เมนู

สุทธิกปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส


[268] อรรถปฏิสัมภิทาญาณ ธรรมปฏิสัมภิทาญาณ นิรุตติ-
ปฏิสัมภิทาญาณ ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ อย่างไร ?
ญาณในอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทา ญาณในธรรม เป็นธรรม
ปฏิสัมภิทา ญาณในนิรุตติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทา ญาณในปฏิภาณ
เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทา.
ปัญญาในความต่างกันแห่งอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ
ปัญญาในความต่างกันแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาใน
ความต่างกันแห่งนิรุตติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความต่าง
กันแห่งปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
ปัญญาในความกำหนดอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญา
ในความกำหนดธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความ
กำหนดนิรุตติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความกำหนด
ปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
ปัญญาในความหมายอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญา
ในความหมายธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความหมาย
นิรุตติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความหมายปฏิภาณ เป็น
ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ

ปัญญาในความเข้าไปหมายอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ
ปัญญาในความเข้าไปหมายธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญา
ในความเข้าไปหมายนิรุตติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความ
เข้าไปหมายปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
ปัญญาในประเภทแห่งอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญา
ในประเภทแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในประเภท
แห่งนิรุตติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในประเภทแห่งปฏิภาณ
เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ

ปัญญาในความปรากฏแห่งอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ
ปัญญาในความปรากฏแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญา
ในความปรากฏแห่งนิรุตติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความ
ปรากฏแห่งปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ

ปัญญาในความกระจ่างแห่งอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ
ปัญญาในความกระจ่าวแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญา
ในความกระจ่างแห่งนิรุตติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความ
กระจ่างแห่งปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
ปัญญาในความรุ่งเรืองแห่งอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ
ปัญญาในความรุ่งเรืองแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญา

ในความรุ่งเรืองแห่งนิรุตติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความ
รุ่งเรืองแห่งปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
ปัญญาในความประกาศอรรถ เป็นอรรถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญา
ในความประกาศธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความ
ประกาศนิรุตติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความประกาศ
ปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ.
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ว่าธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อรรถปฏิสัมภิทาญาณ
ธรรมปฏิสัมภิทาญาณ นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ.

64 - 67. อรรถกถาสุทธิกปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส


[268] พึงทราบวินิจฉัยในสุทธิกปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส ดัง
ต่อไปนี้. พระสารีบุตรเถระมิได้แสดงถึงประเภทของญาณเหล่านี้ ดุจ
หนหลังเพราะญาณเหล่านี้ไม่มีความต่างกันจึงกล่าวบทมีอาทิว่า อตฺเถสุ
ญาณํ อตฺถปฏิสมฺภิทา
- ญาณในอรรถ ชื่อว่า อรรถปฏิสัมภิทา แม้
ในความไม่มีความต่างกันแห่งปัญญา ท่านจึงกล่าวว่า อตฺถนานตฺเต
ปญฺญา อตฺถปฏิสมฺภิเท ญาณํ
- ปัญญาในความต่างกันแห่งอรรถ เป็น
อรรถปฏิสัมภิทาญาณ เพราะมีความต่างกันด้วยสามารถเพียงแทงตลอด
จตุสัจธรรม.