เมนู

ภพที่ระคนด้วยนามขันธ์ 4 คือล้วนไปด้วยนามขันธ์ 4 แห่งภพ
นั้นมีอยู่ ฉะนั้น ภพนั้นจึงชื่อว่า จตุโวการภพ, จตุโวการภพนั้น
เป็นอรูปภพ.
ภพที่ระคนด้วยขันธ์ 5 คือล้วนไปด้วยขันธ์ 5 แห่งภพนั้นมีอยู่
ฉะนั้น ภพนั้นจึงชื่อว่า ปัญจโวการภพ, ปัญจโวการภพนั้น เป็น
กามภพด้วยเป็นเอกเทสแห่งรูปภพด้วย.
______________________

ฌาน


9] วิสัชนา 12 มีวิสัชนาในปฐมฌานเป็นต้น พระธรรม
เสนาบดีสารีบุตรแสดงด้วยอำนาจฌานสมาบัติ.
คำว่า ฌาน ในที่นี้ ประสงค์เอาเพียงแต่พรหมวิหารธรรม
เท่านั้น.
ปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตกวิจารปีติสุขและเอกกัคตา.
ทุติยฌาน ประกอบด้วยปีติสุขและเอกัคตา.
ตติยฌาน ประกอบด้วยสุขและเอกัคตา.
จตุตถฌาน ประกอบด้วยอุเบกขาและเอกัคตา.
10] ธรรมชาติใด ย่อมสนิทสนม รักใคร่ ฉะนั้น ธรรม-
ชาตินั้น ชื่อว่า เมตตา อธิบายว่า ย่อมเสน่หา. อีกอย่างหนึ่ง ความ

เจริญในมิตร หรือความเป็นไปอันนั้นแห่งมิตรมีอยู่ ฉะนั้น จึงชื่อว่า
เมตตา ชื่อว่า วิมุตติ เพราะพ้นจากปัจนิกธรรมทั้งหลาย และ
เพราะน้อมไปในอารมณ์, ความพ้นแห่งใจ ชื่อว่า เจโตวิมุตติ,
เมตตา คือ เจโตวิมุตติ ชื่อว่า เมตตาเจโตวิมุตติ.
กรุณา ก็มีอรรถตามที่กล่าวแล้วนั่นแล.
บุคคลประกอบด้วยธรรมชาตินั้นแล้ว ย่อมบันเทิง, หรือธรรม-
ชาติใด ย่อมบันเทิงเอง, หรือว่า สักว่าความบันเทิงนั้น ฉะนั้น ชื่อว่า
มุทิตา.
ธรรมชาติใด ย่อมเพ่งด้วยการประหาณความพิบัติโดยนัยเป็น-
ต้นว่า สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง เป็นผู้มีเวรหามิได้เถิด และด้วยการเข้าถึง
ความเป็นกลาง ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า อุเบกขา.
พรหมวิหาร 3 มีเมตตาเป็นต้น ประกอบด้วยฌาน 3 มีปฐม-
ฌานเป็นต้น, ส่วนอุเบกขาพรหมวิหารประกอบด้วยจตุตถฌาน.
ที่สุดแห่งอากาศนั้นไม่มีด้วยสามารถแห่งการแผ่ไป ฉะนั้น
อากาศนั้น ชื่อว่า อนนฺโต - ไม่มีที่สุด, อากาศไม่มีที่สุด ชื่อว่า อา-
กาสานันตะ ได้แก่ กสิณุคฆาฏิมากาส - อากาศที่เพิกกสิณออก. อา-
กาสานันตะนั่นแหละ ชื่อว่า อากาสานัญจะ, อากาสานัญจะนั้น ชื่อว่า
เป็นอายตนะ เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้งแห่งฌานพร้อมด้วยสัมปยุตธรรม

นั้น เช่นเดียวกับที่อยู่ของเทพทั้งหลาย ชื่อว่า เทวายตนะ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า อากาสานัญจายตนะ, สมาบัติคืออากาสานัญจายตนะนั่นแหละ
ชื่อว่า อากาสานัญจายตนสมาบัติ.
และที่สุดแห่งวิญญาณนั้นไม่มีด้วยสามารถแห่งการแผ่ไป ฉะนั้น
ชื่อว่า อนนฺตํ - ไม่มีที่สุด, วิญญาณไม่มีที่สุดมีอากาศเป็นอารมณ์นั้น.
อนันตะนั้นแหละ ชื่อว่า อานัญจะ, วิญญาณไม่มีที่สุด ท่านไม่กล่าว
ว่า วิญฺญาณานญฺจ แต่กล่าวว่า วิญฺญาณญฺจ. ก็ศัพท์นี้ในที่นี้เป็น
รุฬหีศัพท์ คือเป็นศัพท์ที่นิยมใช้กัน. วิญญาณัญจะนั้นเป็นอายตนะ
เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้งแห่งฌานพร้อมด้วยสัมปยุตธรรมนั้น เช่นเดียว
กับที่อยู่ของเทพทั้งหลาย เรียกว่าเทวายตนะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
วิญญาณัญจายตนะ.
ฌานชื่อว่า อากิญจนะ เพราะไม่มีอะไรแม้สักน้อยหนึ่ง มีคำ
อธิบายว่า แม้โดยที่สุด เพียงภังคขณะก็ไม่มีเหลืออยู่. ภาวะแห่งอา-
กิญจนะ ชื่อว่า อากิญจัญญะ. คำนี้ เป็นชื่อของฌานที่ไม่มีอากาสา-
นัญจายตนะเป็นอารมณ์. อากิญจัญญะนั้น เป็นอายตนะ เพราะเป็น
ที่ตั้งแห่งฌานพร้อมด้วยสัมปยุตธรรมนั้น. เช่นเดียวกับที่อยู่ของเทพ
ทั้งหลาย เรียกว่า เทวายตนะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อกิญจัญญา-
ยตนะ.

สัญญาแห่งฌานพร้อมด้วยสัมปยุตธรรมนั้นไม่มี ไม่มีสัญญา
ก็หามิได้ เพราะไม่มีสัญญาหยาบ มีแต่สัญญาละเอียด ฉะนั้น ชื่อว่า
เนวสัญญานาสัญญา, เนวสัญญานาสัญญานั้นด้วย เป็นอายตนะด้วย
เพราะนับเนื่องด้วยมนายตนะและธรรมมายตนะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า เนว-
สัญญานาสัญญายตนะ.
อีกนัยหนึ่ง สัญญาในฌานนี้ ชื่อว่า เป็นสัญญาไม่ได้ เพราะ
ไม่สามารถทำกิจสัญญาให้ชัดเจนได้, และชื่อว่า ไม่มีสัญญาเลยก็ไม่ได้
เพราะยังมีอยู่โดยสังขารธรรมที่ยังเหลืออยู่เป็นสุขุมภาพ ฉะนั้น จึง
ชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญา, เนวสัญญานาสัญญานั้นด้วย เป็นอายตนะ
ด้วย เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้งแห่งธรรมที่เหลือ1 ฉะนั้น จึงชื่อว่า เนว-
สัญญานาสัญญายตนะ. คำนี้เป็นชื่อของสมาบัติอันมีอากิญจัญญายตนะ
เป็นอารมณ์.
อนึ่ง ในฌานนี้ มิใช่สัญญาจะเป็นอย่างนี้อย่างเดียว แม้เวทนา
ชื่อว่า เนวเวทนา นาเวทนา - มีเวทนาก็ไม่ใช่ ไม่มีเวทนาก็ไม่ใช่.
แม้จิต ก็ชื่อว่า เนวจิตตะนาจิตตะ - มีจิตก็ไม่ใช่ไม่มีจิตก็ไม่ใช่. ถึง
ผัสสะ ก็ชื่อว่า เนวผัสสะนาผัสสะ - มีผัสสะก็ไม่ใช่ไม่มีผัสสะก็ไม่ใช่
1. เสสธมฺมานํ = แห่งธรรมที่เหลือ : ได้แก่ เจตสิก 29 และจิต 1 มีสัญญา
เป็นประธาน.

ในสัมปุยุตธรรมที่เหลือ ก็นัยนี้. แต่เทศนานี้ท่านทำด้วยหัวข้อว่า
สัญญา.
________________________

ปัจจยาการ 12


วิสัชนา 12 มีวิสัชนาใน อวิชชา เป็นต้น พระธรรมเวนาบดี.
สารีบุตรแสดงด้วยองค์แห่งปฏิจจสมุปบาท.
กายทุจริตเป็นต้นชื่อว่า อวินทิยะ ความว่า ไม่ควรได้ เพราะ
อรรถว่าไปควรบำเพ็ญ. ธรรมชาติใด ย่อมได้ซึ่งอวินทิยะนั้น ฉะนั้น
ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า อวิชชา.
กายสุจริตเป็นต้น ชื่อว่า วินทิยะ - ควรได้ เพราะตรงกันข้าม
กับอวินทิยะนั้น. ธรรมชาติใด ย่อมไม่ได้ซึ่งวินทิยะนั้น ฉะนั้น
ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า อวิชชา.
ธรรมชาติใด ทำอรรถคือกองแห่งขันธ์ทั้งหลายมิให้ปรากฏ. ทำ
อรรถคือความต่อแห่งอายตนะทั้งหลายมิให้ปรากฏ. ทำอรรถคือความ
ว่างแห่งธาตุทั้งหลายมิให้ปรากฏ ทำอรรถคือความเป็นใหญ่แห่งอินทรีย์
ทั้งหลายมิให้ปรากฏ. ทำอรรถคือความจริงแห่งสัจจะทั้งหลายมิให้ปรา-
กฏ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า อวิชชา, ทำอรรถ 4 อย่างที่กล่าว