เมนู

เล่าเรียนมาด้วยใจ ก็แต่ว่าสมาธินิมิตอย่างใดอย่าง
หนึ่ง เธอเล่าเรียนมาด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี
ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา ภิกษุ
ย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมนั้น ตามที่ได้เล่าเรียน
สมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาด้วยดี ทำไว้ในใจ
ด้วยดี ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา
เมื่อภิกษุเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดความ
ปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ
เมื่อมีใจสหรคตด้วยปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกาย
สงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อม
ตั้งมั่น. นี้เป็นวิมุตตายตนะข้อที่ 5
ดังนี้แล1.

อรรถกถาฉักกนิทเทส
ว่าด้วย อนุตริยะ


ในคำนี้ว่า ฉ อนุตฺตริยานิ - อนุตริยะ 6 มีความว่า คุณ
อันยิ่งกว่าธรรมชาติเหล่านั้น ไม่มี ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า
อนุตระ อนุตระนั่นแหละ ชื่อว่า อนุตริยะ, อธิบายว่า เป็นธรรมชาติ
อันประเสริฐ. สมจริงดังพระดำรัสอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
1. องฺ.ปญฺจก. 22/26.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนุตริยะ 6 ประการนี้.
6 ประการเป็นไฉน ?
คือ -
1. ทัสนานุตรียะ - การเห็นอันประเสริฐ,
2. สวนานุตริยะ - การฟังอันประเสริฐ,
3. ลาภานุตริยะ - การได้อันประเสริฐ,
4. สิกขานุตริยะ - การศึกษาอันประเสริฐ,
5. ปาริจริยานุตริยะ - การบำรุงอันประเสริฐ,
6. อนุสตานุตริยะ - อนุสติอันประเสริฐ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ ทัสนานุตริยะ เป็น
ไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลก
นี้ ย่อมไปเพื่อจะดูช้างแก้วบ้าง, ม้าแก้วบ้าง,
แก้วมณีบ้าง, ของใหญ่ของเล็ก, หรือสมณพรหมณ์
ผู้เห็นผิด, ผู้ปฏิบัติผิด, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ทัสนะมีอยู่ เรามิได้กล่าวว่า ไม่มี ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ก็แต่ว่า ทัสนะนี้นั้นแล เป็นทัสนะอัน
เลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน มิใช่
ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่

เป็นไปเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อ
ความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้
เพื่อพระนิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคล
ใดมีสัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีสัทธาไม่
หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมไปเพื่อใจเห็น
ตถาคต หรือสาวกของตถาคต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าว
ล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่ง
ทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้
แจ้งซึ่งพระนิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่
บุคคลผู้มีสัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีสัทธา
ไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ไปเห็นพระ-
ตถาคต หรือสาวกของพระตถาคตนี้ เราเรียกว่า
ทัสนานุตริยะ. ทัสนานุตริยะ เป็นดังนี้.
ก็ สวนานุตริยะ เป็นอย่างไร ? ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไปเพื่อ
ฟังเสียงกลองบ้าง เสียงพิณบ้าง เสียงเพลงบ้าง

หรือเสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ ย่อมไปเพื่อฟังธรรมของ
สมณพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย การฟังนี้มีอยู่ เรามิได้กล่าวว่า ไม่มี ก็
แต่ว่าการฟังนี้ เป็นการฟังอันเลว ฯลฯ ไม่เป็น
ไปเพื่อพระนิพพาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วน
บุคคลใดแลมีสัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มี
สัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมไป
เพื่อฟังธรรมของตถาคต หรือของสาวกของตถาคต.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การฟังนี้ประเสริฐกว่าการฟัง
ทั้งหลาย ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์
ทั้งหลาย ฯลฯ เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีสัทธาตั้งมั่น
มีความรักตั้งมั่น มีสัทธาไม่หวั่นไหว มีความ
เลื่อมใสยิ่ง ย่อมไปฟังธรรมของตถาคตหรือของ
สาวกของพระตถาคตนี้ เราเรียกว่า สานานุตริยะ.
ทัสนานุตริยะ สวนานุตริยะ เป็นดังนี้.
ก็ ลาภานุตริยะ เป็นอย่างไร ? ดูก่อน
ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมได้บุตรบ้าง

ภรรยาบ้าง ทรัพย์บ้าง หรือลาภมากบ้าง น้อยบ้าง
หรือได้สัทธาในสมณพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติ
ผิด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภคือการได้นี้มีอยู่
เรามิได้กล่าวว่า ไม่มี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็
แต่ว่า ลาภคือการได้นี้เป็นลาภเลว ฯลฯ ไม่เป็น
ไปเพื่อพระนิพพาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วน
บุคคลใดแล เป็นผู้มีสัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น
มีสัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมได้
สัทธาในพระตถาคต หรือสาวกของพระตถาคต.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภคือการได้นี้เป็นลาภอัน
ประเสริฐกว่าลาภทั้งหลาย ย่อมเป็นไปเพื่อความ
บริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ เพื่อกระทำให้
แจ้งซึ่งพระนิพพาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่
บุคคลผู้มีสัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีสัทธา
ไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมได้สัทธาใน
พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตนี้ เราเรียกว่า
ลาภานุตริยะ. ทัสนานุตริยะ สวนานุตริยะ
ลาภานุตริยะ เป็นดังนี้.

ก็ สิกขานุตตริยะ เป็นอย่างไร ? ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมศึกษา
ศิลปะเกี่ยวกับช้างบ้าง ม้าบ้าง รถบ้าง ธนูบ้าง
ดาบบ้าง หรือศึกษาศิลปะชั้นสูงชั้นต่ำ ย่อมศึกษา
ต่อสมณพราหมณ์ผู้มีความเห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การศึกษานี้มีอยู่, เรามิได้
กล่าวว่า การศึกษานี้ไม่มี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็แต่ว่าการศึกษานั้น เป็นการศึกษาที่เลว ฯลฯ
ย่อมไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ส่วนบุคคลใดมีสัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มี
สัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมศึกษา
อธิศีลบ้าง อธิจิตบ้าง อธิปัญญาบ้าง ในธรรม
วินัยอันตถาคตประกาศแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
การศึกษานี้ประเสริฐกว่าการศึกษาทั้งหลาย ย่อม
เป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข้อที่บุคคลผู้มีสัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มี
สัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมศึกษา
อธิศีลบ้าง อธิจิตบ้าง อธิปัญญาบ้าง ในธรรมวินัย

อันตถาคตประกาศแล้วนี้ เราเรียกว่า สิกขานุต-
ริยะ. ทัสนานุตริยะ สวนานุตริยะ ลาภานุต-
ริยะ สิกขานุตริยะ เป็นดังนี้.
ก็ ปาริจริยานุตริยะ เป็นอย่างไร ? ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมบำรุง
กษัตริย์บ้าง, พราหมณ์บ้าง, คฤหบดีบ้าง, ก็หรือ
ว่า ย่อมบำรุงบุคคลชั้นสูงและต่ำ, หรือย่อมบำรุง
สมณพราหมณ์ผู้มีความเห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การบำรุงนี้มีอยู่ เรามิได้
กล่าวว่า การบำรุงไม่มี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่
การบำรุงนี้แล เป็นการบำรุงอันเลว ฯลฯ ไม่เป็น
ไปเพื่อพระนิพพาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แต่ว่า
บุคคลใดแล ผู้มีสัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น
มีสัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมบำรุง
พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต. ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย การบำรุงนี้ประเสริฐกว่าการบำรุงทั้งหลาย
ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิแห่งสัตว์ทั้งหลาย
ฯลฯ เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน, ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีสัทธาตั้งมั่น มีความ

รักตั้งมั่น มีสัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง
ย่อมบำรุงพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต. นี้
เราเรียกว่า ปาริจริยานุตริยะ. ทัสนานุตริยะ
สวนานุตริยะ ลาภานุตริยะ สิกขานุตริยะ
ปาริจริยานุตริยะ เป็นดังนี้.
ก็ อนุสตานุตริยะ เป็นอย่างไร ?, ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมระลึก
ถึงการได้บุตรบ้าง การได้ภรรยาบ้าง การได้ทรัพย์
บ้าง ก็หรือว่า ย่อมระลึกถึงการได้มากบ้าง น้อย
บ้าง, หรือระลึกถึงสมณพรหมณ์ผู้มีความเห็นผิด
ผู้ปฏิบัติผิด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การระลึกถึงนี้
มีอยู่ เรามิได้กล่าวว่า การระลึกถึงนี้ไม่มี. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย แต่ว่า การระลึกถึงนี้นั้นแล เป็น
การระลึกถึงอันเลว ฯลฯ ย่อมไม่เป็นไปเพื่อ
พระนิพพาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แต่ว่าบุคคล
ใดแล ผู้มีสัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีสัทธา
ไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมระลึกถึง
พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต. ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย การระลึกถึงนี้ประเสริฐกว่าการระลึกถึง
ทั้งหลาย ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์
ทั้งหลาย ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีสัทธาตั้งมั่น
มีความรักตั้งมั่น มีสัทธาไม่หวั่นไหว มีความ
เลื่อมใสยิ่ง ย่อมระลึกถึงพระตถาคตหรือสาวกของ
พระตถาคต. นี้ เราเรียกว่า อนุสตานุตริยะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้คือ อนุตริยะ 6
ฉะนี้แล1.


อรรถกถาสัตตกนิทเทส
ว่าด้วย นิททสะ


ในคำว่า สตฺต นิทฺทสวตฺถูนิ นี้ มีความว่า ทสะ แปลว่า
10 ไม่มีแก่ผู้นั้น ฉะนั้น ผู้นั้นจึงชื่อว่า นิททสะ, วัตถุคือเหตุแห่ง
นิททสะคือความเป็นแห่งนิททสะ ชื่อว่า นิททสวัตถุ.
จริงอยู่ พระขีณาสพ ปรินิพพานในกาลที่มีพรรษา 10 ก็ไม่
ชื่อว่า มีพรรษา 10 อีก เพราะไม่มีปฏิสนธิอีกต่อไป ฉะนั้น ท่านจึง
1. องฺ. ฉกฺก. 22/301.