เมนู

พหิทธารมณ์ 1.
อนาคตังสญาณ ย่อมเป็นไปในอารมณ์ 8 ด้วยสามารถแห่ง
ปริตตารมณ์ 1 มหัคคตารมณ์ 1 อัปปมาณารมณ์ 1 มัคคารมณ์ 1
อนาคตารมณ์ 1 อัชฌัตตารมณ์ 1 พหิทธารมณ์ 1 นวัตตัพพารมณ์ 1.
จบ ปัญจญาณปกิณกะ


อาสวักขยญาณนิทเทส


[258]ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญในอินทรีย์ 3
ประการ โดยอาการ 64 เป็นอาสวักขยญาณอย่างไร ?
อินทรีย์ 3 ประการเป็นไฉน คือ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ 1
อัญญินทรีย์ 1 อัญญาตาวินทรีย์ 1.
อันญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ย่อมถึงฐานะเท่าไร อัญญินทรีย์ย่อม
ถึงฐานะเท่าไร อัญญาตาวินทรีย์ย่อมถึงฐานะเท่าไร ?
อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ย่อมถึงฐานะ 1 คือ โสดาปัตติมรรค
อัญญินทรีย์ย่อมถึงฐานะ 6 คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค สก-
ทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตมรรค อัญญาตาวินทรีย์
ย่อมถึงฐานะ 1 คือ อรหัตผล.

[259] ในขณะโสดาปัตติมรรค อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์
มีสัทธินทรีย์ซึ่งมีความน้อมใจเชื่อเป็นบริวาร วีริยินทรีย์มีการประคอง
ไว้เป็นบริวาร สตินทรีย์มีความตั้งมั่นเป็นบริวาร สมาธินทรีย์มีความ
ไม่ฟุ้งซ่านเป็นบริวาร ปัญญินทรีย์มีความเห็นเป็นบริวาร มนินทรีย์
มีความรู้แจ้งเป็นบริวาร โสมนัสสินทรีย์มีความยินดีเป็นบริวาร ชีวิ-
ตินทรีย์ มีความเป็นอธิบดี ในความสืบต่อที่กำลังเป็นไป เป็นบริวาร
ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะโสดาปัตติมรรค นอกจากรูปซึ่งมีจิตเป็น
สมุฏฐาน เป็นกุศลทั้งหมดนั่นแล ล้วนไม่มีอาสวะ เป็นธรรมเครื่อง
นำออก เป็นธรรมเครื่องให้ถึงความไม่สั่งสม เป็นโลกุตระ มีนิพพาน
เป็นอารมณ์ ในขณะโสดาปัตติมรรค อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ มี
อินทรีย์ 8 ประการนี้ ซึ่งมีสหชาตธรรมเป็นบริวาร มีธรรมอื่น ๆ
เป็นบริวาร มีธรรมที่อาศัยกันเป็นบริวาร มีธรรมที่ประกอบกันเป็น
บริวาร เป็นสหรคต เกิดร่วมกัน เกี่ยวข้องกัน ประกอบด้วยกัน
ธรรมเหล่านั้นแลเป็นอาการและเป็นบริวารของอนัญญาตัญญัสสามีติน-
ทรีย์นั้น.

[260] ในขณะโสดาปัตติผล อัญญินทริย์มีสัทธินทรีย์ซึ่งมี
ความน้อมใจเธอเป็นบริวาร ... ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะโสดาปัตติผล
ทั้งหมดนั่นแลเป็นอัพยากฤต นอกจากรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ล้วน
ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตระ มีนิพพานเป็นอารมณ์ในขณะโสดาปัตติผล

อัญญินทรีย์มีอินทรีย์ 8 ประการนี้ซึ่งมีสหชาตธรรมเป็นบริวาร...ธรรม
เหล่านั้นแลเป็นอาการและเป็นบริวารของอัญญินทรีย์นั้น.
[261] ในขณะสกทาคามิมรรค ฯลฯ ในขณะสกทาคามิผล
ฯลฯ ในขณะอนาคามิมรรค ฯลฯ ในขณะอนาคามิผล ฯลฯ
ในขณะอรหัตมรรค อัญญินทรีย์มีสัทธินทรีย์ซึ่งมีความน้อมใจ
เชื่อเป็นบริวาร ฯลฯ ชีวิตินทรีย์มีความเป็นอธิบดีในความสืบต่อที่
กำลังเป็นไปเป็นบริวาร ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะอรหัตมรรค นอก
จากรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ทั้งหมดนั่นแลเป็นกุศลแล้ว ไม่มีอาสวะ เป็น
ธรรมเครื่องนำออก เป็นธรรมเครื่องให้ถึงความไม่สั่งสม เป็นโลกุตระ
มีนิพพานเป็นอารมณ์ ในขณะอรหัตมรรค อัญญินทรีย์มีอินทรีย์ 8
ประการนี้ซึ่งมีสหชาตธรรมเป็นบริวาร . . . ธรรมเหล่านั้นแลเป็นอาการ
และเป็นบริวารของอัญญินทรีย์นั้น.
[262] ในขณะอรหัตผล อัญญาตาวินทรีย์มีสัทธินทรีย์
ซึ่งมีความน้อมใจเธอเป็นบริวาร วีริยินทรีย์มีการประคองไว้เป็นบริวาร
สตินทรีย์มีความตั้งมั่นเป็นบริวาร สมาธินทรีย์มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็น
บริวาร ปัญญินทรีย์มีความเห็นเป็นบริวาร มนินทรีย์มีความรู้แจ้ง
เป็นบริวาร โสมนัสสินทรีย์มีความยินดีเป็นบริวาร ชีวิตินทรีย์มีความ
เป็นอธิบดีในการสืบต่อ ที่กำลังเป็นไปเป็นบริวาร ธรรมทั้งหลายที่เกิด
ในขณะอรหัตผล ทั้งหมดนั่นแลเป็นอัพยากฤตนอกจากรูปที่มีจิตเป็น

สมุฏฐาน ล้วนไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตระ มีนิพพานเป็นอารมณ์ ใน
ขณะอรหัตผล อัญญาตาวินทรีย์มีอินทรีย์ 8 ประการนี้ซึ่งมีสหชาตธรรม
เป็นบริวาร มีธรรมอื่น ๆ เป็นบริวาร มีธรรมที่อาศัยกันเป็นบริวาร
มีธรรมที่ประกอบกันเป็นบริวาร เป็นสหรคต เกิดร่วมกัน เกี่ยวข้อง
กัน ประกอบด้วยกัน ธรรมเหล่านั้นแลเป็นอาการและเป็นบริวารของ
อัญญาตาวินทรีย์นั้น อินทรีย์ 8 หมวดเหล่านี้ รวมเป็นอาการ 64
ด้วยประการฉะนี้.

[263] คำว่า อาสวะ ความว่า อาสวะเหล่านั้นเป็นไฉน ?
อาสวะเหล่านั้น คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ.
อาสวะเหล่านั้นย่อมสิ้นไป ณ ที่ไหน ทิฏฐาสวะทั้งสิ้น กามา-
สวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ อันเป็นเหตุให้ไปสู่อบาย ย่อมสิ้นไป
เพราะโสดาปัตติมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะโสดาปัตติมรรค
นี้ กามาสวะส่วนหยาบ ๆ ภวาสวะ อวิชชาสวะ ซึ่งตั้งอยู่ร่วมกันกับ
กามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปเพราะสกทาคามิมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้น
ไปในขณะสกทาคามิมรรคนี้ กามาสวะทั้งสิ้น ภวาสวะ อวิชชาสวะ
ซึ่งตั้งอยู่ร่วมกันกับกามาสวะนั้น ย่อมในรูปเพราะอนาคามิมรรค อาสวะ
เหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะอนาคามิมรรคนี้ ภวาสวะ อวิชชาสวะทั้งสิ้น
ย่อมสิ้นไปเพราะอรหัตมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะอรหัต-
มรรคนี้.


ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความเป็นผู้มีความ
ชำนาญ ในอินทรีย์ 3 ประการ โดยอาการ 64 เป็นอาสวักขยญาณ.


55. อรรถกถาอาสวักขยญาณนิทเทส


[258 - 263] พึงทราบวินิจฉัยในอาสวักขยญาณนิทเทสดังต่อ
ไปนี้. บทมีอาทิว่า อนญฺญาตญฺญสฺสามีตินฺทฺริยํ มีอรรถดังได้กล่าว
แล้ว.
บทว่า กติ ฐานานิ คจฺฉติ - ย่อมถึงฐานะเท่าไร เป็นคำถาม
เพื่อกำหนดฐานะที่เกิดของอินทรีย์หนึ่ง ๆ.
บทว่า เอกํ ฐานํ คจิฉติ - ย่อมถึงฐานะ 1 ท่านอธิบายว่า
ย่อมเกิดในฐานะ 1. ฐานะโอกาสที่เกิด ท่านกล่าวว่า ฐานะ เพราะ
มีที่ตั้ง
บทว่า ฉ ฐานานิ - ฐานะ 6 คือ ในขณะมรรคและผล 6.
ในอินทรีย์ 3 มีอนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์เป็นต้นแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย
เพื่อแสดงว่า อินทรีย์หนึ่ง ๆ เป็นอินทรีย์ยิ่ง. ท่านจึงกล่าวบทมีอาทิ
ว่า สทฺธินฺทฺริยํ อธิโมกฺขปริวารํ โหติ - มีสัทธินทรีย์ซึ่งมีความน้อมใจ
เชื่อเป็นบริวาร. ท่านกล่าวอธิโมกข์เป็นต้น ด้วยสามารถกิจแห่ง