เมนู

ในโลกและในโทษ เหมือนความสำคัญว่าเป็นภัยปรากฏในศัตรูผู้เงื้อดาบ
เพื่อประหารฉะนั้น.
บทว่า อิเมหิ ปญฺญาสาย อากาเรหิ - ด้วยอาการ 50 นี้
คือ ด้วยอาการ 50 ด้วยสามารถแห่งอาการอย่างละ 5 ในปัญจกะ 10
มีอัปปรชักขปัญจกะเป็นต้นอย่างหนึ่งๆ.
บทว่า อิมานิ ปญฺจินฺทฺริยานิ ได้แก่ อินทรีย์ 5 มีสัทธินทรีย์
เป็นต้น.
บทว่า ชานาติ คือ พระตถาคตย่อมทรงรู้ด้วยพระปัญญา.
บทว่า ปสฺสติ คือ ทรงกระทำดุจเห็นด้วยทิพจักษุ. บทว่า อญฺญาติ
ทรงทราบชัด คือ ทรงทราบด้วยมารยาทแห่งอาการทั้งปวง. บทว่า
ปฏิวิชฺฌติ - ทรงแทงตลอด คือ ทรงทำลายด้วยพระปัญญา ด้วย
สามารถการเห็นหมดสิ้นมิได้เหลือเป็นเอกเทศ.
จบ อรรถกถาอินทริยปโรปริยัตตญาณนิทเทส


อาสยานุสยญาณนิทเทส


[277] ญาณในฉันทะเป็นที่มานอน และกิเลสอันนอนเนื่อง
แห่งสัตว์ทั้งหลาย ของพระตถาคต เป็นไฉน ?

ในญาณนี้ พระตถาคตย่อมทรงทราบฉันทะเป็นที่มานอน กิเลส
อัพนอนเนื่อง จริต อธิมุตติ ของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมทรงทราบชัด
ภัพพสัตว์และอภัพพสัตว์.
[278] ก็ฉันทะเป็นที่มานอนของสัตว์ทั้งหลายเป็นไฉน ?
สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้อาศัยทิฏฐิในภพก็มี อาศัยทิฏฐิในความ
ปราศจากภพก็มี ดังนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่เที่ยงบ้าง, โลกมีที่สุด
บ้าง โลกไม่มีที่สุดบ้าง, ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้นบ้าง, ชีพเป็นอื่น
สรีระก็เป็นอื่นบ้าง, สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกบ้าง สัตว์
เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีกบ้าง, สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อม
เป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มีบ้าง, สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็น
อีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้บ้าง, บุคคลไม่ข้องแวะส่วนที่สุด
ทั้งสองนี้เสียแล้ว เป็นอันได้อนุโลมิกขันติ ในธรรมทั้งหลายอันมีสิ่งนี้
เป็นปัจจัยและอาศัยกันเกิดขึ้น.
อนึ่ง พระตถาคตย่อมทรงทราบบุคคลผู้เสพกาม ด้วยถาภูต-
ญาณ คือ ทรงทราบบุคคลผู้เสพกามว่า บุคคลนี้เป็นผู้หนักในกาม มี
กามเป็นที่อาศัย น้อมใจไปในกาม, ทรงทราบบุคคลผู้เสพเนกขัมมะว่า
บุคคลนี้เป็นผู้หนักในเนกขัมมะ มีเนกขัมมะเป็นที่อาศัย น้อมใจไปใน
เนกขัมมะ, ทรงทราบบุคคลผู้เสพพยาบาทว่า บุคคลผู้นี้เป็นผู้หนักใน
พยาบาท มีพยาบาทเป็นที่อาศัย น้อมใจไปในพยาบาท, ทรงทราบ

บุคคลผู้เสพความไม่พยาบาทว่า บุคคลนี้เป็นผู้หนักในความไม่พยาบาท
มีความไม่พยาบาทเป็นที่อาศัย น้อมใจไปในความไม่พยาบาท, ทรง
ทราบบุคคลผู้เสพถีนมิทธะว่า บุคคลนี้เป็นผู้หนักในถีนมิทธะ มีถีน-
มิทธะเป็นที่อาศัย น้อมใจไปในถีนมิทธะ, ทรงทราบบุคคลผู้เสพอา-
โลกสัญญาว่า บุคคลนี้เป็นผู้หนักในอาโลกสัญญา มีอาโลกสัญญาเป็น
ที่อาศัย น้อมใจไปในอาโลกสัญญา นี้เป็นฉันทะเป็นที่มานอนของ
สัตว์ทั้งหลาย.

[279] ก็กิเลสอันนอนเนื่องของสัตว์ทั้งหลายเป็นไฉน.
กิเลสอันนอนเนื่องของสัตว์ทั้งหลาย คือ กามราคานุสัย ปฏิ-
ฆานุสัย มานานุสัย ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชา-
นุสัย, กามราคานุสัย ของหมู่สัตว์ ย่อมนอนเนื่องในอารมณ์อันเป็น
ที่รักที่ยินดีในโลก ปฏิฆานุสัย ของหมู่สัตว์ ย่อมนอนเนื่องในอารมณ์
อันไม่เป็นที่รักที่ยินดีในโลก, อวิชชาตกไปตามในธรรมสองประการนี้
ดังนี้ มานะ ทิฏฐิ และวิจิกิจฉา ซึ่งตั้งอยู่ร่วมกันกับอวิชชานั้น ก็
พึงเห็นดังนั้น นี้เป็นกิเลสอันนอนเนื่องขอสัตว์ทั้งหลาย.

[280] ก็จริตของสัตว์ทั้งหลายเป็นไฉน ?
ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร, เป็นภูมิ
น้อยก็ตาม เป็นภูมิมากก็ตาม นี้เป็นจริตของสัตว์ทั้งหลาย.

[281] ก็อธิมุตติของสัตว์ทั้งหลายเป็นไฉน ?
สัตว์ทั้งหลายมีอธิมุตติเลวก็มี มีอธิมุตติประณีตก็มี สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีอธิมุตติเลว ย่อมสมาคมคบหาเข้านั่งใกล้กะสัตว์ผู้มีอธิมุตติเลวเหมือน
กัน, สัตว์ทั้งหลายผู้มีอธิมุตติประณีต ย่อมสมาคมคบหาเข้านั่งใกล้กะ
สัตว์ผู้มีอธิมุตติประณีตเหมือนกัน, แม้ในอดีตกาล สัตว์ทั้งหลายผู้มี
อธิมุตติเลว ก็สมาคมคบหาเข้านั่งใกล้กะสัตว์ผู้มีอธิมุตติเลวเหมือนกัน,
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอธิมุตติประณีต ก็สมาคมคบหาเข้านั่งใกล้กะสัตว์ผู้มี
อธิมุตติประณีตเหมือนกัน, แม้ในอนาคตกาล สัตว์ทั้งหลายผู้มีอธิมุตติ
เลว ก็จักสมาคมคบหาเข้านั่งใกล้กะสัตว์ผู้มีอธิมุตติเลวเหมือนกัน, สัตว์
ทั้งหลายผู้มีอธิมุตติประณีต ก็สมาคมคบหาเข้านั่งใกล้กะสัตว์ผู้มี
อธิมุตติประเหมือนกัน, นี้เป็นอธิมุตติของสัตว์ทั้งหลาย.
[282] อภัพพสัตว์เป็นไฉน ?
สัตว์ทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องกั้น คือ กรรม
กิเลส วิบาก เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีฉันทะ มีปัญญาทราม ไม่อาจ
ย่างเข้าสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย เหล่านี้เป็นอภัพพสัตว์.
[ 283 ] ภัพพสัตว์เป็นไฉน ?
สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่ประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องกั้น คือ กรรม
กิเลส วิบาก เป็นผู้มีศรัทธา มีฉันทะ มีปัญญาอาจย่างเข้าสู่สัมมัตต-

นิยามในกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านี้เป็นภัพพสัตว์ นี้เป็นญาณในฉันทะ
เป็นที่มานอน และกิเลสอันนอนเนื่องแห่งสัตว์ทั้งหลาย ของพระ-
ตถาคต.


69. อรรถกถาอาสยานุสยญาณนิทเทส


[277 - 283] พึงทราบวินิจฉัยในอาสยานุสยญาณนิทเทสดัง
ต่อไปนี้. บทมีอาทิว่า อิธ ตถาคโต เป็นนิทเทสที่ท่านตั้งไว้ 5 ส่วน.

ในบทเหล่านั้นบทว่า อาสยานุสยา - ฉันทะเป็นที่มานอน
และกิเลสอันนอนเนื่อง มีอรรถดังได้กล่าวไว้แล้ว.
บทว่า จริตํ - จริต คือ กุศลกรรมและอกุศลกรรมที่ทำไว้แล้ว
ในชาติก่อน.
บทว่า อธิมุตฺตึ ได้แก่ การปล่อยจิตไปในกุศล หรืออกุศล
ในชาตินี้.
บทว่า ภพฺพาภพฺเพ ได้แก่ ภัพพสัตว์และอภัพพสัตว์. ชื่อว่า
ภัพพะ เพราะอรรถว่าย่อมสมภพ คือ ย่อมเกิดในอริยชาติ เป็นคำ
กล่าวถึงปัจจุบันกาล. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ภัพพะ เพราะจักเป็น คือ
จักเกิด กล่าวถึงอนาคตกาล. อธิบายว่า เป็นภาชนะรองรับ. ภัพพ-