เมนู

ในภูมิ 3 ที่เหลือ เรียกว่า มัชฌิมาธาตุ, โลกุตรธรรม 9 เรียกว่า
ปณีตาธาตุ. ก็ธรรมแม้ทั้งหมด เรียกว่า ธาตุ เพราะอรรถว่า
ไม่ใช่ชีวะ.

อรรถกถาจตุกนิทเทส
ว่าด้วย อริยสัจ 4


คำว่า จตฺตาริ อริยสจฺจานิ - อริยสัจ 4 ได้แก่ ทุกขอริย-
สัจ 1, ทุกขสมุทยอริยสัจ 1, ทุกขนิโรธอริยสัจ 1, ทุกขนิโรธคามินี
ปฏิปทาอริยสัจ 1. วรรณนาแห่งอริยสัจ 4 เหล่านี้ จักมีแจ้งใน
วิสัชนาแห่งสัจจะแล.

อรรถกถาปัญจกนิทเทส
ว่าด้วย วิมุตตายตนะ 5


คำว่า ปญฺจ วิมุตฺตายตนานิ - วิมุตตายตนะ 5 ความว่า
เหตุแห่งการพ้น 5 ประการเหล่านี้ คือ การสดับธรรมเทสนาที่ผู้อื่น
แสดงเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน 1, การแสดงธรรมตามที่ตนได้สดับ
มาแล้วเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่คนเหล่าอื่น 1, การสาธยายธรรมที่ตน
ได้สดับมาแล้ว 1, การตรึกถึงธรรมตามที่ได้สดับมาแล้วด้วยใจ 1,

อารมณ์อันสมควรแก่สมถกรรมฐาน 40 มี กสิณ 10 อสุภะ 10
เป็นต้น 1.
ดุจดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระศาสดาหรือเพื่อน
สพรหมจารี ผู้ตั้งอยู่ในฐานะควรแก่ การเคารพ
แสดงธรรมแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ภิกษุนั้นย่อม
เข้าใจอรรถเข้าใจธรรมในธรรมนั้นตามที่พระศาสดา
หรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้ตั้งอยู่ในฐานะควรแก่การ
เคารพ แสดงธรรมแก่ภิกษุ, เมื่อภิกษุนั้น เข้าใจ
อรรถ เข้าใจธรรม ก็ย่อมเกิดความปราโมทย์, เมื่อ
เกิดความปราโมทย์แล้ว ปีติก็ย่อมเกิด, เมื่อใจ
สหรคตด้วยปีติ กายย่อมสงบ, ผู้มีกายสงบก็ย่อม
เสวยสุข, เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น, นี้เป็นวิมุต-
ตายตนะข้อที่ 1.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระ-
ศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้ตั้งอยู่ในฐานะควร
แก่การเคารพรูปใดรูปหนึ่ง ย่อมไม่ได้แสดงธรรม
แก่ภิกษุเลย แต่ว่า ภิกษุย่อมแสดงธรรมตามที่ได้

สดับมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่คนเหล่าอื่นโดย
พิสดาร ภิกษุย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรม
นั้นที่ภิกษุแสดงธรรมตามที่ได้สดับมา ตามที่ได้
เล่าเรียนมาแก่คนเหล่าอื่นโดยพิสดาร เมื่อภิกษุ
เข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ ฯลฯ
เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น. นี้เป็นวิมุตตายตนะ
ข้อที่ 2.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระ-
ศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้ตั้งอยู่ในฐานะควร
แก่การเคารพรูปใดรูปหนึ่ง ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่
ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงตามที่ได้สดับมา ตามที่
ที่ได้เล่าเรียนมาแก่คนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ก็แก่
ว่าภิกษุย่อมทำการสาธยายตามที่ได้สดับมา ตามที่
ได้เล่าเรียนมาโดยพิสดาร ภิกษุย่อมเข้าใจอรรถ
เข้าใจธรรมนั้น ตามที่ภิกษุสาธยายธรรมตามที่ได้
สดับมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาโดยพิสดาร เมื่อ
ภิกษุเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์
ฯลฯ เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็นวิมุตตา-
ยตนะข้อที่ 3.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระ-
ศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้ตั้งอยู่ในฐานะควร
แก่การเคารพรูปใดรูปหนึ่ง ก็ไม่ได้แสดงธรรม
แก่ภิกษุ ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมตามที่ได้สดับมา
ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่คนเหล่าอื่นโดยพิสดาร แม้
ภิกษุก็ไม่ได้ทำการสาธยายธรรมตามที่ได้สดับมา
ตามที่ได้เล่าเรียนมาโดยพิสดาร ก็แต่ว่าภิกษุย่อม
ตรึกตรองใคร่ครวญธรรมตามที่ได้สดับมา ตามที่
ได้เล่าเรียนมาด้วยใจ ภิกษุย่อมเข้าใจอรรถ เข้า
ใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ ฯลฯ เมื่อมีสุข จิต
ย่อมตั้งมั่น นี้เป็นวิมุตตายตนะข้อที่ 4.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระ-
ศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้ตั้งอยู่ในฐานะควร
แก่การเคารพรูปใดรูปหนึ่ง ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่
ภิกษุ ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมตามที่ได้สดับมา
ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่คนเหล่าอื่นโดยพิสดาร
ภิกษุก็ไม่ได้สาธยายธรรมตามที่ได้สดับมา ตามที่
ได้เล่าเรียนมาโดยพิสดาร แม้ภิกษุก็ไม่ได้ตรึก-
ตรองใคร่ครวญธรรมตามที่ได้สดับมา ตามที่ได้

เล่าเรียนมาด้วยใจ ก็แต่ว่าสมาธินิมิตอย่างใดอย่าง
หนึ่ง เธอเล่าเรียนมาด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี
ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา ภิกษุ
ย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมนั้น ตามที่ได้เล่าเรียน
สมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาด้วยดี ทำไว้ในใจ
ด้วยดี ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา
เมื่อภิกษุเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดความ
ปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ
เมื่อมีใจสหรคตด้วยปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกาย
สงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อม
ตั้งมั่น. นี้เป็นวิมุตตายตนะข้อที่ 5
ดังนี้แล1.

อรรถกถาฉักกนิทเทส
ว่าด้วย อนุตริยะ


ในคำนี้ว่า ฉ อนุตฺตริยานิ - อนุตริยะ 6 มีความว่า คุณ
อันยิ่งกว่าธรรมชาติเหล่านั้น ไม่มี ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า
อนุตระ อนุตระนั่นแหละ ชื่อว่า อนุตริยะ, อธิบายว่า เป็นธรรมชาติ
อันประเสริฐ. สมจริงดังพระดำรัสอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
1. องฺ.ปญฺจก. 22/26.