เมนู

ในตระกูลกษัตริย์ หรือในตระกูลพราหมณ์โน้น ในภพนี้.
บทว่า อิติ คือ ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า สาการํ สอุทเทสํ - พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุทเทส
คือ พร้อมทั้งอุทเทส ด้วยชื่อและโคตร. พร้อมทั้งอาการด้วยผิวเป็น
ต้น. เพราะท่านแสดงถึงสัตว์ โดยชื่อและโคตรว่า ติสสะ ผุสสะ
กัสสปโคตร. ปรากฏโดยความต่างด้วยผิวพรรณเป็นต้นว่า ขาว ดำ.
เพราะฉะนั้น ชื่อและโคตรเป็นอุทเทส. นอกนั้นเป็นอาการ ด้วยประการ
ฉะนี้.
จบ อรรถกถาบุพเพนิวารสานุสติญาณนิทเทส


ทิพจักขุญาณนิทเทส


[ 257] ปัญญาในความเห็นรูปเป็นนิมิตหลายอย่าง หรือ
อย่างเดียวด้วยสามารถแสงสว่าง เป็นทิพจักษุญาณอย่างไร ?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยสมาธิยิ่งด้วย
ฉันทะและสังขารอันเป็นประธาน ฯลฯ ครั้นแล้วย่อมมนสิการถึง
อาโลกสัญญา ตั้งสัญญาว่าเป็นกลางวัน มีใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ
เจริญจิตให้มีแสงสว่างว่ากลางวันฉันใด กลางคืนฉันนั้น กลางคืนฉัน

ใด กลางวันฉันนั้น ภิกษุนั้นมีจิตอันอบรมแล้วอย่างนั้น บริสุทธิ์
ผ่องแผ้ว ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อญาณในจุติ และอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย
เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี
มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของ
มนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามธรรมว่า สัตว์เหล่านี้หนอ
ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า
เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือเอาการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไป
ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วย
กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ
ยึดถือการการทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลก
สวรรค์ เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุบัติ เลว ประณีต มีผิว
พรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพจักษุอันบริสุทธิ์
ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วย
ประการฉะนี้.
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความเห็นรูป
เป็นนิมิตหลายอย่างหรืออย่างเดียว ด้วยสามารถแสงสว่าง เป็นทิพ-
จักขุญาณ.

54. อรรถกถาทิพจักขุญาณนิทเทส


[257] พึงทราบวินิจฉัยในทิพจักขุญาณนิทเทส ดังต่อไปนี้.
บทว่า อาโลกสญฺญํ มนสิ กโรติ - มนสิการอาโลกสัญญา
คือ มนสิการแสงพระอาทิตย์ พระจันทร์และแก้วมณี ทั้งกลางวัน
กลางคืนว่า อาโลโก - แสงสว่าง. อนึ่ง เมื่อมนสิการอย่างนี้ ท่าน
กล่าวว่า มนสิการอาโลกสัญญา เพราะยังสัญญาให้เป็นไปในใจว่า
อาโลโก.

บทว่า ทิวาสญฺญํ อธิฏฺฐาติ - ตั้งสัญญาว่าเป็นกลางวัน คือ
มนสิการอาโลกสัญญาอย่างนี้แล้ว ตั้งสัญญาว่ากลางวัน.
บทว่า ยถา ทิวา ตถา รตฺตึ - กลางวันฉันใด กลางคืน
ฉันนั้น คือ มนสิการแม้กลางคืนเหมือนเห็นแสงสว่างในกลางวัน
ฉะนั้น.
บทว่า ยถา รตฺตึ ตถา ทิวา - กลางคืนฉันใด กลางวัน
ฉันนั้น คือ มนสิการแม้กลางวันเหมือนเห็นแสงสว่างในกลางคืน
ฉะนั้น.
บทว่า อิติ วิวฏฺเฏน เจตสา - มีใจเปิดเผยแล้ว คือ มีใจ
มิได้ปกปิดอย่างนี้.