เมนู

สำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันขาว มี
วรรณะขาว ขาวล้วน มีรังสีขาว ฉันนั้นเหมือนกัน
ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า
เรารู้ เราเห็น, นี้ เป็น อภิภายตนะที่ 81.


อรรถกถานวกนิทเทส
ว่าด้วย อนุปุพพวิหารธรรม 9


คำว่า นว อนุปุพฺพวิหารา - อนุปุพพวิหาร 9 มีความว่า ภาย
หลังแห่งธรรมมีในก่อน ๆ ชื่อว่า อนุปุพพะ - ตามลำดับ, วิหาระ -
ธรรมเป็นเครื่องอยู่ตามลำดับ ชื่อว่า อนุปุพพวิหาระ เพราะเป็นธรรม
อันพระโยคีบุคคลพึงอยู่ คือพึงเข้าอยู่ตามลำดับ, อธิบายว่า ธรรมเป็น
เครื่องอยู่อันพระโยคีบุคคลพึงเข้าอยู่ตามลำดับ. อนุปุพพวิหารธรรม 9
เป็นไฉน ?
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
1. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัย
นี้เข้าปฐมฌาน สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย มี
วิตกวิจาร มีปีติสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่

1. ที. ปา. 11/349.

2. ภิกษุ เพราะระงับวิตกวิจารเสียได้ ก็
เข้าทุติยฌาน อันเป็นความผ่องใสแห่งใจในภายใน
มีอารมณ์เป็นเอโกทิภาพ - ความที่จิตมีอารมณ์เดียว
ไม่มีวิตกวิจาร มีปีติสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่.
3. ภิกษุ เข้าตติยฌานอันปราศจากปีติอยู่
ด้วยอุเบกขา, สติ, สัมปชัญญะเสวยสุขทางกาย
ซึ่งพระอริยะทั้งหลายเรียกว่า เป็นผู้มีอุเบกขา, มี
สติ, มีธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขดังนี้.
4. ภิกษุ เพราะละสุขและทุกข์ดับโสมนัส
โทมนัสในก่อนเสียได้ จึงเข้าจตุตถฌานอันไม่มี
ทุกข์และสุข บริสุทธิด้วยอุเบกขาและสติอยู่.
5. ภิกษุ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆ-
สัญญา ไม่ใส่ใจนานัตตสัญญาได้โดยประการทั้ง
ปวง จึงเข้าอากาสานัญจายตนะด้วยบริกรรมว่า
อนนฺโต อากาโส - อากาสไม่มีที่สุดอยู่.
6. ภิกษุ ก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะเสียได้
โดยประการทั้งปวง จึงเข้าวิญญาณัญจายตนะด้วย
บริกรรมว่า อนนฺตํ วิญฺญาณํ - วิญญาณไม่มีที่สุด
อยู่.

7. ภิกษุ ก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะเสียได้
โดยประการทั้งปวง จึงเข้าอากิญจัญญายตนะด้วย
บริกรรมว่า นตฺถิ กิญฺจิ -นิดหนึ่งหน่อยหนึ่งไม่มี
อยู่.
8. ภิกษุ ก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะเสียได้
โดยประการทั้งปวง จึงเข้าเนวสัญญานาสัญญา
ยตนะอยู่
9. ภิกษุ ก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะ
เสียได้โดยประการทั้งปวง จึงเข้าสัญญาเวทยิตนิ-
โรธอยู่1 ดังนี้.


อรรถกถาทสกนิทเทส
ว่าด้วย นิชชรวัตถุ 10


คำว่า ทส นิชฺชรวตฺถูนิ - นิชชรวัตถุ 10 ความว่า มิจฉา-
ทิฏฐิเป็นต้น ย่อมเสื่อมลง ย่อมสลายไป ฉะนั้นจึงชื่อว่า นิชชระ.
คำว่า วตฺถูนิ - วัตถุทั้งหลาย ได้แก่เหตุ. วัตถุ คือเหตุนั้นด้วย
เสื่อมลงด้วย ฉะนั้นจึงชื่อว่า นิชชรวัตถุ. นิชชรวัตถุนี้ เป็นชื่อของ
กุศลธรรมมีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น. นิชชรวัตถุ 1 เป็นไฉน ? นิชชรวัตถุ
10 พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วว่า
1. นวก. 23/236.