เมนู

อุดหนุนแล้ว กระทำซึ่งหนังเสือเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง แล้ว
ซบเศียรลงแทบพระยุคลบาท
(ทูลว่า)
[53] ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ผู้มีพระจักษุ พาวรีพราหมณ์
พร้อมด้วยพวกศิษย์ มีจิตเบิกบานโสมนัส ขอถวายบังคม
พระยุคลบาทของพระองค์.

[54] พ. พาวรีพราหมณ์พร้อมด้วยพวกศิษย์จงเป็นผู้มีสุข
ดูก่อนมาณพ และแม้ท่านก็ขอให้มีความสุข มีชีวิตอยู่
ยืนนานเถิด.

[55] เราให้โอกาสแก่พาวรีพราหมณ์ แก่ท่าน และแก่
พราหมณ์ทั้งหมดตลอดข้อสงสัยทั้งปวง ท่านทั้งหลายย่อม
ปรารถนาปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งไว้ในใจ ก็จงถามเถิด.

[56] เมื่อพระสัมพุทธเจ้าทรงประทานโอกาสแล้ว อชิต-
พราหมณ์นั่งประนมมือ แล้วทูลถามปฐมปัญหากะ
พระตถาคต ในบริษัทนั้น.

จบวัตถุคาถา

อชิตมาณวกปัญหานิทเทส


ว่าด้วยปัญหาของท่านอชิตะ


[57] (ท่านอชิตะทูลถามปัญหาว่า)
โลกอันอะไรสิหุ้มห่อไว้ โลกไม่ปรากฏเพราะเหตุ
อะไรสิ อะไรเล่าเป็นเครื่องฉาบทาโลกนั้น ขอพระองค์
จงตรัสบอก อะไรเล่าเป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น.


[58] คำว่า โลกอันอะไรสิหุ้มห่อไว้ ความว่า โลกนรก โลก
ดิรัจฉาน โลกเปตติวิสัย โลกมนุษย์ โลกเทวดา ขันธโลก ธาตุโลก
อายตนโลก โลกนี้ โลกอื่น พรหมโลก กับทั้งเทวโลก นี้เรียกว่าโลก
โลกนี้อันอะไรปกปิด ปิดบัง ปกคลุม หุ้มห่อ ครอบไว้ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า โลกอันอะไรสิหุ้มห่อไว้.
[59] บทว่า อิติ ในอุเทศว่า " อิจฺจายสฺมา อชิโต " เป็นบท
สนธิ เป็นบทเกี่ยวเนื่อง เป็นบทยังบทให้บริบูรณ์ เป็นความประชุม
แห่งอักขระ เป็นความสละสลวยแห่งพยัญชนะ บทว่า อิติ นี้เป็นไปตาม
ลำดับบท. บทว่า อายสฺมา เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่อง
กล่าวโดยเคารพ. บทว่า อายสฺมา นี้เป็นเครื่องกล่าวถึง เป็นไปกับ
ด้วยความเคารพและความยำเกรง. บทว่า อชิโต เป็นชื่อ เป็นเครื่องนับ
เป็นเครื่องหมายรู้ เป็นบัญญัติ เป็นเครื่องร้องเรียก เป็นนาม เป็นการ
ตั้งชื่อ เป็นเครื่องแสดงให้ปรากฏ เป็นเครื่องกล่าวเฉพาะของพราหมณ์
นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า " อิจฺจายสฺมา อชิโต. "
[60] คำว่า โลกไม่ปราก เพราะเหตุอะไรสิ ความว่า โลกไม่
ปรากฏ ไม่สว่าง ไม่รุ่งเรือง ไม่ไพโรจน์ ไม่แจ่ม ไม่กระจ่าง เพราะ
เหตุอะไร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า โลกไม่ปรากฏ เพราะเหตุอะไรสิ.
[61] คำว่า อะไรเล่าเป็นเครื่องฉาบทาโลกนั้น ขอพระองค์จง
ตรัสบอก
ความว่า อะไรเป็นเครื่องฉาบทา เป็นเครื่องข้อง เป็นเครื่อง
ผูก เป็นเครื่องเข้าไปเศร้าหมอง ของโลกนั้น คือ โลกอันอะไรฉาบทา
ติดให้เปื้อน ให้มัวหมอง เปื้อน ระคนไว้ ข้องไว้ คล้องไว้ พัวพันไว้
ขอพระองค์จงตรัสบอก เล่า แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก

ทำให้ตื้น ประกาศ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อะไรเล่าเป็นเครื่องฉาบทา
โลกนั้น ขอพระองค์จงตรัสบอก.
[62] คําว่า อะไรเล่าเป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น ความว่า อะไร
เป็นภัยใหญ่ เป็นเครื่องบีบคั้น เป็นเครื่องเสียดสี เป็นอันตราย เป็น
เครื่องขัดข้องของโลกนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อะไรเล่าเป็นภัยใหญ่
ของโลกนั้น.
เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า (อชิตมาณพทูลถามปัญหา
ว่า)
โลกอันอะไรสิหุ้มห่อไว้ โลกไม่ปรากฏเพราะเหตุ
อะไรสิ อะไรเล่าเป็นเครื่องฉาบทาโลกนั้น ขอพระองค์
จงตรัสบอก อะไรเล่าเป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น.


[63] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูก่อนอชิตะ)
โลกอันอวิชชาหุ้มห่อไว้ โลกไม่ปรากฏเพราะความ
ตระหนี่ เรากล่าวตัณหาว่าเป็นเครื่องฉาบทาโลก ทุกข์
เป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น.

[64] ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ใน
ทุกขนิโรธ ความไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนสุด
เบื้องต้น ความไม่รู้ในส่วนสุดเบื้องปลาย ความไม่รู้ทั้งในส่วนสุดเบื้องต้น
และส่วนสุดเบื้องปลาย ความไม่รู้ในธรรมทั้งหลาย อันอาศัยกันและกัน
เกิดขึ้น คือความเป็นปัจจัยแห่งธรรมนี้ ชื่อว่า " อวิชา " ความไม่รู้ ความ
ไม่เห็น ความไม่ถึงพร้อมเฉพาะ ความไม่ตามตรัสรู้ ความไม่ตรัสรู้พร้อม

ความไม่แทงตลอด ความไม่ถึงพร้อม ความไม่ถึงรอบ ความไม่เห็นเสมอ
ความไม่พิจารณา ความไม่ทำให้ประจักษ์ ความรู้ได้ยาก ความเป็นคน
เขลา ความไม่รู้ทั่วพร้อม ความหลงใหล ความมัวเมา อวิชชาเป็นโอฆะ
อวิชชาเป็นโยคะ อวิชชาเป็นอนุสัย อวิชชาเป็นเครื่องกลุ้มรุม อวิชชา
เป็นข่าย โมหะ อกุศลมูล ชื่อว่า " อวิชชา " ในอุเทศว่า อวิชฺชาย
นิวุโต โลโก
นี้เรียกว่า อวิชชา. โลกนรก โลกเดียรัจฉาน โลก
เปตติวิสัย โลกมนุษย์ โลกเทวดา ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก
โลกนี้ โลกหน้า พรหมโลกกับทั้งเทวโลก นี้เรียกว่า โลก. โลกอัน
อวิชชานี้ ปิดบัง ปกคลุม หุ้มห่อ ครอบไว้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
โลกอันอวิชชาหุ้มห่อไว้.
[65] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อว่า " อชิตะ "
บทว่า ภควา นี้เป็นเครื่องกล่าวด้วยความเคารพ. อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงทำลายราคะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา ทรงทำลาย
โทสะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา ทรงทําลายโมหะ เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่า ภควา ทรงทำลายมานะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา ทรง
ทำลายทิฏฐิ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา ทรงทำลายเสี้ยนหนาม
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา ทรงจำแนก ทรงแจกวิเศษ ทรงจำแนก
เฉพาะซึ่งธรรมรัตนะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา ทรงทำซึ่งที่สุดแห่ง
ภพทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา มีกายอันอบรมแล้ว เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา มีศีลอันอบรมแล้ว เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
ภควา มีจิตอันอบรมแล้ว มีปัญญาอันเจริญแล้ว เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
ภควา.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเสพเสนาสนะอันสงัด คือป่าและป่า
เปลี่ยว เงียบเสียง ไม่มีเสียงกึกก้อง ปราศจากลมแต่หมู่ชน ควรทำ
กรรมลับของมนุษย์ สมควรแก่การหลีกออกเร้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
ภควา.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งอรรถรส ธรรมรส วิมุตติ-
รส แห่งอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งฌาน อัปปมัญญา 4 อรูป-
สมาบัติ 4 เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนเเห่งวิโมกข์ 8 อภิภายตนะ 8
อนุปุพพวิหารสมาบัติ 9 เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งสัญญาภาวนา 20 กสิณ-
สมาบัติ 10 สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานัสสติ อสุภฌานสมาบัติ
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งสติปัฏฐาน 4 สัมมัปป-
ธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมี
องค์ 8 เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งกำลังของพระตถาคต 10
เวสารัชชญาณ 4 ปฏิสัมภิทา 4 อภิญญา 6 พุทธธรรม 6 เพราะเหตุ
นั้น จึงชื่อว่า ภควา. พระนามว่า ภควา นี้ พระมารดามิได้ทรงตั้ง
พระบิดามิได้ทรงตั้ง พระภคินีมิได้ทรงตั้ง พระภาดามิได้ทรงตั้ง มิตร

และอำมาตย์มิได้ตั้ง พระญาติสายโลหิตมิได้ทรงตั้ง สมณพราหมณ์แล
เทวดาก็มิได้ตั้ง พระนามว่า ภควา นี้ เป็นวิโมกขันติกนาม คือพระนาม
ที่เกิดขึ้นในที่สุดแห่งความหลุดพ้น พระนามว่า ภควา นี้ เป็นสัจฉิกา-
บัญญัติ พระนามของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายผู้ตรัสรู้แล้ว พร้อมด้วย
การบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ณ ควงไม้มหาโพธิ์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
"อชิตาติ ภควา. "
[66] คำว่า โลกไม่ปรากฏเพราะความตระหนี่ มีความว่า ความ
ตระหนี่ 5 ประการ คือ อาวาสมัจฉริยะ ตระหนี่ที่อยู่ 1 กุลมัจฉริยะ
ตระหนี่สกุล 1 ลาภมัจฉริยะ ตระหนี่ลาภ 1 วรรณมัจฉริยะ ตระหนี่
วรรณะ 1 ธรรมมัจฉริยะ ตระหนี่ธรรม 1 ท่านเรียกว่า เววิจฉะ ความ
ตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ ความเป็นผู้ตระหนี่ ความปรารถนาต่าง ๆ
ความเหนียวแน่น ความเป็นผู้มีจิตหดหู่ โดยความเป็นจิตเผ็ดร้อน
ความที่แห่งจิตอันใครเชื่อไม่ได้เห็นปานนี้ เรียกว่า ความตระหนี่.
อีกอย่างหนึ่ง แม้ความตระหนี่ขันธ์ ท่านก็เรียกว่ามัจฉริยะ แม้ความ
ตระหนี่ธาตุ ท่านก็เรียกว่ามัจฉริยะ.
ความประมาท สมควรกล่าว การปล่อยจิต ความเพิ่มการปล่อย
จิต ในกายทุจริตก็ดี ในวจีทุจริตก็ดี ในมโนทุจริตก็ดี ในเบญจกามคุณ
ก็ดี หรือความเป็นผู้ทำโดยความไม่เอื้อเฟื้อ ความเป็นผู้ทำไม่ติดต่อ
ความเป็นผู้หยุด ๆ ความเป็นผู้มีความประพฤติย่อหย่อน ความเป็นผู้
ปลงฉันทะ ความเป็นผู้ทอดธุระ ความเป็นผู้ไม่ซ่องเสพ ความไม่เจริญ
ความไม่ทำให้มาก ความไม่ตั้งใจ ความไม่ประกอบเนือง ๆ ในการ
บำเพ็ญกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นความประมาท ความมัวเมา กิริยาที่

มัวเมา ความเป็นผู้มัวเมา เห็นปานนี้ เรียกว่า ประมาท.
คำว่า โลกไม่ปรากฏเพราะความตระหนี่ เพราะความประมาท
ความว่า โลกไม่ปรากฏ ไม่สว่าง ไม่รุ่งเรือง ไม่ไพโรจน์ ไม่แจ่ม
ไม่กระจ่าง เพราะความตระหนี่นี้ เพราะความประมาทนี้ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า โลกไม่ปรากฏ เพราะความตระหนี่ เพราะความประมาท.
[67] คำว่า เรากล่าวว่าตัณหาเป็นเครื่องฉาบทาโลก ความว่า
ตัณหา เรียกว่า ชัปปา ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความยินดี
ความพลอยยินดี ความเพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยความเพลิดเพลิน
ความกำหนัดนักแห่งจิต ความปรารถนา ความหลง ความติดใจ ความ
อยาก ความพัวพัน ความข้อง ความจม ความหวั่นไหว ความลวง
ธรรมชาติอันให้สัตว์เกิด ธรรมชาติอันให้สัตว์เกิดกับทุกข์ ธรรมชาติอัน
เย็บไว้ ธรรมชาติเพียงดังข่าย ธรรมชาติอันไหลไป ธรรมชาติอันซ่าน
ไปในอารมณ์ต่าง ๆ ความเป็นผู้หลับ ความกว้างขวาง ธรรมชาติอัน
ให้อายุเสื่อม ความเป็นเพื่อน ความตั้งใจไว้ ธรรมชาติอันเป็นเหตุนําไป
สู่ภพ ธรรมชาติเพียงดังว่าป่า ธรรมชาติเพียงดังว่าหมู่ไม้ในป่า ความ
สนิทสนม ความมีเยื่อใย ความเพ่ง ความพัวพัน ความหวัง กิริยาที่
หวัง ความเป็นผู้หวัง ความหวังในรูป ความหวังในเสียง ความหวังในกลิ่น
ความหวังในรส ความหวังในโผฏฐัพพะ ความหวังในลาภ ความหวังใน
ทรัพย์ ความหวังในบุตร ความหวังในชีวิต ความกระซิบ ความกระซิบทั่ว
ความกระซิบยิ่ง กิริยาที่กระซิบ ความเป็นผู้กระซิบ ความโลภ กิริยาที่โลภ
ความเป็นผู้โลภ ความที่ตัณหาหวั่นไหว ความเป็นผู้ต้องการให้สำเร็จ
ความกำหนัดผิดธรรมดา ความโลภไม่สม่ำเสมอ ความใคร่ กิริยาที่ใคร่

ความปรารถนา ความทะเยอทะยาน ความประสงค์ กามตัณหา ภวตัณหา
วิภวตัณหา รูปตัณหา อรูปตัณหา นิโรธตัณหา รูปตัณหา สัททตัณหา
คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา โอฆะ โยคะ
คันถะ อุปาทาน ธรรมชาติเป็นเครื่องกั้น ธรรมชาติเป็นเครื่องบัง
ธรรมชาติเป็นเครื่องปิด ธรรมชาติเป็นเครื่องผูก อุปกิเลส อนุสัย กิเลส
เครื่องกลุ้มรุม ธรรมชาติเพียงดังว่าเถาวัลย์ ความตระหนี่ มูลแห่งทุกข์
แดนเกิดแห่งทุกข์ บ่วงมาร เบ็ดมาร วิสัยมาร โคจรแห่งมาร เครื่อง
ผูกแห่งมาร ตัณหาเพียงดังว่าแม่น้ำ ตัณหาเพียงดังว่าข่าย ตัณหาเพียง
ดังว่าสายโซ่ ตัณหาเพียงดังว่าทะเล อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล นี้เรียกว่า
ชัปปา (ตัณหา) ตัณหานี้เป็นเครื่องทา เป็นเครื่องข้อง เป็นเครื่องผูก
เป็นอุปกิเลสของโลก โลกอันตัณหานี้ไล้ทา ฉาบทา ให้หมอง ให้
มัวหมอง ให้เปื้อน ระคนไว้ ข้องไว้ คล้องไว้ พันไว้ เราย่อมกล่าว
บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เรากล่าวว่าตัณหาเป็นเครื่องฉาบทาโลก.
[68] ชื่อว่า ทุกข์ ในอุเทศว่า ทุกข์เป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น
คือ ชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส อุปายาส ทุกข์ในนรก ทุกข์ในกำเนิดดิรัจฉาน ทุกข์ในเปตติ-
วิสัย ทุกข์ในมนุษย์ ทุกข์มีการก้าวลงสู่ครรภ์เป็นมูล ทุกข์มีการตั้งอยู่ใน
ครรภ์เป็นมูล ทุกข์มีความออกจากครรภ์เป็นมูล ทุกข์เนื่องแต่สัตว์ผู้เกิด
ทุกข์เนื่องแก่ผู้อื่นแห่งสัตว์ผู้เกิด ทุกข์เกิดแต่ความเพียรของตน ทุกข์เกิด
แต่ความเพียรของผู้อื่น ทุกข์ในทุกข์ สงสารทุกข์ วิปริณามทุกข์ โรคตา
โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคในศีรษะ โรคในหู โรคในปาก

โรคฟัน โรคไอ โรคมองคร่อ โรคริดสีดวงจมูก โรคร้อนใน โรคชรา
โรคในท้อง โรคสลบ โรคลงแดง โรคจุกเสียด โรคลงท้อง โรคเรื้อน
ฝี กลาก โรคหืด โรคลมบ้าหมู หิดด้าน หิดเปื่อย คุดทะราด ลำลาบ
คุดทะราดใหญ่ โรครากเลือด โรคดี โรคเบาหวาน โรคริดสีดวงทวาร
โรคต่อม บานทะโรค อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏ-
ฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีดีเป็นต้นประชุมกัน อาพาธ
เกิดเพราะฤดูแปรไป อาพาธเกิดเพราะเปลี่ยนอิริยาบถไม่สม่ำเสมอกัน
อาพาธเกิดเพราะความเพียร อาพาธเกิดเพราะผลกรรม ความหนาว
ความร้อน ความหิว ความกระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ทุกข์
แต่เหลือบ ยุง ลม แดด และสัมผัสแห่งสัตว์เสือกคลาน ความตายของ
มารดาก็เป็นทุกข์ ความตายของบิดาก็เป็นทุกข์ ความตายของพี่น้องชาย
ก็เป็นทุกข์ ความตายของพี่น้องหญิงก็เป็นทุกข์ ความตายของบุตรก็
เป็นทุกข์ ความตายของธิดาก็เป็นทุกข์ ความฉิบหายแห่งญาติก็เป็นทุกข์
ความฉิบหายแห่งโภคทรัพย์ก็เป็นทุกข์ ความฉิบหายเพราะโรคก็เป็นทุกข์
ความฉิบหายแห่งศีลก็เป็นทุกข์ ความฉิบหายแห่งทิฏฐิก็เป็นทุกข์. ความ
เกิดขึ้นของธรรมทั้งหลายเหล่าใด ย่อมปรากฏตั้งแต่ต้น ธรรมทั้งหลาย
เหล่านั้นเมื่อตั้งอยู่ไม่ได้ ความดับย่อมปรากฏ. วิบากอาศัยกรรม กรรม
อาศัยวิบาก รูปอาศัยนาม นามก็อาศัยรูป นามรูปไปตามชาติ ชราก็ติดตาม
พยาธิก็ครอบงำ มรณะก็ห้ำหั่น ตั้งอยู่ในทุกข์ ไม่มีอะไรต้านทาน ไม่มี
อะไรเป็นที่เร้น ไม่มีอะไรเป็นสรณะ ไม่มีอะไรเป็นที่พึ่ง นี้เรียกว่าทุกข์
ทุกข์เป็นภัยใหญ่ เป็นเครื่องบีบคั้น เป็นเครื่องเสียดสี เป็นอันตราย เป็น

เครื่องขัดข้อง ของโลกนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทุกข์เป็นภัยใหญ่ของ
โลกนั้น.

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
โลกอันอวิชชาหุ้มห่อไว้ โลกไม่ปรากฏเพราะความ
ตระหนี่ เรากล่าวว่าตัณหาเป็นเครื่องฉาบทาโลก ทุกข์
เป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น.

[69] (ท่านอชิตะทูลถามว่า)
กระแสทั้งหลายย่อมไหลไปในอายตนะทั้งปวง อะไร
เป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย ขอพระองค์จงตรัสบอก
ธรรมเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย กระแสทั้งหลาย
อันอะไรย่อมปิดกั้นได้.

[70] กระแส คือ ตัณหา กระแส คือ ทิฏฐิ, กระแส คือ
กิเลส, กระแส คือ ทุจริต, กระแส คือ อวิชชา ชื่อว่ากระแสใน
อุเทศว่า " สวนฺติ สพฺพธิ โสตา." บทว่า สพฺพธิ คือ ในอายตนะ
ทั้งปวง. บทว่า สวนฺติ ความว่า ย่อมไหลไป ย่อมไหลหลั่ง ย่อมเลื่อน
ไป ย่อมเป็นไป คือ ย่อมไหลไป ย่อมหลั่งไป ย่อมเลื่อนไป ย่อมเป็น
ไปในรูปทางจักษุ ในเสียงทางหู ในกลิ่นทางจมูก ในรสทางลิ้น ใน
โผฏฐัพพะทางกาย ย่อมไหลไป ย่อมหลั่งไป ย่อมเลื่อนไป ย่อมเป็นไป
ในธรรมารมณ์ทางใจ รูปตัณหา ย่อมไหลไป ย่อมหลั่งไป ย่อมเลื่อนไป
ย่อมเป็นไปทางจักษุ สัททตัณหาย่อมไหลไป . . . ทางหู คันธตัณหา
ย่อมไหลไป . . . ทางจมูก รสตัณหาย่อมไหลไป. . . ทางลิ้น โผฏฐัพพ-

ตัณหาย่อมไหลไป . . . ทางกาย ธรรมตัณหาย่อมไหลไป ย่อมหลั่งไป
ย่อมเลื่อนไป ย่อมเป็นไปทางใจ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กระแสทั้งหลาย
ย่อมไหลไปในอายตนะทั้งปวง.
[71] คำว่า อิติ ในอุเทศว่า อิจฺจายสฺมา อชิโต เป็นบทสนธิ
เป็นบทเกี่ยวเนื่อง เป็นบทยังบทให้บริบูรณ์ เป็นความประชุมแห่งอักขระ
เป็นความสละสลวยแห่งพยัญชนะ. คำว่า อิติ นี้ เป็นไปตามลำดับบท.
บทว่า อายสฺมา เป็นเครื่องกล่าวถึง เป็นไปกับด้วยความเคารพและ
ความยำเกรง. บทว่า อชิโต เป็นชื่อ เป็นเครื่องนับ เป็นเครื่องหมายรู้
เป็นบัญญัติ เป็นเครื่องร้องเรียก เป็นนาม เป็นการตั้งชื่อ เป็นเครื่อง
ทรงชื่อ เป็นภาษาที่เรียกร้องกัน เป็นเครื่องแสดงให้ปรากฏ เป็นเครื่อง
กล่าวเฉพาะของพราหมณ์นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า " อิจฺจายสฺมา
อชิโต. "

[72] คำว่า อะไรเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย ความว่า อะไร
เป็นเครื่องกัน คือ เป็นเครื่องห้าม เป็นเครื่องป้องกัน เป็นเครื่องรักษา
เป็นเครื่องคุ้มครองกระแสทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อะไรเป็น
เครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย.

[73] คำว่า ขอพระองค์จงตรัสบอกธรรมเป็นเครื่องกั้นกระแส
ทั้งหลาย
ความว่า ขอพระองค์จงตรัส คือ จงทรงบอก แสดง บัญญัติ
แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศ ซึ่งธรรมเป็นเครื่องกั้น
คือ ซึ่งธรรมเป็นเครื่องห้าม เป็นเครื่องป้องกัน เป็นเครื่องรักษา เป็น
เครื่องคุ้มครองกระแสทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ขอพระองค์จง
ตรัสบอกซึ่งธรรมเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย.

[74] คำว่า กระแสทั้งหลายอันอะไรย่อมปิดกั้นได้ ความว่า
กระแสทั้งหลายอันอะไรย่อมปิดบังได้ คือ ย่อมตัดขาด ย่อมไม่ไหล
ย่อมไม่หลั่ง ย่อมไม่เลื่อน ย่อมไม่เป็นไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กระแส
ทั้งหลายอันอะไรย่อมปิดได้.

เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า (อชิตมาณพทูลถามว่า)
กระแสทั้งหลายย่อมไหลไปในอายตนะทั้งปวง อะไร
เป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย ขอพระองค์จงตรัสบอก
ธรรมเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย กระแสทั้งหลายอัน
อะไรย่อมปิดกั้นได้.

[75] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอบว่า ดูก่อนอชิตะ) กระแส
เหล่าใดในโลก สติเป็นเครื่องกั้นกระแสเหล่านั้น เรา
กล่าวธรรมเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย กระแสเหล่านี้
อันปัญญาย่อมปิดกั้นได้.

[76] คำว่า กระแสเหล่าใดในโลก ความว่า กระแสเหล่านี้ใด
เราบอกแล้ว เล่าแล้ว แสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แต่งตั้งแล้ว เปิดเผยแล้ว
จำแนกแล้ว ทำให้ตื้นแล้ว ประกาศแล้ว คือ กระแสตัณหา กระแส
ทิฏฐิ กระแสกิเลส กระแสทุจริต กระแสอวิชชา. บทว่า ในโลก คือ
ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กระแสเหล่าใดในโลก พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
เรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อว่า อชิตะ.

[77] ความระลึก คือ ความตามระลึก ความระลึกเฉพาะ สติ
ความระลึก ความทรง ความไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ สตินทรีย์
สติสัมโพชฌงค์ เอกายนมรรค (มรรคที่เป็นไปแห่งบุคคลผู้เดียว). ชื่อว่า
สติ ในอุเทศว่า "สติ เตสํ นิวารณํ" นี้เรียกว่า สติ. บทว่า เป็น
เครื่องกั้น ความว่า เป็นเครื่องกั้น คือ เป็นเครื่องห้าม เป็นเครื่อง
ป้องกัน เป็นเครื่องรักษา เป็นเครื่องคุ้มครอง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
สติเป็นเครื่องกั้นกระแสเหล่านั้น.
[78] คำว่า เราย่อมกล่าวธรรมเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย
ความว่า เราย่อมกล่าว ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมแต่งตั้ง
ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนก ย่อมทำให้ตื้น ย่อมประกาศ ซึ่งธรรมเป็น
เครื่องกั้น คือ เป็นเครื่องห้าม เป็นเครื่องป้องกัน เป็นเครื่องรักษา
เป็นเครื่องคุ้มครอง กระแสทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เราย่อม
กล่าวธรรมเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย.

[79] ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ทั่ว ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือก
เฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ชื่อว่า ปัญญา ในอุเทศว่า ปญฺญาเยเต ปิถิยฺ-
ยเร.
ข้อว่า กระแสเหล่านี้ อันปัญญาย่อมปิดกั้นได้ ความว่า กระแส
เหล่านี้ อันปัญญาย่อมปิดกั้นได้ คือ ย่อมตัดขาด ไม่ไหลไป ไม่หลั่งไป
ไม่เลื่อนไป ไม่เป็นไป กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า
สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป กระแสเหล่านี้ อัน
ปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่
เป็นไป กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า ธรรมทั้งปวงเป็น

อนัตตา ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้
รู้เห็นว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป
กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมี
วิญญาณ ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคล
ผู้รู้เห็นว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็น
ไป กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย
จึงมีสฬายตนะ ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป กระแสเหล่านี้ อันปัญญา
ของบุคคลผู้รู้เห็นว่า เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ ย่อมปิดกั้น
ได้ ... ไม่เป็นไป กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า เพราะ
ผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป กระแสเหล่านี้
อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ย่อม
ปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป กระแส
เหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็น
ว่า เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป กระแส
เหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและ
มรณะ ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคล
ผู้รู้เห็นว่า เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะ
สฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ

ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพ
จึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ
ย่อมปิดกั้นได้ คือ ย่อมปกปิด ย่อมไม่ไหลไป ไม่หลั่งไป ไม่เลื่อนไป
ไม่เป็นไป กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกข-
สมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่
เป็นไป กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า เหล่านี้อาสวะ
นี้เหตุให้เกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับ
อาสวะ ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคล
ผู้รู้เห็นว่า ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้ ธรรมเหล่านี้
ควรละ ธรรมเหล่านี้ควรเจริญ ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ย่อมปิดกั้น
ได้ ... ไม่เป็นไป กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นความเกิด
ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่งผัสสายตนะ 6 ย่อม
ปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นความ
เกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่งอุปาทานขันธ์ 5
ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็น
ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่งมหาภูต-
รูป 4 ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคล
ผู้รู้เห็นว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมี
ความดับไปเป็นธรรมดา ย่อมปิดกั้นได้ คือ ย่อมปกปิด ย่อมไม่ไหลไป
ไม่หลั่งไป ไม่เลื่อนไป ไม่เป็นไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กระแสเหล่านี้
อันปัญญาย่อมปิดกั้นได้
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

กระแสเหล่าใดในโลก สติเป็นเครื่องกั้นกระแส
เหล่านั้น เรากล่าวธรรมเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย
กระแสเหล่านี้ อันปัญญาย่อมปิดกั้นได้.

[80] (ท่านอชิตะทูลถามว่า)
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ปัญญา สติ และนามรูป
ย่อมดับไป ณ ที่ไหน ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอพระ
องค์จงตรัสบอกความข้อนั้นแก่ข้าพระองค์เถิด.

[81] ความรู้ชัด กิริยาที่รู้ชัด ความเลือกเฟ้น ความเลือกเฟ้นทั่ว
ความกำหนดพร้อม ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ความ
เป็นบัณฑิต ความเป็นผู้ฉลาด ความเป็นผู้ละเอียดอ่อน ปัญญาเป็นเครื่อง
จำแนกความคิด ความพิจารณา ปัญญาดังแผ่นดิน ความปรีชา ปัญญาอัน
น้อมไป ความเห็นแจ้ง ความรู้ทั่วพร้อม ปัญญาอันเจาะแทงเหมือนประตัก
ปัญญินทรีย์ ปัญญาเป็นกำลัง ปัญญาเพียงดังศาสตรา ปัญญาเป็นเพียง
ดังปราสาท ปัญญาเพียงดังแสงสว่าง ปัญญาเพียงดังรัศมี ปัญญาเพียงดัง
ประทีป ปัญญาเพียงดังรัตนะ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ. ชื่อว่า ปัญญา ในอุเทศว่า "ปญฺญา เจว สติ จาปิ" ความระลึก
ความตามระลึก ฯ ล ฯ สัมมาสติ ชื่อว่า สติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
อชิตมาณพทูลถามว่า ปัญญา สติ.
[82] คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ... นามรูป ความว่า อรูป-
ขันธ์ 4 ชื่อว่า นาม. มหาภูตรูป 4 และรูปอาศัยมหาภูตรูป 4 ชื่อว่า
รูป. บทว่า มาริส เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่องกล่าวโดย

เคารพ. บทว่า มาริส นี้ เป็นเครื่องกล่าวเป็นไปกับด้วยความเคารพ
และความยำเกรง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ...
นามรูป.

[83] คำว่า เอตมฺเม ในอุเทศว่า "เอตมฺเม ปุฏฺโฐ ปพฺรูหิ "
ความว่า ข้าพระองค์ขอทูลถาม ทูลวิงวอน เชื้อเชิญ ให้ประสาทข้อความ
ใด. บทว่า ปุฏฺโฐ ความว่า ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว คือ ทูลวิงวอน
ทูลขอเชิญให้ประสาท. บทว่า ปพฺรูหิ ความว่า ขอจงตรัส จงบอก จง
แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศ เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอพระองค์จงตรัสบอกความ
ข้อนั้นแก่ข้าพระองค์.

[84] คำว่า กตฺเถตํ อุปรุชฺฌติ ความว่า นั่นย่อมดับ คือ ย่อม
สงบ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ย่อมระงับ ณ ที่ไหน เพราะฉะนั้น จึงชื่อ
ว่า นั่นย่อมดับ ณ ที่ไหน.
เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ปัญญา สติ และนามรูป
ย่อมดับไป ณ ที่ไหน ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอพระ-
องค์จงตรัสบอกข้อความนั้นแก่ข้าพระองค์เถิด.

[85] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า)
ดูก่อนอชิตะ ท่านได้ถามปัญหาข้อใดแล้ว เราจะแก้
ปัญหาข้อนั้นแก่ท่าน นามและรูปดับไปไม่มีส่วนเหลือ ณ

ที่ใด นามรูปนั้นก็ดับ ณ ที่นั้น เพราะความดับแห่ง
วิญญาณ.

[86] บทว่า ยเมตํ ในอุเทศว่า " ยเมตํ ปญฺหํ อปุจฺฉิ" คือ
ปัญญา สติ และนามรูป. บทว่า อปุจฺฉิ คือ มาถาม มาวิงวอน เชื้อเชิญ
ให้ประสาทแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านได้ถามปัญหาใดแล้ว.
[87] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อว่า " อชิ-
ตะ"
ในอุเทศว่า "อชิต ตํ วทามิ เต." บทว่า ตํ คือ ปัญญา สติ
และนามรูป. บทว่า วทามิ ความว่า เราจะกล่าว จะบอก จะแสดง
จะบัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศปัญหานั้น
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ดูก่อนอชิตะ เราจะกล่าวปัญหานั้นแก่ท่าน.
[88] อรูปขันธ์ 4 ชื่อว่า นาม ในอุเทศว่า " ยตฺถ นามญฺจ
รูปญฺจ อเสสํ อุปรุชฺฌติ."
มหาภูตรูป 4 รูปอันอาศัยมหาภูตรูป 4
ชื่อว่า รูป. คำว่า อเสสํ ความว่า ไม่เหลือ คือทั้งหมด โดยกำหนด
ทั้งหมด ทั้งหมดโดยประการทั้งหมด ไม่เหลือ ไม่มีส่วนเหลือ. คำว่า
อเสสํ นี้ เป็นเครื่องกล่าวรวมหมด. คำว่า อุปรุชฺฌติ ความว่า ย่อมดับ
คือสงบ ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ย่อมระงับไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นาม-
รูปย่อมดับไม่เหลือ ณ ที่ใด.

[89] คำว่า นามรูปนั้นดับ ณ ที่นั้น เพราะความดับแห่งวิญญาณ
ความว่า ธรรมเหล่าใด คือ นามและรูป พึงเกิดขึ้นในสงสารมีส่วน
เบื้องหน้าและที่สุดอันรู้ไม่ได้ เว้นภพ 7 ธรรมเหล่านั้นย่อมดับ คือ ย่อม
สงบ ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ระงับไป ณ ที่นั้น เพราะความดับแห่งวิญญาณ
อันสัมปยุตด้วยอภิสังขารธรรม ด้วยโสดาปัตติมรรคญาณ.

ธรรมเหล่าใด คือ นามและรูป พึงเกิดขึ้นในภพ 5 เว้นภพ 2
ธรรมเหล่านั้น ย่อมดับ คือ ย่อมสงบ ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ระงับไป
ณ ที่นั้น เพราะความดับแห่งวิญญาณอันสัมปยุตด้วยอภิสังขารธรรม ด้วย
สกทาคามิมรรคญาณ.
ธรรมเหล่าใด คือ นามและรูป พึงเกิดขึ้นในกามธาตุ รูปธาตุ
หรืออรูปธาตุ เว้นภพ 1 ธรรมเหล่านั้นย่อมดับ คือ ย่อมสงบ ถึงความ
ตั้งอยู่ไม่ได้ ระงับไป ณ ที่นั้น เพราะความดับแห่งวิญญาณอันสัมปยุต
ด้วยอภิสังขารธรรม ด้วยอนาคามิมรรคญาณ.
ธรรมเหล่าใด คือ นามและรูป พึงเกิดขึ้น ธรรมเหล่านั้นย่อมดับ
คือ ย่อมสงบ ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ระงับไป ณ ที่นั้น เพราะความดับแห่ง
วิญญาณอันสัมปยุตด้วยอภิสังขารธรรม ด้วยอรหัตมรรคญาณ เมื่อพระ-
อรหันต์ปรินิพพาน ด้วยปรินิพพานธาตุอันเป็นอนุปาทิเสส ธรรมเหล่านี้
คือ ปัญญา สติและนามรูป ย่อมดับ คือ ย่อมสงบ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้
ย่อมระงับไป ณ ที่นั้น เพราะความดับแห่งวิญญาณดวงสุดท้าย1 เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า นามรูปนั้นย่อมดับ ณ ที่นั้น เพราะความดับแห่งวิญญาณ.
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ดูก่อนอชิตะ ท่านได้ถามปัญหาข้อใดแล้ว เราจะ
แก้ปัญหาข้อนั้นแก่ท่าน นามและรูปดับไม่มีส่วนเหลือ
ณ ที่ใด นามรูปนั้นก็ดับ ณ ที่นั้น เพราะความดับแห่ง
วิญญาณ.


1. บาลีไทยเป็นปุริมวิญฺญาณสฺส วิญญาณดวงก่อน อรรถกถาเป็นจริมวิญฺญาณสฺส ได้แก่
วิญญาณดวงสุดท้าย แปลตามอรรถกถา เพราะตรงตามสภาวะ.

[90] (ท่านอชิตะทูลถามว่า)
พระอรหันตขีณาสพเหล่าใดผู้มีสังขาตธรรม และ
พระเสขบุคคลเหล่าใดในที่นี้มีมาก ข้าแต่พระองค์ผู้
นิรทุกข์ ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอพระองค์ผู้มีปัญญา
ได้โปรดตรัสบอกความดำเนินของพระขีณาสพและเสข-
บุคคลเหล่านั้นแก่ข้าพระองค์เถิด.

[91] คำว่า "เย จ สงฺขาตธมฺมา เส" ความว่า พระอรหันต-
ขีณาสพ ท่านกล่าวว่ามีสังขาตธรรม เพราะเหตุไร พระอรหันตขีณาสพ
ท่านจึงกล่าวว่า มีสังขาตธรรม เพราะเหตุว่า พระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น
มีธรรมอันนับแล้ว คือ มีธรรมอันรู้แล้ว มีธรรมอันพินิจแล้ว มีธรรม
อันพิจารณาแล้ว มีธรรมอันเป็นแจ้งแล้ว มีธรรมอันแจ่มแจ้งแล้ว คือ
มีธรรมอันนับแล้วว่าสังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ... สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ...
ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ... เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ฯ ลฯ
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไป
เป็นธรรมดา.
อนึ่ง ขันธ์ ธาตุ อายตนะ คติ อุบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร
วัฏฏะ อันพระอรหันตขีณาสพเหล่านั้นนับพร้อมแล้ว อนึ่ง พระอรหันต-
ขีณาสพเหล่านั้น ตั้งอยู่แล้วในที่สุดแห่งขันธ์ ในที่สุดแห่งธาตุ ในที่สุด
แห่งอายตนะ ในที่สุดแห่งคติ ในที่สุดแห่งอุบัติ ในที่สุดแห่งปฏิสนธิ
ในที่สุดแห่งภพ ในที่สุดแห่งสงสาร ในที่สุดแห่งวัฏฏะ ตั้งอยู่ในภพ
อันมีในที่สุด ตั้งอยู่ในอัตภาพอันมีในที่สุด เป็นพระอรหันต์ผู้ทรงไว้ซึ่ง
กายอันมีในที่สุด.

ภพและอัตภาพ คือความเกิด ความตาย และสงสาร
นี้ของพระอรหันตขีณาสพเหล่านั้นมีเป็นครั้งสุดท้าย ท่าน
ไม่มีการเกิดในภพใหม่อีก.

เหตุนั้น พระอรหันตขีณาสพ ท่านจึงกล่าวว่า มีสังขาตธรรม
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระอรหันตขีณาสพเหล่าใด ผู้มีสังขาตธรรม.
[92] คำว่า "เสกฺขา" ในอุเทศว่า "เย จ เสกฺขา ปุถู อิธ"
ความว่า เพราะเหตุไร จึงเรียกว่า พระเสขะ เพราะยังต้องศึกษาต่อไป
ศึกษาอะไร ศึกษาอธิศีลสิกขาบ้าง อธิจิตตสิกขาบ้าง อธิปัญญาสิกขา
บ้าง.
ก็ อธิศีลสิกขาเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวม
ในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษ
แม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ศีลขันธ์แม้เล็ก
ศีลขันธ์แม้ใหญ่ ศีลเป็นที่พึ่ง เป็นเครื่องกั้น เป็นความสำรวม เป็นความ
ระวัง เป็นประมุข เป็นประธานแห่งความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย
นี้ชื่อว่า อธิศีลสิกขา.
ก็ อธิจิตตสิกขาเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัด
จากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก วิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวก
อยู่ บรรลุทุติฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน นี้ชื่อว่า อธิจิตตสิกขา.
ก็ อธิปัญญาสิกขาเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา
ประกอบด้วยปัญญาเครื่องพิจารณา เห็นความเกิดและความดับ เป็นอริยะ
เป็นเครื่องชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ภิกษุย่อมรู้ชัดตาม

ความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุให้เกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ปฏิปทา
เครื่องให้ถึงความดับอาสวะ นี้ชื่อว่า อธิปัญญาสิกขา.
พระเสขะทั้งหลาย คำนึงถึงไตรสิกขานี้ศึกษาอยู่ รู้ศึกษาอยู่ อธิษ-
ฐานจิตศึกษาอยู่ น้อมใจไปด้วยศรัทธาศึกษาอยู่ ประคองความเพียร
ศึกษาอยู่ ตั้งสติไว้ศึกษาอยู่ ตั้งจิตศึกษาอยู่ รู้ทั่วด้วยปัญญาศึกษาอยู่
รู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งศึกษาอยู่ กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ศึกษาอยู่
ละธรรมที่ควรละศึกษาอยู่ เจริญธรรมที่ควรเจริญศึกษาอยู่ ทำให้แจ้ง
ซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งศึกษาอยู่ ประพฤติเอื้อเฟื้อ ประพฤติเต็มใจ
สมาทานประพฤติไป เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า พระเสขะ.
บทว่า ปุถู ความว่า มีมาก คือ พระเสขะเหล่านี้ ได้แก่ พระ-
โสดาบัน ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อโสดาปัตติผล พระสกทาคามี ท่านผู้ปฏิบัติ
เพื่อสกทาคามิผล พระอนาคามี ท่านผู้ปฏิบัติเพื่ออนาคามิผล พระอรหันต์
และท่านผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตผล. บทว่า อิธ ในที่นี้ คือ ในทิฏฐินี้ ใน
ความควรนี้ ในความชอบใจนี้ ในความถือนี้ ในวินัยนี้ ในธรรมนี้
ในธรรมวินัยนี้ ในปาพจน์นี้ ในพรหมจรรย์นี้ ในสัตถุศาสน์นี้ ใน
อัตภาพนี้ ในมนุษยโลกนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และพระเสขะทั้งหลาย
ในที่นี้มีมาก.
[93] อุเทศว่า "เตสํ เม นิปโก อิริยํ ปุฏฺโฐ ปพฺรูหิ มาริส"
ความว่า แม้พระองค์ มีปัญญา เป็นบัณฑิต มีความรู้ มีความตรัสรู้
มีฌาน มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำลายกิเลส อันข้าพระองค์ทูลถามแล้ว
คือ ไต่ถาม ทูลวิงวอน ทูลอาราธนา ทูลเชื้อเชิญ ให้ประสาทแล้ว

ขอจงตรัส คือ จงบอก แสดงบัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้
ตื้น ประกาศซึ่งความดำเนิน คือ ความประพฤติ ความเป็นไป ความ
ประพฤติโดยเอื้อเฟื้อ ธรรมอันเป็นโคจร ธรรมเป็นเครื่องอยู่ ข้อปฏิบัติ
ของพระอรหันตขีณาสพผู้มีสังขาตธรรมและพระเสขะเหล่านั้น. บทว่า
มาริส นี้ เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ เป็น
เครื่องกล่าวเป็นไปกับด้วยความเคารพและความยำเกรง เพราะฉะนั้น จึง
ชื่อว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอพระองค์
ผู้มีปัญญาจงตรัสบอกถึงความดำเนินของพระอรหันตขีณาสพ และพระ-
เสขะเหล่านั้นแก่ข้าพระองค์เถิด.
เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า
พระอรหันตขีณาสพเหล่าใดผู้มีสังขาตธรรม และ
พระเสขบุคคลเหล่าใดในที่นี้มีมาก ข้าแต่พระองค์ผู้นิร-
ทุกข์ ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอพระองค์ผู้มีปัญญา จง
ตรัสบอกความดำเนินของพระอรหันตขีณาสพ และพระ-
เสขบุคคลเหล่านั้นแก่ข้าพระองค์เถิด.


[94] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า)
ดูก่อนอชิตะ ภิกษุไม่พึงติดใจในกามทั้งหลาย มีใจ
ไม่ขุ่นมัว ฉลาดในธรรมทั้งปวง พึงมีสติเว้นรอบ.

[95] โดยอุทานว่า กามา ในอุเทศว่า "กาเมสุ นาภิคิชฺเฌยฺย"
ดังนี้ กามมี 2 อย่าง คือ วัตถุกาม 1 กิเลสกาม 1.

วัตถุถามเป็นไฉน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าพอใจ
เครื่องลาด เครื่องนุ่งห่ม ทาสี ทาส แพะ แกะ สุกร ช้าง โค ม้า
ลา นา ที่ดิน เงิน ทอง บ้าน นิคม ราชธานี แว่นแคว้น ชนบท
ฉางข้าว เรือนคลัง วัตถุอันชวนให้กำหนัดอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า
วัตถุกาม. อีกอย่างหนึ่ง กามส่วนอดีต กามส่วนอนาคต กามส่วนปัจจุบัน
กามภายใน กามภายนอก กามทั้งภายในภายนอก กามเลว กามปานกลาง
กามประณีต กามมีในอบาย กามมีในมนุษย์ กามอันเป็นทิพย์ กามที่
ปรากฏ กามที่นิรมิตเอง กามที่ผู้อื่นนิรมิต กามที่หวงแหน กามที่ไม่
หวงแหน กามที่ถือว่าของเรา กามที่ไม่ถือว่าของเรา กามาวจรธรรม
ทั้งปวง รูปาวจรธรรมทั้งปวง อรูปาวจรธรรมแม้ทั้งปวง ธรรมอันเป็น
วัตถุแห่งตัณหา ธรรมอันเป็นอารมณ์แห่งตัณหา ชื่อว่า กาม เพราะ
อรรถว่า เป็นที่ตั้งแห่งความใคร่ เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้งแห่งความ
กำหนัด เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา เหล่านี้เรียกว่า วัตถุ
กาม.
กิเลสกามเป็นไฉน ฉันทะ ราคะ ฉันทราคะ สังกัปปะ ราคะ
สังกัปปราคะ เป็นกาม ความพอใจในกาม ความกำหนัดในกาม ความ
เพลิดเพลินในกาม ตัณหาในกาม เสน่หาในกาม ความกระหายในกาม
ความเร่าร้อนในกาม ความติดใจในกาม ความหลงในกาม ความพัวพัน
ในกาม ในกามทั้งหลาย กามโอฆะ กามโยคะ กามุปาทาน กามฉันท-
นิวรณ์ ดูก่อนกาม เราได้เห็นรากเหง้าของเจ้าแล้ว.
ดูก่อนกาม เจ้าเกิดเพราะความดำริถึง เราจักไม่ดำริ
ถึงเจ้าละ ดูก่อนกาม เจ้าจักไม่มีด้วยอาการอย่างนี้.

เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม. ตัณหา ราคะ สาราคะ ฯ ล ฯ อภิชฌา
โลภะ อกุศลมูล เรียกว่า ความติดใจ.
คำว่า ไม่ติดใจในกามทั้งหลาย ความว่า ไม่ติดใจ คือ ไม่พัวพัน
เป็นผู้ไม่ติดใจ ไม่ถึงความติดใจ ไม่หลงใหล ไม่พัวพัน ปราศจาก
ความติดใจ สละความติดใจ คายความติดใจ ปล่อยความติดใจ ละความ
ติดใจ สลัดความติดใจ ปราศจากความกำหนัด สละความกำหนัด คาย
ความกำหนัด ปล่อยความกำหนัด ละความกำหนัด สลัดความกำหนัด
ในกิเลสกามทั้งหลาย ในวัตถุกามทั้งหลาย เป็นผู้ไม่หิว ดับสนิท เย็นแล้ว
เป็นผู้เสวยสุข มีตนอันประเสริฐอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ติดใจใน
กามทั้งหลาย.

[96] จิต มนะ มานัส หทัย ธรรมชาติขาวผ่อง อายตนะ
คือใจ อินทรีย์คือใจ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุ ชื่อว่า
ใจ ในอุเทศว่า "มนสานาวิโล สิยา" จิตเป็นธรรมชาติขุ่นมัว ยุ่งไป
เป็นไป สืบต่อ หวั่นไหว หมุนไป ไม่สงบ เพราะกายทุจริต วจีทุจริต
มโนทุจริต ราคะ โทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ
อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ
ปมาทะ จิตเป็นธรรมชาติขุ่นมัว ยุ่งไป เป็นไป สืบต่อไป หวั่นไหว
หมุนไป ไม่สงบ เพราะกิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวาย
ทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขาร
ทั้งปวง.
คำว่า พึงเป็นผู้มีใจไม่ขุ่นมัว ความว่า พึงเป็นผู้ไม่ขุ่นมัว คือไม่
ยุ่งไป ไม่เป็นไป ไม่สืบต่อไป ไม่หวั่นไหว ไม่หมุนไป สงบแล้วด้วยจิต

คือพึงละ สละ บรรเทา กระทำให้มีในที่สุด ให้ถึงความไม่มีซึ่งกิเลส
ทั้งหลาย อันทำความขุ่นมัว พึงเป็นผู้งด เว้น เว้นขาด ออกไป สลัด
สงบ ระงับ หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับกิเลสทั้งหลาย อันทำความขุ่นมัว
พึงเป็นผู้มีใจปราศจากเขตแดนอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงเป็นผู้มีใจ
ไม่ขุ่นมัวอยู่.

[97] คำว่า กุสโล สพฺพธมฺมานํ ความว่า เป็นผู้ฉลาดในธรรม
ทั้งปวงว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ... สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ... ธรรม
ทั้งปวงเป็นอนัตตา ... เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ฯ ล ฯ สิ่งใด
สิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็น
ธรรมดา พึงเป็นผู้ฉลาดในธรรมทั้งปวงแม้ด้วยอาการอย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง พึงเป็นผู้ฉลาดในธรรมทั้งปวง โดยเป็นสภาพที่ไม่
เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก
เป็นอาพาธ เป็นอย่างอื่น เป็นสภาพชำรุด เป็นเสนียด เป็นอุบาทว์
เป็นสภาพไม่สำราญ เป็นภัย เป็นอุปสรรค หวั่นไหว ผุพัง ไม่ยั่งยืน
ไม่มีอะไรต้านทาน ไม่มีที่เร้น ไม่มีสรณะ ไม่เป็นที่พึ่ง ว่าง เปล่า สูญ
เป็นอนัตตา มีโทษ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ไม่เป็นแก่นสาร
เป็นมูลแห่งทุกข์ เป็นผู้ฆ่า เป็นสภาพปราศจากความเจริญ มีอาสวะ
มีปัจจัยปรุงแต่ง เป็นเหยื่อแห่งมาร มีชาติเป็นธรรมดา มีชราเป็นธรรมดา
มีพยาธิเป็นธรรมดา มีมรณะเป็นธรรมดา มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาสเป็นธรรมดา มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา โดยความเกิด
โดยความดับ ไม่มีคุณ มีโทษ ไม่มีอุบายเป็นเครื่องออกไป พึงเป็น
ผู้ฉลาดในธรรมทั้งปวงแม้ด้วยอาการอย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง พึงเป็นผู้ฉลาดในขันธ์ ... ธาตุ ... อายตนะ ...
ปฎิจจสมุปบาท ... สติปีฏฐาน ... สัมมัปปธาน ... อิทธิบาท ... อินทรีย์ ...
พละ ... โพชฌงค์ ... มรรค ... ผล ... นิพพาน พึงเป็นผู้ฉลาดในธรรม
ทั้งปวงแม้ด้วยอาการอย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง อายตนะ 12 คือ จักษุ รูป หู เสียง จมูก กลิ่น
ลิ้น รส กาย โผฏฐัพพะ ใจ ธรรมารมณ์ เรียกว่า ธรรมทั้งปวง.
ก็ภิกษุเป็นผู้ละความกำหนัดในอายตนะภายในภายนอก คือ ตัดรากขาด
แล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งเหมือนตาลยอดด้วน ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความ
ไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา ด้วยเหตุใด ภิกษุพึงเป็นผู้ฉลาดในธรรมทั้งปวง
แม้ด้วยเหตุประมาณเท่านี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ฉลาดในธรรม
ทั้งปวง.

[98] บทว่า สโต ในอุเทศว่า "สโต ภิกขุ ปริพฺพเช" ความ
ว่า ภิกษุมีสติด้วยเหตุ 4 ประการ คือ มีสติเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ในกาย 1 มีสติเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานในเวทนาทั้งหลาย 1 มีสติ
เจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานในจิต 1 มีสติเจริญธัมมานุปัสสนาสติ-
ปัฏฐานในธรรมทั้งหลาย 1.
ภิกษุมีสติด้วยเหตุ 4 ประการแม้อื่นอีก คือ มีสติเพราะเว้นความ
เป็นผู้ไม่มีสติ 1 เพราะทำธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความทำสติ 1 เพราะละ
ธรรมเป็นข้าศึกแก่สติ 1 เพราะไม่หลงลืมธรรมอันเป็นนิมิตแห่งสติ 1.
ภิกษุมีสติด้วยเหตุ 4 ประการแม้อื่นอีก คือ มีสติเพราะความเป็น
ผู้ประกอบด้วยสติ 1 เพราะถึงความชำนาญด้วยสติ 1 เพราะความเป็นผู้
คล่องแคล่วด้วยสติ 1 เพราะไม่กลับปลงจากสติ 1.

ภิกษุมีสติด้วยเหตุ 4 ประการแม้อื่นอีก คือ มีสติเพราะความเป็น
ผู้มีสติเสมอ 1 เพราะความเป็นผู้สงบ 1 เพราะความเป็นผู้ระงับ 1
เพราะความเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของผู้สงบ 1.
มีสติเพราะพุทธานุสสติ เพราะธัมมานุสสติ เพราะสังฆานุสสติ
เพราะสีลานุสสติ เพราะจาคานุสสติ เพราะเทวตานุสสติ เพราะอานา-
ปานัสสติ เพราะมรณานุสสติ เพราะกายคตาสติ เพราะอุปสมานุสสติ
สติ ฯ ล ฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ เอกายนมรรค นี้เรียกว่า สติ ภิกษุ
เป็นผู้เข้าไป เข้าไปพร้อม เข้ามา เข้ามาพร้อม เข้าถึง เข้าถึงพร้อม
ประกอบด้วยสตินี้ ภิกษุนั้นเรียกว่า มีสติ.
คำว่า "ภิกขุ" คือ ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ทำลายธรรม 7 ประการ
คือ เป็นผู้ทำลายสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ราคะ โทสะ
โมหะ มานะ ภิกษุนั้นเป็นผู้ทำลายอกุศลธรรมอันลามก อันทำให้เศร้า-
หมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ เป็น
ที่ตั้งแห่งชาติ ชรา และมรณะต่อไป.
(พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อน1สภิยะ)
ภิกษุนั้นบรรลุถึงปรินิพพานแล้ว เพราะธรรมเป็น
หนทางที่ตนทำ (ดำเนิน) แล้ว ข้ามพ้นความสงสัยได้
แล้ว ละแล้วซึ่งความเสื่อมและความเจริญ อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว มีภพใหม่สิ้นแล้ว.

คำว่า ภิกษุพึงมีสติเว้นรอบ ความว่า ภิกษุพึงมีสติเว้นรอบ คือ
พึงมีสติเดิน พึงมีสติยืน พึงมีสตินั่ง พึงมีสตินอน พึงมีสติก้าวไปข้างหน้า
1. ขุ. สุ. 25/ข้อ 366.

พึงมีสติถอยกลับ พึงมีสติแลดู พึงมีสติเหลียวดู พึงมีสติคู้เข้า พึงมีสติ
เหยียดออก พึงมีสติทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร พึงมีสติเที่ยวไป พึง
มีสติอยู่ คือ เป็นไป เปลี่ยนแปลง รักษา บำรุง เยียวยา ให้เยียวยา
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุพึงมีสติเว้นรอบ.
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ภิกษุไม่พึงติดใจในกามทั้งหลาย มีใจไม่ขุ่นมัว
ฉลาดในธรรมทั้งปวง พึงมีสติเว้นรอบ.


[99] พร้อมด้วยเวลาจบพระคาถา ธรรมจักษุ (โสดาปัตติมรรค)
ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแล้วแก่เทวดาและมนุษย์หลายพัน
ผู้มีฉันทะร่วมกัน มีประโยคร่วมกัน มีความประสงค์ร่วมกัน มีความ
อบรมวาสนาร่วมกัน กับอชิตพราหมณ์นั้นว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น
เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา และจิตของ
อชิตพราหมณ์นั้น พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น หนังเสือ
ชฎา ผ้าคากรอง ไม้เท้า ลักจั่น น้ำ ผม และหนวดของอชิตพราหมณ์
หายไปแล้ว พร้อมด้วยการบรรลุอรหัต. อชิตพราหมณ์นั้น เป็นภิกษุ
ครองผ้ากาสายะเป็นบริขาร ทรงสังฆาฏิ บาตร และจีวร เพราะการปฏิบัติ
ตามประโยชน์ นั่งประนมอัญชลีนมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้า ประกาศว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้า
พระองค์เป็นสาวก ดังนี้.
จบอชิตมาณวกปัญหานิทเทสที่ 1

สัทธัมมปัชโชติกา


อรรถกถาขุททกนิกาย จูฬนิทเทส


อรรถกถาปารายนวรรค


อรรถกถาอชิตมาณวกปัญหานิทเทสที่ 1


พึงทราบวินิจฉัยในอชิตสุตตนิทเทส1ที่ 1 แห่งปารายนวรรค ดัง
ต่อไปนี้.
อชิตมาณพได้ทูลถามปัญหาว่า
โลกอันอะไรหุ้มห่อไว้ โลกไม่ปรากฏ เพราะเหตุ
อะไร อะไรเล่าเป็นเครื่องฉาบทาโลกนั้น ขอพระองค์จง
ตรัสบอก อะไรเล่าเป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น.

เราจะเว้นบทที่กล่าวแล้วในปัญหาที่ 1 ที่อชิตมาณพทูลถามใน
ปัญหาที่สูงขึ้นไป และในนิทเทสทั้งหลาย และบทที่ง่าย จักกล่าวเฉพาะ
ความต่างกันเท่านั้น.
ในบทเหล่านั้นบทว่า นิวุโต คือหุ้มห่อไว้. บทว่า กิสฺสาภิเลปนํ
พฺรูสิ
คืออะไรเล่าเป็นเครื่องฉาบทาโลก ขอพระองค์จงตรัสบอก. บทว่า
อาวุโต คือ ปกปิด. บทว่า โอผุโฏ ปิดบัง คือปิดเบื้องล่าง. บทว่า
ปิหิโต ปกคลุม คือคลุมส่วนบน. บทว่า ปฏิจฺฉนฺโน หุ้มห่อ คือไม่
1. ในปารายนวรรกนี้ อรรถกถาใช้คำว่า สุตตนิทเทส แทนปัญหานิทเทสทั้ง 16 ปัญหา เพราะ
อธิบายพระสูตรในสุตตนิบาต ขุ. สุ. 25/ข้อ 425 - 443.