เมนู

อภิญเญยยนิทเทส


[2] ปัญญาอันเป็นเครื่องทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว คือ เป็น
เครื่องรู้ชัดซึ่งธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง เป็น
สุตมยญาณอย่างไร ?
ธรรมอย่างหนึ่งควรรู้ยิ่ง คือ สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร
ธรรม 2 ควรรู้ยิ่ง คือ ธาตุ 2
ธรรม 3 ควรรู้ยิ่ง คือ ธาตุ 3
ธรรม 4 ควรรู้ยิ่ง คือ อริยสัจ 4
ธรรม 5 ควรรู้ยิ่ง คือ วิมุตตายนะ 5
ธรรม 6 ควรรู้ยิ่ง คือ อนุตตริยะ 6
ธรรม 7 ควรรู้ยิ่ง คือ นิททสวัตถุ - เหตุที่พระขีณาสพนิพ-
พานแล้วไม่ปฏิสนธิอีกต่อไป 7

ธรรม 8 ควรรู้ยิ่ง คือ อภิภายตนะ-อารมณ์แห่งญาณอันฌายี
บุคคลครอบงำไว้ 8
ธรรม 9 ควรรู้ยิ่ง คือ อนุปุพพวิหาร 9
ธรรม 10 ควรรู้ยิ่ง คือ นิชชรวัตถุ - เหตุกำจัดมิจฉาทิฏฐิ
เป็นต้น 10.
[3] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติทั้งปวงควรรู้ยิ่ง ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมชาติทั้งปวงควรรู้ยิ่ง คืออะไร ? คือ ตา รูป
จักขุวิญญาณ จักขุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุข-
เวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย (แต่ละอย่าง ๆ) ควรรู้ยิ่ง
หู เสียง ฯลฯ จมูก กลิ่น ฯลฯ ลิ้น รส ฯลฯ กาย โผฏฐัพพะ
ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา
หรือแม้อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ควร
รู้ยิ่งทุกอย่าง.
[4] รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักขุ โทตะ
ฆานะ ชิวหา กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมา-

รมณ์ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ
กายวิญญาณ มโนวิญญาณ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส
ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสต
สัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กาย-
สัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา รูปสัญญา สัททสัญญา
คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสูญญา ธรรมสัญญา รูปสัญเจตนา
สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา
ธรรมสัญเจตนา รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา
โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก
โผฏฐัพพวิตก ธรรมวิตก รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร
โผฏฐัพพวิจาร ธรรมวิจาร ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.
[5] ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ
วิญญาณธาตุ ปฐวีกสิณ อาโปกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ นีลกสิณ
ปีตกสิณ โลหิตกสิณ โอทาตกสิณ อากาสกสิณ วิญญาณกสิณ
ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.
[6] ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อ
ในกระดูก. ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย

อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น
น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร สมองศีรษะ ควรรู้
ยิ่งทุกอย่าง.
[7] จักขวายตนะ รูปายตนะ โสตายตนะ สัททายตนะ
ฆานายตนะ คันธายตนะ ชิวหายตนะ รสายตนะ กายายตนะ
โผฏฐัพพายตนะ มนายตนะ ธรรมยตนะ จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุ-
วิญญาณธาตุ โสตธาตุ สัททธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานธาตุ คันธธาตุ
ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาธาตุ รสธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายธาตุ
โผฏฐัพพธาตุ กายวิญญาณธาตุ มโนธาตุ ธรรมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ
จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ มนินทรีย์
ชีวิตินทรีย์ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โสมนัส-
สินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ อุเบกขินทรีย์ สัทธินทรีย์ วีริยินทรีย์
สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์
(อินทรีย์ของผู้ปฏิบัติด้วยมนสิการว่า เราจักรู้ธรรมที่ยังไม่รู้ อินทรีย์
น็เป็นชื่อของโสดาปัตติมรรคญาณ) อัญญินทรีย์ ( อินทรีย์ของผู้รู้
จตุสัจธรรมด้วยมรรคนั้น อินทรีย์นี้เป็นชื่อของญาณในฐานะ 6 คือ
โสดาปัตติผลถึงอรหัตมรรคญาณ) อัญญาตาวินทรีย์ (อินทรีย์ของพระ-

ขีณาสพผู้รู้จบแล้ว อินทรีย์นี้เป็นชื่อของอรหัตผลญาณ) ควรรู้ยิ่ง
ทุกอย่าง.
[8] กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ อรูปภพ
สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ
จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน
ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.
[9] เมตตาเจโตวิมุตติ กรุณาเจโตวิมุตติ มุทิตาเจโตวิมุตติ
อุเบกขาเจโตวิมุตติ อากาสานัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ
อากิญจัญญายตนสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ อวิชชา
สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา
อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.

2. อรรถกถาอภิญเญยยนิทเทส


ว่าด้วย อภิญเญยยธรรม


2] บัดนี้ พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรได้แสดงนิทเทสวารมี
อาทิว่า กถํ อิเม ธมฺมา อภิญฺเญยฺย - ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ควร
รู้ยิ่ง อย่างไร ?
ดังนี้ ก็เพื่อจะแสดงธรรมอันท่านรวบรวมไว้ใน
วิสัชนุทเทส เป็นประเภท ๆ ไป.
ในคำเหล่านั้น พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรได้ยกวิสัชนาข้อละ
10 ๆ ตั้งแต่ด้นด้วยสามารถแห่งเอกนิทเทสเป็นต้นไป ในคำทั้ง 5 มี
คำแสดงธรรมที่ควรรู้ยิ่งเป็นต้น ขึ้นแสดงเทียบเคียง โดยปริยายแห่ง
ทสุตตรสูตร.


อรรถกถาเอกนิทเทส
ว่าด้วย อาหาร


บรรดาคำทั้ง 5 นั้น ในเบื้องแรก คำว่า สพฺเพ สตฺตา-
สัตว์ทั้งปวง
ในอภิญเญยยนิทเทส ได้แก่ สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ใน
ภพทั้งปวง คือในกามภพเป็นต้น ในสัญญาภพเป็นต้น และในเอกโว-
การภพเป็นต้น.