เมนู

กล่าวบทว่า สลฺลกฺขเณ อุปลกฺขเณ ด้วยสามารถแห่งพระสกทาคามี.
กล่าวบทว่า ปเภเท ปภาวเน ด้วยสามารถแห่งพระอนาคามี. กล่าว
บทว่า โชตเน วิโรจเน ปกาสเน ด้วยสามารถแห่งพระอรหันต์
พึงทำการประกอบในบทเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้.
จบ อรรถกถาสุทธิกปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส


อินทริยปโรปริยัตตญาณนิทเทส


[269] อินทริยปโรปริยัตตญาณของพระตถาคตเป็นไฉน ?
ในอินทริยปโรปริยัตตญาณนี้ พระตถาคตย่อมทรงเห็นสัตว์
ทั้งหลาย ผู้มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ มีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ
มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน, มีอาการดี มีอาการชั่ว, พึงให้รู้แจ้ง
ได้โดยง่าย พึงให้รู้แจ้งได้โดยยาก, บางพวกมีปกติเห็นปรโลกและโทษ
โดยความเป็นภัย บางพวกมิได้เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย.
[270] คำว่า มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ มีกิเลส
ธุลีมากในปัญญาจักษุ ความว่า บุคคลผู้มีศรัทธา เป็นคนมีกิเลส
ธุลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา เป็นคนมีกิเลสธุลีมากใน
ปัญญาจักษุ, บุคคลผู้ปรารภความเพียร เป็นคนมีกิเลสธุลีน้อยในปัญญา
จักษุ บุคคลผู้เกียจคร้าน เป็นคนมีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ, บุคคล

ผู้มีสติตั้งมั่น เป็นคนมีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคลผู้มีสติหลงลืม
เป็นคนมีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ, บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น เป็นคนมีกิเลส
ธุลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นเป็นคนมากิเลสธุลีมากใน
ปัญญาจักษุ, บุคคลผู้มีปัญญา เป็นคนมีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ
บุคคลผู้มีปัญญาทรามเป็นคนมีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ

[271] คำว่า มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน ความว่า
บุคคลผู้มีศรัทธาเป็นคนมีอินทรีย์แก่กล้า บุคคลผู้ไม่มีศรัทธาเป็นคนมี
อินทรีย์อ่อน... บุคคลผู้มีปัญญา เป็นคนมีอินทรีย์แก่กล้า บุคคลผู้มี
ปัญญาทราม เป็นคนมีอินทรีย์อ่อน.

[272] คำว่า มีอาการดี มีอาการชั่ว ความว่า บุคคล
ผู้มีศรัทธาเป็นคนมีอาการดี บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา เป็นคนมีอาการชั่ว...
บุคคลผู้มีปัญญาเป็นคนมีอาการดี บุคคลผู้มีปัญญาทราม เป็นคนมีอาการ
ชั่ว.

[273] คำว่า พึงให้รู้แจ้งได้โดยง่าย พึงให้รู้แจงได้โดย
ยาก
ความว่า บุคคลผู้มีศรัทธา เป็นคนพึงให้รู้แจ้งได้โดยง่าย บุคคล
ผู้ไม่มีศรัทธา เป็นคนพึงให้รู้แจ้งได้โดยยาก,...บุคคลผู้มีปัญญา เป็น
คนพึงให้รู้จักได้โดยง่าย บุคคลผู้มีปัญญาทราม เป็นคนพึงให้รู้แจ้งได้
โดยยาก.

[274] คำว่า บางพวกมีปกติเห็นปรโลกและโทษโดย
ความเป็นภัย บางพวกมิได้เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย

ความว่า บุคคลผู้มีศรัทธา เป็นคนมีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความ
เป็นภัย บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา เป็นคนมิได้เห็นปรโลกและโทษโดยความ
เป็นภัย,...บุคคลผู้มีปัญญา เป็นคนมีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความ
เป็นภัย บุคคลผู้มีปัญญาทราม เป็นคนมิได้เห็นปรโลกและโทษโดย
ความเป็นภัย.

[275] คำว่า โลก ชื่อว่าโลก คือ ขันธโลก ธาตุโลก อายตน-
โลก, โลกคือภพวิบัติ โลกคือสมภพวิบัติ, โลกคือภพสมบัติ โลกคือสมภพ
สมบัติ, โลก 1 คือสัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร, โลก 2 คือ
นามและรูป, โลก 3 คือเวทนา 3, โลก 4 คืออาหาร 4, โลก 5
คือ อุปาทานขันธ์ 5, โลก 6 คือ อายตนะภายใน 6, โลก 7 คือ
ภูมิเป็นที่ตั้งวิญญาณ 7, โลก 8 คือ โลกธรรม 8, โลก 9 คือ ภพ
เป็นที่อาศัยอยู่ของสัตว์ 9, โลก 10 คือ อายตนะ 10, โลก 12 คือ
อายตนะ 12. โลก 18 คือ ธาตุ 18.

[276] คำว่า โทษ ชื่อว่าโทษ คือ กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง
อภิสังขารทั้งปวง กรรมอันเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่ภพทั้งปวง เป็นโทษ
ความสำคัญในโลกนี้และโทษนี้เป็นภัยอันแรงกล้า ปรากฏแล้วด้วย

ประการดังนี้ เหมือนความสำคัญในศัตรูผู้เงื้อดาบเข้ามาจะฆ่าฉะนั้น
พระตถาคตย่อมทรงรู้ ทรงเห็น ทรงทราบชัด ทรงแทงตลอดซึ่งอินทรีย์
5 ประการนี้ ด้วยอาการ 50 นี้ นี้เป็น อินทริยปโรปริยัตตญาณของ
พระตถาคต.


68. อรรถกถาอินทริยปโรปริยัตตญาณนิทเทส


[269] พึงทราบวินิจฉัยในอินทริยปโรปริยัตตญาณนิทเทส
ดังต่อไปนี้. เมื่อคำว่า ตถคตสฺส แม้ไม่มีโดยสรูปในอุทเทส ท่าน
กล่าวว่า ตถาคตสฺส เพราะท่านกล่าวไว้ว่า ญาณ 6 ไม่ทั่วไป
ด้วยสาวกทั้งหลาย. เพราะฉะนั้น จึงถือเอาในนิทเทสแห่งคำว่า ตถาคต
อันสำเร็จแล้วโดยอรรถในอุทเทส.
บทว่า สตฺเต ปสฺสติ - เห็นสัตว์ทั้งหลาย คือ ชื่อว่า สัตว์
เพราะข้อง คือ เพราะถูกคล้องด้วยฉันทราคะในรูปเป็นต้น. พระ-
ตถาคตทรงเห็นทรงตรวจดูสัตว์เหล่านั้น ด้วยจักษุอันเป็น อินทริย-
ปโรปริยัตตญาณ -
ญาณกำหนดรู้ความหย่อนและยิ่งแห่งอินทรีย์ของ
สัตว์ทั้งหลาย.
บทว่า อปฺปรชฺกเข - ผู้มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ นี้ มี
วิเคราะห์ว่า ชื่อว่า อปฺปรชกฺขา - เพราะอรรถว่าสัตว์มีธุลีมีราคะ
เป็นต้นน้อยในจักษุคือปัญญา. หรือว่า เพราะอรรถว่าสัตว์มีธุลี คือ
ราคะเป็นต้นน้อย. ซึ่งสัตว์เหล่านั้นผู้มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ.