เมนู

สัพพัญญุตญาณนิทเทส


[286] สัพพัญญุตญาณของพระตถาคตเป็นไฉน ?
ชื่อว่า สัพพัญญุตญาณ เพราะอรรถว่า รู้สังขตธรรมและ
อสังขตธรรมทั้งปวง มิได้มีส่วนเหลือ ชื่อว่า อนาวรณญาณ เพราะ
อรรถว่า ในญาณนั้นไม่มีเครื่องกั้น ชื่อว่า สัพพัญญุตญาณ เพราะ
อรรถว่า รู้ธรรมส่วนอนาคตทั้งหมด . . . รู้ธรรมส่วนอดีตทั้งหมด. . .
รู้ธรรมส่วนปัจจุบันทั้งหมด...รู้จักษุและรูปทั้งหมดว่าอย่างนี้...รู้หูและ
เสียง ฯลฯ จมูกและกลิ่น ลิ้นและรส กายและโผฏฐัพพะ ใจและธรร-
มารมณ์ทั้งหมดว่าอย่างนี้ ชื่อว่า อนาวรณญาณ เพราะอรรถว่า ในญาณ
นั้นไม่มีเครื่องกั้น.
[287] ชื่อว่า สัพพัญญุตญาณ เพราะอรรถว่า รู้สภาพ
ไม่เที่ยง สภาพเป็นทุกข์ สภาพเป็นอนัตตา ตลอดทั้งหมด ชื่อว่า อนา-
วรณญาณ เพราะอรรถว่า ในญาณนั้นไม่มีเครื่องกั้น. . .รู้สภาพไม่เที่ยง
สภาพเป็นทุกข์ สภาพเป็นอนัตตาแห่งรูป ตลอดทั้งหมด. . .รู้สภาพไม่
เที่ยง สภาพเป็นทุกข์ สภาพเป็นอนัตตาแห่งเวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณตลอดทั้งหมด...รู้สภาพไม่เที่ยง สภาพเป็นทุกข์ สภาพเป็น
อนัตตาแห่งจักษุ ฯลฯ แห่งชราและมรณะ ตลอดทั้งหมด ชื่อว่า อนา-
วรณญาณ เพราะอรรถว่า ในญาณนั้นไม่มีเครื่องกั้น.

[288] ชื่อว่า สัพพัญญุตญาณ เพราะอรรถว่า รู้สภาพ
ธรรมที่ควรรู้ยิ่งด้วยอภิญญาทั้งหมด ชื่อว่า อนาวรณญาณ เพราะ
อรรถว่า ในญาณนั้นไม่มีเครื่องกั้น... รู้สภาพที่ควรกำหนดรู้ด้วย
ปริญญา... รู้สภาพที่ควรละด้วยปหานะ ... รู้สภาพที่ควรเจริญด้วย
ภาวนา . .. รู้สภาพที่ควรทำให้แจ้งด้วยสัจฉิกิริยาตลอดทั้งหมด... รู้
สภาพที่เป็นกองแห่งขันธ์ตลอดทั้งหมด...รู้สภาพที่ทรงไว้แห่งธาตุตลอด
ทั้งหมด ... รู้สภาพเป็นที่ต่อแห่งอายตนะตลอดทั้งหมด. . . รู้สภาพที่
ปัจจัยปรุงแต่งแห่งสังขตธรรมตลอดทั้งหมด . . . รู้สภาพที่ปัจจัยไม่ปรุง-
แต่งแห่งอสังขตธรรมตลอดทั้งหมด ชื่อว่า อนาวรณญาณ เพราะ
อรรถว่า ในญาณนั้นไม่มีเครื่องกั้น.
[289] ชื่อว่า สัพพัญญุตญาณ เพราะอรรถว่า รู้กุศล
ธรรมตลอดทั้งหมด ชื่อว่า อนาวรณญาณ เพราะอรรถว่า ในญาณนั้น
ไม่มีเครื่องกั้น. . . รู้อกุศลธรรม อัพยากตธรรม กามาวจรธรรม
รูปาวจรธรรม อรูปาวจรธรรม โลกุตรธรรมตลอดทั้งหมด . ..รู้สภาพ
ที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ สภาพเป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย สภาพที่ดับแห่ง
นิโรธ สภาพเป็นทางแห่งมรรค ตลอดทั้งหมด ชื่อว่า อนาวรณญาณ
เพราะอรรถว่า ในญาณนั้นไม่เครื่องกั้น.
[290] ชื่อว่า สัพพัญญุตญาณ เพราะอรรถว่า รู้สภาพ
ปัญญาอันแตกฉานดีในอรรถแห่งอรรถปฏิสัมภิทา ตลอดทั้งหมด ฯลฯ

รู้สภาพปัญญาอันแตกฉานดีในธรรมแห่งธรรมปฏิสัมภิทา สภาพปัญญา
อันแตกฉานดีในนิรุตติแห่งนิรุตติปฏิสัมภิทา สภาพปัญญาอันแตกฉาน
ดีในปฏิภาณแห่งปฏิภาณปฏิสัมภิทา ตลอดทั้งหมด ...รู้อินทริยปโรปริ-
ยัตตญาณ รู้ญาณในฉันทะอันมานอน และกิเลสอันนอนเนื่องของสัตว์
ทั้งหลาย รู้ยมกปาฏิหาริยญาณ รู้มหากรุณาสมาปัตติญาณ ตลอด
ทั้งหมด ชื่อว่า อนาวรณญาณ เพราะอรรถว่า ในญาณนั้นไม่มี
เครื่องกั้น.
[291] ชื่อว่า สัพพัญญุตญาณ เพราะอรรถว่า รู้อารมณ์
ที่ได้เห็น ที่ได้ฟัง ที่ได้ทราบ ที่ได้รู้แจ้ง ที่ได้ถึง ที่แสวงหา ที่
เที่ยวตามหาด้วยใจ แห่งโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก แห่ง
หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ตลอดทั้งหมด
ชื่อว่า อนาวรณญาณ เพราะอรรถว่า ในญาณนั้นไม่มีเครื่องกั้น.
บทธรรมที่พระตถาคตไม่ทรงเห็นแล้ว ไม่มี
ในโลกนี้ อนึ่ง บทธรรมน้อยหนึ่งที่ควรรู้ พระ-
ตถาคตไม่ทรงรู้แล้ว ไม่มี พระตถาคตทรงทราบยิ่ง
ซึ่งธรรมเป็นเครื่องนำไปทั้งปวง เพราะเหตุนั้น
พระตถาคตจึงเป็นพระสมันตจักษุ - ผู้ทรงเห็นทั่ว.

[292] คำว่า สมนฺตจกฺขุ ความว่า ชื่อว่าสมันตจักษุ
เพราะอรรถว่ากระไร ?

พระพุทธญาณ 14 คือ ญาณในทุกข์ 1 ญาณในทุกขสมุทัย 1
ญาณในทุกขนิโรธ 1 ญาณในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา 1 ญาณใน
อรรถปฏิสัมภิทา 1 ญาณในธรรมปฏิสัมภิทา 1 ญาณในนิรุตติปฏิ-
สัมภิทา 1 ญาณในปฏิภาณปฏิสัมภิทา 1 ญาณในความยิ่งและหย่อน
แห่งอินทรีย์ 1 ญาณในฉันทะเป็นที่มานอนและกิเลสอันนอนเนื่องของ
สัตว์ทั้งหลาย 1 ญาณในยมกปาฏิหาริย์ 1 ญาณในมหากรุณาสมาบัติ 1
สัพพัญญุตญาณ 1 อนาวรณญาณ 1 บรรดาพระพุทธญาณ 14 ประ-
การนี้ พระญาณ 8 ข้างต้น เป็นญาณทั่วไปด้วยพระสาวก พระญาณ
6 ไม่ทั่วไปด้วยพระสาวก.
[293] ชื่อว่า สัพพัญญุตญาณ เพราะอรรถว่า สภาพที่
ทนได้ยากแห่งทุกข์ พระตถาคตทรงทราบแล้วตลอดทั้งหมด ที่มิได้
ทรงทราบไม่มี ชื่อว่า อนาวรณญาณ เพราะอรรถว่า ในญาณนั้น
ไม่มีเครื่องกั้น สภาพที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ พระตถาคตทรงเห็นแล้ว
ทรงรู้แจ้งแล้ว ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรงถูกต้องแล้วตลอดทั้งหมดด้วย
พระปัญญา ที่มิได้ทรงถูกต้องแล้วด้วยพระปัญญาไม่มี. . . สภาพเป็น
เหตุเกิดแห่งสมุทัย สภาพเป็นที่ดับแห่งนิโรธ สภาพเป็นทางแห่งมรรค
สภาพปัญญาอันแตกฉานดีในอรรถแห่งอรรถปฏิสัมภิทา สภาพปัญญา
อันแตกฉานดีในธรรมแห่งธรรมปฏิสัมภิทา สภาพปัญญาอันแตกฉานดี
ในนิรุตติแห่งนิรุตติปฏิสัมภิทา สภาพปัญญาอันแตกฉานดีในปฏิภาณ

แห่งปฏิภาณปฏิสัมภิทา พระตถาคตทรงทราบแล้ว ทรงเห็นแล้ว ทรง
รู้แจ้งแล้ว ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรงถูกต้องแล้วตลอดทั้งหมดด้วยพระ-
ปัญญา ที่มิได้ทรงถูกต้องแล้วด้วยพระปัญญาไม่มี... ญาณในความยิ่ง
และหย่อนแห่งอินทรีย์ ญาณในฉันทะอันมานอนและกิเลสอันนอน-
เนื่องของสัตว์ทั้งหลาย ญาณในยมกปาฏิหาริย์ ญาณในมหากรุณา.
สมาบัติ พระตถาคตทรงทราบแล้ว ทรงเห็นแล้ว ทรงรู้แจ้งแล้ว
ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรงถูกต้องแล้วตลอดทั้งหมดด้วยพระปัญญา ที่มิ
ได้ทรงถูกต้องด้วยพระปัญญาไม่มี... ชื่อว่า สัพพัญญุตญาณ เพราะ
อรรถว่า อารมณ์ที่ได้เห็น ที่ได้ฟัง ที่ได้ทราบ ที่ได้รู้แจ้ง ที่ได้ถึง
ที่แสวงหา ที่เที่ยวตามหาด้วยใจ แห่งโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก
พรหมโลก แห่งหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ. พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์
พระตถาคตทรงทราบแล้ว ทรงเห็นแล้ว ทรงรู้แจ้งแล้ว ทรงทำให้
แจ้งแล้ว ทรงถูกต้องแล้วตลอดทั้งหมดด้วยพระปัญญา ที่มิได้ทรงถูก
ต้องแล้วด้วยพระปัญญาไม่มี.
ชื่อว่า อนาวรณญาณ เพราะอรรถว่า ไม่มีเครื่องกั้นในญาณ
นั้น.
บทธรรมที่พระตถาคตไม่ทรงเห็นแล้วไม่มีใน
โลกนี้ อนึ่ง บทธรรมน้อยหนึ่งที่ควรรู้ พระตถาคต
ไม่ทรงรู้แล้วไม่มี พระตถาคตทรงทราบยิ่ง ซึ่ง

ธรรมเป็นเครื่องนำไปทั้งปวง เพราะเหตุนั้น พระ-
ตถาคตจึงเป็นพระสมันตจักษุ.

จบ ญาณกถา

72 - 73. อรรถกถาสัพพัญญุตณาณนิทเทส


[286 - 293] พึงทราบวินิจฉัยในสัพพัญญุตญาณนิทเทส ดัง
ต่อไปนี้
พระสารีบุตรเถระถามว่า พระสัพพัญญุตญาณของพระตถาคต
เป็นไฉน ? แล้วแสดงอนาวรณญาณ - ญาณไม่มีสิ่งปิดกั้น กับด้วย
พระสัพพัญญุตญาณนั้นนั่นแหละ เพราะมีคติเสมอกันด้วยอนาวรณ-
ญาณนั้น.
จริงอยู่ อนาวรณญาณมิได้มีต่างหากจากธรรมดา. เพราะญาณ
นี้ญาณเดียวเท่านั้น ท่านกล่าวเป็น 2 อย่าง ดุจประเภทแห่งอาการ
สัทธินทรีย์และสัทธาพละเป็นต้น. พระสัพพัญญุตญาณนั่นแหละ
ท่านกล่าวว่า อนาวรณะ เพราะไม่มีเครื่องปิดกั้น เพราะอันธรรมไร ๆ
หรือบุคคลไม่สามารถจะทำการปิดกั้นได้ เพราะธรรมทั้งปวงเนื่องด้วย
การคำนึง. แต่ผู้อื่นแม้คำนึงก็รู้ไม่ได้. ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า
ชื่อว่า สัพพัญญุตญาณ เพราะเป็นไปในอารมณ์ทั้งปวง ดุจมโน-