เมนู

9. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิจฉาญาณของผู้มี
สัมมาญาณ ย่อมเสื่อมลง, อกุศลธรรมอันลามก
เป็นอเนกเหล่าใด มีมิจฉาญาณเป็นปัจจัย ย่อม
เกิดขึ้น อกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านั้นของผู้มีสัมมา-
ญาณนั้น ก็ย่อมเสื่อมลงด้วย, และกุศลธรรมเป็น
อเนกมีสัมมาญาณเป็นปัจจัย ก็ย่อมถึงซึ่งความ
เจริญเต็มที่.
10. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิจฉาวิมุตติของผู้
มีสัมมาวิมุตติ ย่อมเสื่อมลง, อกุศลธรรมอันลามก
เป็นอเนกเหล่าใด มีมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัย ย่อม
เกิดขึ้น อกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านั้น ของผู้มี
สัมมาวิมุตตินั้น ก็ย่อมเสื่อมลงด้วย, และกุศล-
ธรรมเป็นอเนกมีสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย ก็ย่อมถึง
ซึ่งความเจริญเต็มที่*.


อรรถกถาจักขาทินิทเทส
ว่าด้วย จักษุเป็นต้น


3] คำมีอาทิว่า สพฺพํ ภิกฺขเว อภิญฺเญยฺยํ - ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรรู้ยิ่งดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พึง
1. องฺ.ทสก. 24/106.

ทราบว่า พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรนำมาแสดงแล้วในที่นี้. อักษร
ในคำว่า กิญฺจํ เป็นนิบาตสักว่าทำบทให้เต็ม. วิสัชนา 30 มี จกฺขุ
เป็นต้น พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร แสดงแยกเป็นอย่างละ 5 ๆ ใน
ทวารหนึ่ง ๆ ในทั้ง 6 ตามลำดับแห่งความเป็นไปแห่งทวารและอารมณ์
ในคำนั้น จักษุ มี 2 อย่าง คือ มังสจักษุ 1 ปัญญาจักษุ 1.
ในจักษุทั้ง 2 นั้น ปัญญาจักษุมี 5 อย่าง คือ พุทธจักษุ 1, สมันต-
จักษุ 1, ญาณจักษุ 1, ทิพยจักษุ 1, ธรรมจักษุ 1.
คำนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเมื่อตรวจดูสัตวโลก ได้เห็น
แล้วแลด้วยพุทธจักษุ1 ดังนี้ ชื่อว่า พุทธจักษุ.
คำนี้ว่า สัพพัญญุตญาณ เรียกว่า สมันตจักษุ2 ดังนี้ ชื่อว่า
สมันตจักษุ.
คำนี้ว่า ดวงตาเห็นธรรม เกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว3 ดังนี้
ชื่อว่า ญาณจักษุ.
คำนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ เราได้เห็นแล้วแล ด้วยทิพยจักษุอัน
บริสุทธิ์4 ดังนี้ ชื่อว่า ทิพยจักษุ.
มรรคญาณเบื้องต่ำ 3 นี้มาในคำว่า ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี
ไม่มีมลทิน เกิดขึ้นแล้ว5 ดังนี้ ชื่อว่า ธรรมจักษุ.
1. ม. มู. 12/323. 2. ขุ. จูฬ 30/216, 245.
3. สํ. มหา. 19/1666. 4. ม. มู. 12/324. 5. ม.มู. 13/599.

ฝ่ายมังสจักษุ มี 2 อย่าง คือ สสัมภารจักษุ 1, ปสาทจักษุ 1.
ก้อนเนื้ออันใดตั้งอยู่ที่เบ้าตา พร้อมด้วยหนังหุ้มลูกตาภายนอก
ทั้ง 2 ข้างเบื้องต่ำกำหนดด้วยกระดูกเบ้าตา เบื้องบนกำหนดด้วยกระดูก
คิ้ว ผูกด้วยเส้นเอ็นอันออกจากท่ามกลางเบ้าตาโยงติดไปถึงสมองศีรษะ
สสัมภารจักษุ.
ส่วนความใสอันใดเกี่ยวในสสัมภารจักษุนี้ เนื่องในสสัมภาร-
จักษุนี้ อาศัยมหาภูตรูป 4 มีอยู่, ความใสนี้ ชื่อว่า ปสาทจักษุ. ใน
ที่นี้ ท่านประสงค์เอา ปสาทจักษุ นี้.
ปสาทจักษุนี้นั้น โดยประมาณก็สักเท่าศีรษะเล็นอาศัยธาตุทั้ง 4
อาบเยื่อตาทั้ง 7 ชั้น ดุจน้ำมันที่ราดลงที่ปุยนุ่น 7 ชั้น อาบปุยนุ่น
ทุกชั้นอยู่ฉะนั้น ให้สำเร็จความเป็นวัตถุและทวารตามสมควรแก่จิตใน
วิถีมีจักขุวิญญาณจิตเป็นต้น ตั้งอยู่ ณ ตำแหน่ง เป็นที่เกิดขึ้นแห่ง
สรีรสัณฐาน ที่อยู่ตรงหน้าในท่ามกลางแววตาดำที่แวดล้อมด้วยมณฑล
ตาขาว แห่งสสัมภารจักษุนั้น.
ธรรมชาติใดย่อมเห็น ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า จักษุ,
อธิบายว่า จักษุนั้น ย่อมยินดีรูป และทำให้รูปปรากฏแจ่มแจ้งได้.
ธรรมชาติใด ย่อมแตกสลายไป ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า
รูป, อธิบายว่า รูปนั้น เมื่อถึงความแปรไปแห่ง วรรณะ ย่อม

ประกาศความถึงหทัย.
วิญญาณเป็นไปทางจักษุ หรือ การรู้รูปารมณ์ของจักษุ ชื่อว่า
จักขุวิญญาณ.
ชื่อว่า ผัสสะ เพราะอรรถว่า ถูกต้อง. ท่านกล่าวว่า สัม-
ผัสสะ เพราะประดับบทด้วยอุปสรรค. สัมผัสที่เป็นไปทางจักษุ ชื่อว่า
จักขุสัมผัส.
คำว่า จกฺขุสมฺผสฺสปจฺจยา ได้แก่ ผัสสเจตสิกที่ประกอบกับ
จักขุวิญญาณเป็นปัจจัย.
คำว่า เวทยิตํ ได้แก่ รับรู้อารมณ์. อธิบายว่า การเสวย
อารมณ์.
ธรรมชาติที่รับรู้อารมณ์นั้นนั่นแหละ ย่อมเป็นสุข ฉะนั้น จึง
ชื่อว่า สุขะ, อธิบายว่า สุขะนั้นเกิดแก่ผู้ใด ก็ย่อมทำผู้นั้นให้ถึงซึ่ง
ความสุข. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมชาติใดย่อมเคี้ยวกินและขุดเสียได้ด้วยดี
ซึ่งอาพาธทางกายและจิต ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า สุขะ.
ธรรมชาติใดย่อมเสวยอารมณ์เป็นทุกข์ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น
จึงชื่อว่า ทุกขะ, อธิบายว่า ทุกข์นั้นเกิดแก่ผู้ใด ก็ย่อมทำผู้นั้นให้
ถึงซึ่งความทุกข์.
ทุกข์ก็ไม่ใช่, สุขก็ไม่ใช่ ฉะนั้น จึงชื่อว่า อทุกขมสุข. ม
อักษรท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งปทสนธิ - ต่อบท.

ก็จักขุสัมผัสนั้น เป็นปัจจัยแก่เวทนาอันสัมปยุตกับด้วยตน
ด้วยอำนาจสหชาตปัจจัย, อัญญมัญญะ-, นิสสยะ-, วิปากะ-,
อาหาระ-, สัมปยุตตะ-, อัตถิ-, อวิคตปัจจัย รวม 8 ปัจจัย,
เป็นปัจจัยแก่เวทนาอันสัมปยุตกับด้วยสัมปฏิจฉนจิต ด้วยอำนาจ
อนันตรปัจจัย, สมนันตระ อนันตรูปนิสสยะ, นัตถิ, วิคตะ
รวม 5 ปัจจัย, เป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลาย อันสัมปยุตกับด้วยสันติ-
รณจิตเป็นต้น ด้วยอำนาจอุปนิสสยปัจจัยเพียงปัจจัยเดียว.
ธรรมชาติใดย่อมได้ยิน ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า โสตะ.
โสตะนั้นยังความเป็นวัตถุและทวารตามสมควรแก่จิตในวิถี มีโสต-
วิญญาณจิตเป็นต้นให้สำเร็จ ตั้งอยู่ ณ ตำแหน่ง ที่มีสัณฐานดังวงแหวน
มีขนอ่อนสีน้ำตาลพอกพูนภายในช่องแห่งสัมภารโสตะ.
ธรรมชาติใด ย่อมเปล่งออก ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า
สัททะ - เสียง, อธิบายว่า ย่อมเปล่งเสียง.
ธรรมชาติใด ย่อมสูดดม ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า
ฆานะ - จมูก. ฆานะนั้นยงความเป็นวัตถุและทวารตามสมควรแก่จิต
ในวิถี มีฆานวิญญาณเป็นต้นให้สำเร็จ ตั้งอยู่ ณ ตำแหน่ง ที่มีสัณฐาน
ดังกีบแพะในภายในแห่งช่องสสัมภารฆานะ.
ธรรมชาติใด ย่อมฟุ้งไป ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า
คันธะ - กลิ่น, อธิบายว่า ย่อมประกาศซึ่งที่อยู่ของตน.

ธรรมชาติใดย่อมนำมาซึ่งชีวิต ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า
ชิวหา - ลิ้น, หรือ ชื่อว่า ชิวหา เพราะอรรถว่า ลิ้มรส. ชิวหานั้น
ยังความเป็นวัตถุและทวารตามสมควรแก่จิตในวิถี มีชิวหาวิญญาณจิต
เป็นต้นให้สำเร็จ ตั้งอยู่ ณ ตำแหน่ง มีสัณฐานดังปลายกลีบดอกอุบล
แตก ในท่ามกลางแผ่นลิ้นเบื้องบนเว้นปลายสุด, โคนและข้าง ๆ แห่ง
สสัมภารชิวหา.
สัตว์ทั้งหลายย่อมยินดีซึ่งธรรมชาตินั้น ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น
ชื่อว่า รสะ - รส, อธิบายว่า ย่อมชอบใจ.
ธรรมชาติใด เป็นบ่อเกิดแห่งสาสวธรรมทั้งหลาย อันบัณฑิต
เกลียด ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า กายะ - กาย. คำว่า อาโย
แปลว่า ประเทศเป็นที่เกิดขึ้น. ความเป็นไปแห่งอุปาทินนรูปในกายนี้
อยู่ตราบใด ตราบนั้นกายประสาทนั้นยังความเป็นวัตถุและทวารตาม
สมควรแก่จิตในวิถี มีกายวิญญาณจิตเป็นต้นให้สำเร็จตั้งอยู่ที่กายนั้น
โดยมาก.
ธรรมชาติใด ย่อมถูกต้อง ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า
โผฏฐัพพะ - กระทบ.
ธรรมชาติใด ย่อมรู้ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า มโน-
ใจ, อธิบายว่า ย่อมรู้อารมณ์ต่าง ๆ.

ธรรมชาติใด ย่อมทรงไว้ซึ่งลักษณะของตน ฉะนั้น ธรรม-
ชาตินั้น ชื่อว่า ธัมมะ - ธรรมารมณ์.
คำว่า มโน - ใจ ได้แก่ ภวังคจิตที่เป็นไปกับด้วยการรับอารมณ์.
คำว่า ธมฺมา ได้แก่ ธรรมคือธรรมารมณ์มี 12 ประเภท1.
คำว่า มโนวิญญาณํ - มโนวิญญาณจิต ได้แก่ มโนวิญญาณ
ที่ทำชวนกิจ. คำว่า มโนสมฺผสฺโส - มโนสัมผัสสะ ได้แก่ ผัสสเจตสิก
ที่ประกอบกับมโนวิญญาณนั้น. มโนสัมผัสสะนั้น เป็นปัจจัยแก่เวทนา
1. จิตและเจตสิกรับอารมณ์โดยแน่นอน
มีอารมณ์ 12 ประเภท คือ :-
1. กามอารมณ์ = กามจิต 54 เจตสิก 52 รูป 28
2. มหัคคตอารมณ์ = มหัคคตจิต 27 เจตสิก 35
3. นิพพานอารมณ์ = นิพพาน
4. นามอารมณ์ = จิต เจตสิก นิพพาน
5. รูปอารมณ์ = รูป 28
6. ปัจจุบันอารมณ์ = จิต เจตสิก รูป
7. อดีตอารมณ์ = จิต เจตสิก รูป
8. กาลวิมุตติอารมณ์ = นิพพาน บัญญัติ
9. บัญญัติอารมณ์ = อัตถบัญญัติ สัททบัญญัติ
10. ปรมัตถอารมณ์ = จิต เจตสิก รูป นิพพาน
11. อัชฌัตตอารมณ์ = จิต เจตสิก รูป
12. พหิทธอารมณ์ = จิต เจตสิก รูป นิพพาน บัญญัติ.

ที่ประกอบ ด้วยอำนาจปัจจัย 7 ปัจจัย1ที่เหลือเว้นวิปากปัจจัย, เป็น
ปัจจัยแก่เวทนาที่ประกอบกับชวนะเป็นลำดับไป คือชวนะดวงที่ 2 ด้วย
อำนาจปัจจัย 5 ปัจจัย2เหล่านั้นเหมือนกัน, เป็นปัจจัยแก่ชวนะที่เหลือ
คือชวนะดวงที่ 3-7 ด้วยอำนาจอุปนิสัยปัจจัยเท่านั้น.

ขันธ์ 5


4] วิสัชนา 5 มีวิสัชนาในรูปเป็นต้น พระธรรมเสนาบดี-
สารีบุตรแสดงด้วยสามารถแห่งขันธ์.
ธรรมชาติใด ย่อมเสื่อมสลาย ย่อมถูกเบียดเบียนด้วยวิโรธิปัจจัย
มีความเย็นเป็นต้น ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า รูป.
ธรรมชาติใด ย่อมเสวยอารมณ์ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า
เวทนา.
ธรรมชาติใด ย่อมจำอารมณ์ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า
สัญญา.
ธรรมชาติใด ย่อมปรุงแต่ง ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า
สังขาร.
1. สหชาตะ, อัญญมัญญะ, นิสสยะ, อาหาระ, สัมปยุตตะ, อัตถิ, อวิคตะ.
2. อนันตระ, สมนันตระ, อนันตรูปนิสสยะ, นัตถิ, วิคตะ.