เมนู

ก็มีแต่สังขารทั้งนั้น, แต่ท่านเรียกอย่างนี้ ด้วยสามารถแห่งโวหาร.
ญาตปริญญา เป็นอันท่านกล่าวไว้ด้วยคำนี้ ด้วยประการฉะนี้.

อรรถกถาทุกนิทเทส
ว่าด้วย ธาตุ 2


คำว่า เทฺว ธาตุโย - ธาตุ 2 ได้แก่ สังขตธาตุ 1 อสังขต-
ธาตุ 1.
บรรดาธาตุทั้ง 2 นั้น ขันธ์ 5 อันปัจจัยเป็นอเนกปรุงแต่ง
แล้ว ชื่อว่า สังขตธาตุ, พระนิพพานอันปัจจัยอะไรๆ ปรุงแต่งไม่ได้
แล้ว ชื่อว่า อสังขตธาตุ.

อรรถกถาติกนิทเทส
ว่าด้วย ธาตุ 3


คำว่า ติสฺโส ธาตุโย - ธาตุ 3 ได้แก่ กามธาตุ 1. รูปธาตุ 1,
อรูปธาตุ 1.
บรรดาธาตุทั้ง 3 นั้น กามธาตุเป็นไฉน ?
ในเบื้องต่ำมีอเวจีนรกเป็นที่สุด, ในเบื้องบนมีปรนิมมิตวสวัตดี

เทวโลกเป็นที่สุด ขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร
และวิญญาณ ที่ท่องเที่ยวไปในระหว่างนี้ ที่นับเนื่องในระหว่างนี้,
นี้เรียกว่ากามธาตุ1.
บรรดาธาตุทั้ง 3 นั้น รูปธาตุเป็นไฉน ? ในเบื้องต่ำมีพรหม-
โลกเป็นที่สุด ในเบื้องบนมีอกนิฏฐพรหมโลกเป็นที่สุด สภาวธรรม
ทั้งหลายคือจิตและเจตสิก ของบุคคลผู้เข้าสมาบัติก็ดี ของผู้เกิดแล้วก็ดี
ของผู้อยู่ด้วยสุขวิหารธรรมในปัจจุบันก็ดี ที่ท่องเที่ยวไปในระหว่างนี้
นับเนื่องในระหว่างนี้, นี้เรียกว่ารูปธาตุ2.
บรรดาธาตุทั้ง 3 นั้น อรูปธาตุเป็นไฉน ? ในเบื้องต่ำมีอากา-
สานัญจายตนะพรหมโลกเป็นที่สุด ในเบื้องบนมีเนวสัญญานาสัญญา-
ยตนะพรหมโลกเป็นที่สุด สภาวธรรมทั้งหลายคือจิตและเจตสิกของ
ผู้เข้าสมาบัติก็ดี ของผู้เกิดแล้วก็ดี ของผู้อยู่ด้วยสุขวิหารธรรมในปัจจุบัน
ก็ดี ที่ท่องเที่ยวไปในระหว่างนี้ นับเนื่องในระหว่างนี้, นี้เรียกว่า
อรูปธาตุ3.
แต่ในอรรถกถา ท่านกล่าวว่า กามภพ ชื่อว่า กามธาตุได้
ขันธ์ 5, รูปภพ ชื่อว่า รูปธาตุ ได้ขันธ์ 5, อรูปภพ ชื่อว่า อรูปธาตุ
ได้ขันธ์ 4. นี้ ประกอบโดยปริยายแห่งทสุตตรสูตร.
1. อภิ.วิ. 35/122. 2. อภิ.วิ. 35/124. 3. อภิ.สํ. 34/830.

ส่วนในปริยายแห่งสังคีติสูตรว่า ถึงแม้ธาตุทั้งหลายที่ท่านกล่าวไว้
ว่า กุสลธาตุมี 3 คือ เนกขัมธาตุ 1, อัพยาปาทธาตุ 1, อวิหิงสา-
ธาตุ 1. ธาตุ 3 อื่นอีก คือ รูปธาตุ 1 อรูปธาตุ 1 นิโรธธาตุ 1.
ธาตุ 3 อื่นอีก คือ หีนาธาตุ 1 มัชฌิมาธาตุ 1 ปณีตาธาตุ 11.
ก็ย่อมประกอบในที่นี้.
ความตรึก ความตรึกตรอง อันประกอบด้วยเนกขัมมะ ฯลฯ
สัมมาสังกัปปะ นี้เรียกว่า เนกขัมธาตุ, กุสลธรรมแม้ทั้งหมด ก็
เรียกว่า เนกขัมธาตุ.
ความตรึก ความตรึกตรอง อันประกอบด้วยอัพยาปาทะ ฯลฯ
สัมมาสังกัปปะ เรียกว่า อัพยาปาทธาตุ, ความมีไมตรี อาการที่มี
ไมตรี สภาพที่มีไมตรี ในสัตว์ทั้งหลายเมตตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า
อัพยาปาทธาตุ.
ความตรึก ความตรึกตรอง อันประกอบด้วยอวิหิงสา ฯลฯ
สัมมาสังกัปปะ เรียกว่า อวิหิงสาธาตุ, ความกรุณา อาการที่กรุณา
สภาพที่กรุณา ในสัตว์ทั้งหลาย กรุณาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า อวิหิงสา-
ธาตุ2.
รูปธาตุและอรูปธาตุได้กล่าวไว้แล้วแล. นิพพาน เรียกว่า
นิโรธธาตุ. อกุสลจิตตุปบาท 12 เรียกว่า หีนาธาตุ, ธรรมที่เป็นไป
1. ที.ปา. 11/228. 2. อภิ.วิ. 35/122.

ในภูมิ 3 ที่เหลือ เรียกว่า มัชฌิมาธาตุ, โลกุตรธรรม 9 เรียกว่า
ปณีตาธาตุ. ก็ธรรมแม้ทั้งหมด เรียกว่า ธาตุ เพราะอรรถว่า
ไม่ใช่ชีวะ.

อรรถกถาจตุกนิทเทส
ว่าด้วย อริยสัจ 4


คำว่า จตฺตาริ อริยสจฺจานิ - อริยสัจ 4 ได้แก่ ทุกขอริย-
สัจ 1, ทุกขสมุทยอริยสัจ 1, ทุกขนิโรธอริยสัจ 1, ทุกขนิโรธคามินี
ปฏิปทาอริยสัจ 1. วรรณนาแห่งอริยสัจ 4 เหล่านี้ จักมีแจ้งใน
วิสัชนาแห่งสัจจะแล.

อรรถกถาปัญจกนิทเทส
ว่าด้วย วิมุตตายตนะ 5


คำว่า ปญฺจ วิมุตฺตายตนานิ - วิมุตตายตนะ 5 ความว่า
เหตุแห่งการพ้น 5 ประการเหล่านี้ คือ การสดับธรรมเทสนาที่ผู้อื่น
แสดงเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน 1, การแสดงธรรมตามที่ตนได้สดับ
มาแล้วเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่คนเหล่าอื่น 1, การสาธยายธรรมที่ตน
ได้สดับมาแล้ว 1, การตรึกถึงธรรมตามที่ได้สดับมาแล้วด้วยใจ 1,