เมนู

ผล เพราะมรรคเป็นกุศล เป็นนิยยานิกะ และเป็นอปจยคามี. บท
มีอาทิว่า อิติ เป็นบทสรูป มีประการดังกล่าวแล้ว.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อฏฺฐฏฺฐกานิ - อินทรีย์ 8 หมวด คือ
หมวด 8 แห่งอินทรีย์ อย่างละ 8 ด้วยสามารถหมวด 8 หมวด
หนึ่ง ๆ ในมรรคและผล 8.
บทว่า จตุสฏฺฐี โหนฺติ คือ รวมเป็นอาการ 64.
บทมีอาทิว่า อาสวา มีความดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ.
ในที่นี้ พึงทราบว่า ท่านมิได้กล่าวถึงอาสวะอันทำลายด้วย
อรหัตมรรคเท่านั้น กล่าวถึงการทำลายด้วยมรรค 3 หมวดที่เหลือ โดย
เพียงเป็นคำกล่าวธรรมดาถึงความสิ้นอาสวะ. เพราะท่านกล่าวถึงอรหัต-
มรรคญาณว่า ขเย ญาณํ - ญาณในความสิ้นไป เพราะสิ้นอาสวะไม่
มีอาสวะไร ๆ เหลือเลย. ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระอรหันต์ขีณาสพ
ด้วยประการฉะนี้.
จบ อรรถกถาอาสวักขยญาณนิทเทส


สัจญาณจตุกทวยนิทเทส


[264] ปัญญาในอรรถว่าเป็นสิ่งควรกำหนดรู้ เป็นทุกขญาณ
ปัญญาในอรรถว่าเป็นสิ่งควรละ เป็นสมุทยญาณ ปัญญาในอรรถว่า

เป็นสิ่งควรทำให้แจ้ง เป็นนิโรธญาณ ปัญญาในอรรถว่าเป็นสิ่งควร
เจริญ เป็นมรรคญาณ อย่างไร ?
สภาพบีบคั้น สภาพเดือดร้อน สภาพปัจจัยปรุงแต่ง สภาพ
แปรปรวน สภาพที่ควรกำหนดรู้แห่งทุกข์ สภาพที่ประมวลมา สภาพ
เป็นเหตุ สภาพที่เกี่ยวข้อง ภาพพัวพัน สภาพที่ควรละแห่งสมุทัย
สภาพที่สลัดออก สภาพที่สงัด ภาพอันปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาพเป็น
อมตะ สภาพที่ควรทำให้แจ้งแห่งนิโรธ สภาพที่นำออก สภาพที่เป็น
เหตุ สภาพที่เห็น สภาพที่เป็นอธิบดี ภาพที่ควรเจริญแห่งมรรค.
ชื่อว่า ญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่า ปัญญา เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความกำหนด
เป็นทุกขญาณ ปัญญาในความละ เป็นสมุทยญาณ ปัญญาในความ
ทำให้แจ้ง เป็นนิโรธญาณ ปัญญาในความเจริญเป็นมรรคญาณ.

[265] ทุกขญาณ ทุกขสมุทยญาณ ทุกขนิโรธญาณ ทุกข-
นิโรธคามินีปฏิปทาญาณ อย่างไร ? ญาณของท่านผู้มีความพร้อม
เพรียงด้วยมรรคนี้
เป็นทุกขญาณ ทุกขสมุทยญาณ ทุกขนิโรธญาณ
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ.
[266] ในญาณเหล่านั้น ทุกขญาณเป็นไฉน ?
ความรู้ทั่ว ความรู้ชัด ความเลือกเฟ้น ความค้นคว้า ความ
สอดส่องธรรม ความกำหนดดี ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนด

เฉพาะ ความเป็นบัณฑิต ความเป็นผู้ฉลาด ความเป็นผู้ละเอียด ความ
แจ่มแจ้ง ความคิด ความพิจารณา ปัญญากว้างขวางดังแผ่นดิน ปัญญา
อันทำลายกิเลส ปัญญาอันนำไปรอบ ความเห็นแจ้ง ความรู้ทั่วพร้อม
ปัญญาดังปฏัก ปัญญาเป็นใหญ่ ปัญญาเป็นกำลัง ปัญญาดังศาสตรา
ปัญญาดังปราสาท ปัญญาเป็นแสงสว่าง ปัญญาเป็นรัศมี ปัญญารุ่งเรือง
ปัญญาดังรัตนะ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ
ที่ปรารภทุกข์เกิดขึ้น นี้ท่านกล่าวว่า ทุกขญาณ.
[267] ฯลฯ ปรารภทุกขสมุทัย ฯลฯ ปรารภทุกขนโรธ
ฯลฯ ความรู้ทั่ว ความรู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้น
ธรรม สัมมาทิฏฐิที่ปรารภทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาเกิดขึ้น นี้ท่าน
กล่าวว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ.
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ทุกขญาณ ทุกขสมุทยญาณ
ทุกขนิโรธญาณ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ.

56 - 63. อรรถกถาสัจญาณจตุกทวยนิทเทส


264 - 267] พึงทราบวินิจฉัยในสัจญาณจตุกทวยนิทเทสดัง
ต่อไปนี้. บทมีอาทิว่า ทุกฺขสฺส ปิฬนฏฺโฐ - สภาพบีบคั้นแห่งทุกข์