เมนู

ทั้งหลาย การระลึกถึงนี้ประเสริฐกว่าการระลึกถึง
ทั้งหลาย ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์
ทั้งหลาย ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีสัทธาตั้งมั่น
มีความรักตั้งมั่น มีสัทธาไม่หวั่นไหว มีความ
เลื่อมใสยิ่ง ย่อมระลึกถึงพระตถาคตหรือสาวกของ
พระตถาคต. นี้ เราเรียกว่า อนุสตานุตริยะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้คือ อนุตริยะ 6
ฉะนี้แล1.


อรรถกถาสัตตกนิทเทส
ว่าด้วย นิททสะ


ในคำว่า สตฺต นิทฺทสวตฺถูนิ นี้ มีความว่า ทสะ แปลว่า
10 ไม่มีแก่ผู้นั้น ฉะนั้น ผู้นั้นจึงชื่อว่า นิททสะ, วัตถุคือเหตุแห่ง
นิททสะคือความเป็นแห่งนิททสะ ชื่อว่า นิททสวัตถุ.
จริงอยู่ พระขีณาสพ ปรินิพพานในกาลที่มีพรรษา 10 ก็ไม่
ชื่อว่า มีพรรษา 10 อีก เพราะไม่มีปฏิสนธิอีกต่อไป ฉะนั้น ท่านจึง
1. องฺ. ฉกฺก. 22/301.

เรียกว่า นิททสะ ไม่มีพรรษา 10. และไม่มีพรรษา 10. อย่างเดียวเท่า
นั้นก็หาไม่ แม้พรรษา 9 ก็ไม่มี ฯลฯ แม้กาลสักว่าครู่เดียวก็ยังไม่มี.
พระขีณาสพปรินิพพานในกาลที่มีพรรษา 10 เท่านั้นก็หาไม่ แม้ปริ-
นิพพานในกาลที่มีพรรษา 7 ก็ไม่ชื่อว่ามีพรรษา 7 ไม่มีพรรษา 10 ไม่
มีกาลแม้สักครู่เดียว. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อยกเอาโวหารอันเกิดใน
ลัทธิเดียรถีย์มาไว้ในพระศาสนา แล้วทรงแสดงความไม่มีแห่งพระขีณา-
สพผู้เช่นนั้นในลัทธิเดียรถีย์นั้น, และความมีอยู่แห่งพระขีณาสพผู้เช่น
นั้นในศาสนานี้ จึงตรัสเหตุแห่งความมีอยู่แห่งพระขีณาสพผู้เช่นนั้นว่า
สตฺต นิทฺทสวตฺถูนิ - วัตถุแห่งนิททสะ 7. ดุจดังพระผู้มีพระภาค-
เจ้าตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิททสวัตถุ 7 ประการ
นี้. 7 ประการเป็นไฉน ? คือ
1. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัย
นี้ เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการสมาทาน
สิกขาและเป็นผู้มีความรักอันไม่ปราศจากไปในการ
สมาทานสิกขา.
2. เป็นผู้ได้ความยินดีอย่างแรงกล้าในการ
ใคร่ครวญธรรมและเป็นผู้มีความรักอันไม่ปราศจาก

ไปในการใคร่ครวญธรรมต่อไป.
3. เป็นผู้ยินดีอย่างแรงกล้าในการกำจัด
ความอยาก และเป็นผู้มีความรักอันไม่ปราศจาก
ไปในการกำจัดความอยากต่อไป.
4. เป็นผู้มีความยินดีอย่างแรงกล้าในการ
หลีกเร้น และเป็นผู้มีความรักอันไม่ปราศจากไป
ในการหลีกเร้นต่อไป.
5. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการเริ่ม
ความเพียร และเป็นผู้มีความรักอันไม่ปราศจาก
ไปในการเริ่มความเพียรต่อไป.
6. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในความ
เป็นผู้มีสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตัว และเป็นผู้มี
ความรักอันไม่ปราศจากไปในความเป็นผู้มีสติปัญ-
ญาเป็นเครื่องรักษาตัวต่อไป.
7. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการ
แทงตลอดด้วยทิฏฐิ และเป็นผู้มีความรักอันไม่
ปราศจากไปในการแทงตลอดด้วยทิฏฐิ ต่อไป.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิททสวัตถุ 7 ประการนี้แล*.
แม้พระเถระครั้นยกเทศนาอย่างนั้นขึ้นกล่าวว่า สตฺต นิทฺทสวตฺถูนิ
- นิททสวัตถุ 7
ดังนี้.

อรรถกถาอัฏฐกนิทเทส
ว่าด้วย อภิภายตนะ 8


ในคำว่า อฏฺฐ อภิภายตนานิ - อภิภายตนะ 8 นี้ มีความ
ว่า อายตนะทั้งหลายครอบงำฌานเหล่านั้น ฉะนั้น ฌานเหล่านั้นจึง
ชื่อว่า อภิภายตนะ. คำว่า อายตนานิ ความว่า ฌานมีกสิณเป็น
อารมณ์กล่าวคืออายตนะเพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้งอันยิ่ง.
อธิบายว่า ก็บุคคลผู้มีญาณอันยิ่ง ผู้มีญาณแกล้วกล้าคิดว่า อัน
เราพึงเข้าในอารมณ์นี้ เพราะเหตุไร ? ภาระในการทำจิตให้เป็นเอกัคค-
ตา ไม่มีแก่เราดังนี้ แล้วครอบงำอารมณ์เหล่านั้นเสียเข้าสมาบัติ, ยัง
อัปปนาให้เกิดขึ้นในอารมณ์นี้ พร้อมกับการเกิดขึ้นแห่งนิมิต. ฌานที่
ให้เกิดขึ้นโดยประการอย่างนี้ ท่านเรียกว่า อภิภายตนะ. อภิภายตนะ
8 เป็นไฉน ?

1. องฺ. สตฺตก. 23/18.