ภาพแห่งสมาธิไม่มีความฟุ้งซ่าน ภาพแห่งธรรมที่ประ-
คองไว้ ภาพแห่งธรรมที่ไม่กระจายไป สภาพแห่งจิตไม่ขุ่นมัว สภาพ
แห่งจิตไม่หวั่นไหว ภาพแห่งจิตตั้งอยู่ด้วยสามารถแห่งความปรากฏ
แห่งจิตมีอารมณ์อย่างเดียว สภาพแห่งธรรมเป็นอารมณ์ สภาพแห่ง
ธรรมเป็นโคจร สภาพแห่งธรรมที่ละ สภาพแห่งธรรมที่สละ สภาพ
แห่งธรรมที่ออก สภาพแห่งธรรมที่หลีกไป สภาพแห่งธรรมที่ละเอียด