เมนู

2. อรรถกถาอภิญเญยยนิทเทส


ว่าด้วย อภิญเญยยธรรม


2] บัดนี้ พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรได้แสดงนิทเทสวารมี
อาทิว่า กถํ อิเม ธมฺมา อภิญฺเญยฺย - ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ควร
รู้ยิ่ง อย่างไร ?
ดังนี้ ก็เพื่อจะแสดงธรรมอันท่านรวบรวมไว้ใน
วิสัชนุทเทส เป็นประเภท ๆ ไป.
ในคำเหล่านั้น พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรได้ยกวิสัชนาข้อละ
10 ๆ ตั้งแต่ด้นด้วยสามารถแห่งเอกนิทเทสเป็นต้นไป ในคำทั้ง 5 มี
คำแสดงธรรมที่ควรรู้ยิ่งเป็นต้น ขึ้นแสดงเทียบเคียง โดยปริยายแห่ง
ทสุตตรสูตร.


อรรถกถาเอกนิทเทส
ว่าด้วย อาหาร


บรรดาคำทั้ง 5 นั้น ในเบื้องแรก คำว่า สพฺเพ สตฺตา-
สัตว์ทั้งปวง
ในอภิญเญยยนิทเทส ได้แก่ สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ใน
ภพทั้งปวง คือในกามภพเป็นต้น ในสัญญาภพเป็นต้น และในเอกโว-
การภพเป็นต้น.

คำว่า อาหารฏฺฐิติกา - มีอาหารเป็นที่ตั้ง ความว่า การดำรง
อยู่ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น เพราะอาหาร ฉะนั้น จึงชื่อว่า อาหา-
รฏฺฐิติกา - มีอาหารเป็นที่ตั้ง.

ก็ในคำว่า ฐิติ - การดำรงอยู่นี้ ท่านประสงค์เอา ความมีอยู่
ในขณะของตน.
ชื่อว่า อาหาร เพราะเป็นเหตุแห่งการดำรงอยู่แห่งสัตว์ทั้งปวง
เป็นธรรมอันหนึ่ง เป็นธรรมควรรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง. ครั้นรู้ปัจจัย
แล้ว ก็เป็นอันรู้ปัจจยุปบัน - ธรรมเกิดแต่ปัจจัย เพราะปัจจัยและ
ปัจจยุปบันทั้ง 2 นั้นเพ่งความอาศัยกันและกัน. ญาตปริญญา เป็น
อันท่านกล่าวแล้วด้วยคำนั้น.
ถามว่า ก็เมื่อเป็นอย่างนั้น คำใดที่ท่านกล่าวไว้ว่า อสัญญ-
สัตตาเทวา - อสัญญสัตตาพรหม ไม่มีเหตุ ไม่มีอาหาร ไม่มีผัสสะ1
ดังนี้เป็นต้น คำนั้นจะมิผิดไปหรือ ?
ตอบว่า คำที่ท่านกล่าวนั้นไม่ผิด เพราะฌานเป็นอาหารของ
อสัญญสัตตาเทวาเหล่านั้น.
ถามว่า ถึงแม้เป็นอย่างนั้น คำนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อาหารทั้งหลาย 4 เหล่านี้ เพื่อความตั้งอยู่แห่งสัตว์ผู้เกิดแล้ว เพื่อ
อนุเคราะห์แก่เหล่าสัมภเวสี.

1. อภิ. วิ. 35/1099.

อาหาร 4 เป็นไฉน ? คือ กพฬีการาหาร - อาหารคือคำข้าว
เป็นอาหารหยาบหรือละเอียด, ผัสสะ - อาหารคือผัสสะ เป็นที่ 2,
มโนสัญเจตนา - อาหารคือเจตนา เป็นที่ 3, วิญญาณ - อาหารคือ
วิญญาณ เป็นที่1 4 ดังนี้ ก็ย่อมผิด.
ตอบว่า ถึงแม้คำนั้นก็ไม่ผิด. เพราะในพระสูตร ตรัสไว้โดย
นิปริยายว่า ธรรมทั้งหลายมีอาหารเป็นลักษณะแล ชื่อว่า อาหาร
แต่ในที่นี้ตรัสโดยปริยายว่า ปัจจัยชื่อว่า อาหาร. เพราะสังขตธรรม
ทั้งปวง ได้ปัจจัย ย่อมควร ก็ปัจจัยนั้นย่อมยังผลใด ๆ ให้เกิดขึ้น
ชื่อว่าย่อมนำมาซึ่งผลนั้น ๆ. เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า อาหาร.
ด้วยเหตุนั้นนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อวิชชา เราก็
กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่า ไม่มีอาหาร ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นอาหารของอวิชชา,
ควรกล่าวว่านิวรณ์ 5 เป็นอาหารของอวิชชา. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย แม้นิวรณ์ 5 เราก็กล่าวว่ามีอาหาร
มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็
อะไรเล่าเป็นอาหารของนิวรณ์ 5. ฯลฯ ควรกล่าวว่า
อโยนิโสมนสิการเป็นอาหารของนิวรณ์ดังนี้เป็น2ต้น.
อาหารดังกล่าวแล้วนี้ ประสงค์แล้วในที่นี้.
1. สํ. นิ. 16/28. 2. องฺ ทสก. 24/61.

ครั้นถือเอาอาหารคือปัจจัยแม้นี้ อาหารทั้งโดยปริยาย และ
อาหารทั้งโดยนิปริยาย ก็เป็นอันถือเอาทั้งหมด.
ในคำนั้น ปัจจยาหาร ย่อมได้ในอสัญญีภพ. จริงอยู่เมื่อ
พระพุทธเจ้ายังมิได้เสด็จอุบัติขึ้น พวกที่บวชเป็นเดียรถีย์ทำบริกรรม
ในวาโยกสิณ ยังจตุตถฌานให้เกิดขึ้นออกจากฌานนั้นแล้ว ก็เห็นว่า
จิตนี้ เป็นของน่าติเตียนมาก ความไม่มีจิตเสียเลย เป็นการดี. เพราะ
ทุกข์มีการฆ่าและจองจำเป็นต้น ย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยจิต, เมื่อไม่มี
จิตทุกข์นั้นก็ย่อมไม่มี เพราะฉะนั้นจึงเกิดความยินดีพอใจ ฌานไม่เสื่อม
ทำกาละแล้วเกิดในอสัญญีภพ. ผู้ใดตั้งอยู่ในอิริยาบถใดในมนุษย์ ผู้นั้น
ก็ย่อมเกิดด้วยอิริยาบถนั้นสถิตอยู่ตลอด 500 กัป. เป็นเหมือนนอน นั่ง
หรือยืนตลอดกาลยาวนานมีประมาณเพียงนั้น. ก็ปัจจยาหารย่อมได้แก่
สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น. เพราะสัตว์เหล่านั้นเจริญฌานใดแล้วเกิด ฌาน
นั้นก็เป็นปัจจัยแก่สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น เหมือนลูกศรที่ยิงไปด้วยกำลัง
แห่งสายธนู กำลังสายธนูมีกำลังเพียงใด ก็ไปได้เพียงนั้น ฉันใด
กำลังฌานปัจจัยมีประมาณเพียงใด ก็สถิตอยู่ได้เพียงนั้น ฉันนั้น.
เมื่อกำลังฌานปัจจัยสิ้นแล้ว สัตว์เหล่านั้นก็จุติ ดุจลูกศรที่มีกำลังสิ้น
แล้วฉะนั้น.
ส่วนสัตว์เหล่าใดเป็นผู้เกิดในนรก สัตว์เหล่านั้นท่านกล่าวว่า
ไม่เป็นผู้มีชีวิตอยู่ด้วยความเพียร ไม่เป็นผู้มีชีวิตอยู่ด้วยผลแห่งบุญเลย,

อะไรเป็นอาหารของสัตว์เหล่านั้นเล่า ? กรรมนั่นแลเป็นอาหารของ
สัตว์เหล่านั้นดังนี้.
ถามว่า อาหารมี 5 อย่างหรือ ? ตอบว่า คำนี้ไม่พึงกล่าวว่า
มี 5 หรือมิใช่ 5 ดังนี้. วาทะว่า ปัจจัยเป็นอาหาร ท่านกล่าวไว้
แล้วมิใช่หรือ เพราะเหตุนั้น สัตว์เหล่านั้นเกิดในนรกด้วยกรรมใด,
กรรมนั้นนั่นแหละเป็นอาหารของสัตว์เหล่านั้น เพราะเป็นปัจจัยแห่ง
การดำรงอยู่. คำนี้ท่านกล่าวหมายเอาคำใด คำนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้แล้วว่า ก็สัตว์นรกยังไม่ทำกาละตราบเท่าที่บาปกรรมยังไม่
สิ้น1.

เพราะฉะนั้น คำว่า อาหารฏฺฐิติกา - มีอาหารเป็นที่ตั้ง จึง
มีความว่า มีปัจจัยเป็นที่ตั้ง. ก็ในคำนี้ว่า เพราะปรารภกพฬีการาหาร
ไม่พึงทำการกล่าวให้แตกต่างกันไป เพราะว่า ถึงแม้น้ำลายที่เกิดใน
ปากก็สำเร็จกิจเป็นอาหารแก่สัตว์เหล่านั้นใด. จริงอยู่ น้ำลายก็เป็น
ปัจจัยแก่พวกเกิดในนรกซึ่งเสวยทุกขเวทนา และแก่พวกเกิดในสวรรค์
ซึ่งเสวยสุขเวทนา.
ในกามภพมีอาหาร 4 โดยตรง, ในรูปภพและอรูปภพ เว้น
อสัญญีภพเสีย นอกนั้นมีอาหาร 3. อสัญญีภพและภพนอกนี้เป็น มี
ปัจจยาหาร ด้วยประการฉะนี้ เพราะเหตุนั้น สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง
เป็นผู้มีอาหารเป็นที่ตั้ง ด้วยอาหารดังกล่าวมาแล้วนี้.
1. องฺ.ติก. 20/427.

คำว่า สพฺเพ สตฺตา - สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง เป็น บุคลา-
ธิฏฐานธรรมเทสนา
, อธิบายว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวง จริงอยู่
เทสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้ามี 4 อย่าง ด้วยสามารถแห่งธรรมะ และ
บุคคล คือ
ธรรมาธิฏฐานธรรมเทสนา 1
ธรรมธิฏฐานบุคคลเทสนา 1
บุคลาธิฏฐานบุคคลเทสนา 1
บุคลาธิฏฐานธรรมเทสนา 1.

ธรรมาธิฏฐานธรรมเทสนา เช่นเทสนาว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้สักอย่างหนึ่ง ที่อบรมแล้ว
ย่อมควรแก่การงาน เหมือนจิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรม
แล้ว ย่อมควรแก่การงาน1.

ธรรมธิฏฐานบุคลเทสนา เช่นแสดงว่า ดูก่อนภิกษุ-
ทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ จะพึงยึดถือสังขารไร ๆ
โดยความเป็นของเที่ยงนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้2.

1. องฺ.เอกก. 20/23. 2. องฺ.เอกก. 20/153.

บุคลาธิฏฐานบุคลเทสนา เช่นแสดงว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บุคคลคนเดียวเมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์
เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อควานสุขแต่ชนเป็นอันมาก เพื่อ
อนุเคราะห์แก่ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข
แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย1.

บุคลาธิฏฐานธรรมเทสนา เช่นแสดงว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ความปรากฏขึ้นแห่งจักษุใหญ่ย่อมมี เพราะความปรากฏขึ้นแห่ง
บุคคลคนเดียว2.

ในเทสนา 4 เหล่านั้น ในที่นี้ ท่านประสงค์เอา บุคลา-
ธิฏฐานธรรมเทสนา
. ควรทราบว่า ท่านแสดงศัพท์คือ ธรรมะ ด้วย
สัตตะศัพท์ เพราะมุ่งธรรมเท่านั้น ตั้งแต่ต้นจนถึงหมวด 10, อีก
อย่างหนึ่งพึงทราบว่า ท่านแสดงศัพท์คือ สัตตะ โดยวิเศษ เพราะพึงเข้า
ไปใคร่ครวญ ธรรม อันนับเนื่องในสันดานของสัตว์ได้ตามสภาวะด้วย
ญาณอันยิ่ง หรือควรทราบว่า สังขารทั้งหลาย ท่านกล่าวว่า สัตว์ โดย
ผโลปจารนัย เพราะเป็นเพียงบัญญัติว่าสัตว์ดังนี้ ก็เพราะอาศัยสังขาร
ทั้งหลาย. สัตว์ไร ๆ ชื่อว่า ตั้งอยู่ด้วยปัจจัยนั้นไม่มีเลย ในที่ไหน ๆ
1. องฺ. เอกก. 20/192. 2. องฺ.เอกก. 20/144.

ก็มีแต่สังขารทั้งนั้น, แต่ท่านเรียกอย่างนี้ ด้วยสามารถแห่งโวหาร.
ญาตปริญญา เป็นอันท่านกล่าวไว้ด้วยคำนี้ ด้วยประการฉะนี้.

อรรถกถาทุกนิทเทส
ว่าด้วย ธาตุ 2


คำว่า เทฺว ธาตุโย - ธาตุ 2 ได้แก่ สังขตธาตุ 1 อสังขต-
ธาตุ 1.
บรรดาธาตุทั้ง 2 นั้น ขันธ์ 5 อันปัจจัยเป็นอเนกปรุงแต่ง
แล้ว ชื่อว่า สังขตธาตุ, พระนิพพานอันปัจจัยอะไรๆ ปรุงแต่งไม่ได้
แล้ว ชื่อว่า อสังขตธาตุ.

อรรถกถาติกนิทเทส
ว่าด้วย ธาตุ 3


คำว่า ติสฺโส ธาตุโย - ธาตุ 3 ได้แก่ กามธาตุ 1. รูปธาตุ 1,
อรูปธาตุ 1.
บรรดาธาตุทั้ง 3 นั้น กามธาตุเป็นไฉน ?
ในเบื้องต่ำมีอเวจีนรกเป็นที่สุด, ในเบื้องบนมีปรนิมมิตวสวัตดี