เมนู

สัทธัมมปัชโชติกา


อรรถกถาขุททกนิกาย จูฬนิทเทส


อรรถกถาปารายนวรรค


อรรถกถาอชิตมาณวกปัญหานิทเทสที่ 1


พึงทราบวินิจฉัยในอชิตสุตตนิทเทส1ที่ 1 แห่งปารายนวรรค ดัง
ต่อไปนี้.
อชิตมาณพได้ทูลถามปัญหาว่า
โลกอันอะไรหุ้มห่อไว้ โลกไม่ปรากฏ เพราะเหตุ
อะไร อะไรเล่าเป็นเครื่องฉาบทาโลกนั้น ขอพระองค์จง
ตรัสบอก อะไรเล่าเป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น.

เราจะเว้นบทที่กล่าวแล้วในปัญหาที่ 1 ที่อชิตมาณพทูลถามใน
ปัญหาที่สูงขึ้นไป และในนิทเทสทั้งหลาย และบทที่ง่าย จักกล่าวเฉพาะ
ความต่างกันเท่านั้น.
ในบทเหล่านั้นบทว่า นิวุโต คือหุ้มห่อไว้. บทว่า กิสฺสาภิเลปนํ
พฺรูสิ
คืออะไรเล่าเป็นเครื่องฉาบทาโลก ขอพระองค์จงตรัสบอก. บทว่า
อาวุโต คือ ปกปิด. บทว่า โอผุโฏ ปิดบัง คือปิดเบื้องล่าง. บทว่า
ปิหิโต ปกคลุม คือคลุมส่วนบน. บทว่า ปฏิจฺฉนฺโน หุ้มห่อ คือไม่
1. ในปารายนวรรกนี้ อรรถกถาใช้คำว่า สุตตนิทเทส แทนปัญหานิทเทสทั้ง 16 ปัญหา เพราะ
อธิบายพระสูตรในสุตตนิบาต ขุ. สุ. 25/ข้อ 425 - 443.

เปิดออก. บทว่า ปฏิกุชฺชิโต ครอบไว้ คือครอบให้มีหน้าคว่ำลง.
บทว่า นปฺปกาสติ คือ ไม่ปรากฏ. บทว่า นปฺปภาสติ ไม่สว่าง คือ
ไม่ทำความสว่างด้วยญาณ. บทว่า น ตปติ ไม่รุ่งเรือง คือไม่ทำความ
รุ่งเรืองด้วยญาณ. บทว่า น วิโรจติ ไม่ไพโรจน์ คือไม่ทำความไพโรจน์
ด้วยญาณ. บทว่า น สญฺญายติ คือ ไม่แจ่ม. บทว่า น ปญฺญายติ
คือ ไม่กระจ่าง. บทว่า เกน ลิตฺโต คือ อะไรเล่าเป็นเครื่องฉาบทา.
เพิ่มอุปสัคเป็น ปลิตฺโต อุปลิตฺโต คือ ฉาบทาทั่ว เข้าไปฉาบทา. พึง
เห็นความอย่างนี้ว่า ขอพระองค์จงตรัสบอกด้วยอุเทศ(ยกหัวข้อขึ้นแสดง)
จงทรงแสดงด้วยนิเทศ (การจำแนกแสดง) ทรงบัญญัติด้วยปฏินิเทศ
(การรวมแสดง) เมื่อรู้อรรถโดยประการนั้น ๆ จงทรงแต่งตั้ง เมื่อ
แสดงเหตุแห่งมรรคนั้น ๆ จงทรงเปิดเผย เมื่อแสดงความเป็นพยัญชนะ
จงทรงจำแนก เมื่อนำออกเสียได้ซึ่งความครอบไว้และความลึกซึ้งแล้ว
ให้เกิดที่ดังของญาณทางหู จงทรงทำให้ตื้น เมื่อกำจัดความมืดคือความ
ไม่รู้ทางหูด้วยอาการเหล่านั้นแม้ทั้งหมด จงทรงประกาศดังนี้.
บทว่า เววิจฺฉา นปฺปกาสติ โลกไม่ปรากฏเพราะความตระหนี่
คือไม่ปรากฏเพราะความตระหนี่เป็นเหตุ และเพราะความประมาทเป็น
เหตุ. จริงอยู่ ความตระหนี่ ย่อมไม่ให้เพื่อประกาศคุณทั้งหลายมีทาน
เป็นต้นแก่เขา และความประมาทมัวเมาย่อมไม่ให้เพื่อประกาศคุณทั้งหลาย
มีศีลเป็นต้น. บทว่า ชปฺปาภิเลปนํ ตัณหาเป็นเครื่องฉาบทาโลกนั้นไว้
ดุจตังดักลิง เป็นเครื่องฉาบทาของลิงฉะนั้น. บทว่า ทุกฺขํ ได้แก่ ทุกข์
มีชาติเป็นต้น. บทว่า เยสํ ธมฺมานํ ได้แก่ ธรรมมีรูปเป็นต้นเหล่าใด.
บทว่า อาทิโต สมุทาคมนํ ปญฺญายติ คือ ความเกิดขึ้นย่อมปรากฏ

ตั้งแต่ขณะแรก (อุปาทขณะ ). บทว่า อตฺถงฺคมโต นิโรโธ คือ เมื่อ
แตกดับ ความดับย่อมปรากฏ. บทว่า กมฺมนิสฺสิโต วิปาโก วิบาก
อาศัยกรรม คือกุศลวิบากและอกุศลวิบาก ท่านเรียกว่า วิบากอาศัยกรรม
เพราะไม่ละกรรมเป็นไป. บทว่า วิปากนิสฺสิตํ กมฺมํ กรรมอาศัยวิบาก
คือกุศลกรรมและอกุศลกรรม ท่านเรียกว่า กรรมอาศัยวิบาก เพราะ
กระทำโอกาสแก่วิบากตั้งอยู่. บทว่า นามนิสฺสิตํ รูปํ รูปอาศัยนาม
คือรูปในปัญจโวการภพ (ภพที่มีขันธ์ 5 ) ท่านเรียกว่า รูปอาศัยนาม
เพราะไม่ละนามเป็นไป. บทว่า รูปนิสฺสิตํ นามํ นามอาศัยรูป คือ
นามในปัญจโวการภพ ท่านเรียกว่า นามอาศัยรูป เพราะไม่ละรูปเป็นไป.
บทว่า สวนฺติ สพฺพธิ โสตา กระแสทั้งหลายย่อมไหลไปใน
อายตนะทั้งปวง คือกระแสทั้งหลายมีตัณหาเป็นต้น ย่อมไหลไปในอายตนะ
มีรูปเป็นต้นทั้งปวง. บทว่า โสตานํ กึ นิวารณํ คือ อะไรเป็นเครื่อง
กั้น อะไรเป็นเครื่องรักษากระแสเหล่านั้น. บทว่า สํวรํ พฺรูหิ ขอ
พระองค์จงตรัสบอกธรรมเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลายเหล่านั้น. อชิต-
มาณพทูลถามถึงการละธรรมที่เป็นเครื่องกั้นกระแสที่เหลือด้วยบทนี้. บท
ว่า เกน โสตา ปิถิยฺยเร กระแสทั้งหลายอันอะไรปิดกั้นไว้ คือกระแส
เหล่านั้นอันธรรมอะไรปิดกั้นไว้ คือตัดขาด. ด้วยบทนี้ อชิตมาณพทูล
ถามถึงการละกระแสที่ไม่เหลือ. บทว่า สวนฺติ ย่อมไหลไป คือย่อม
เกิดขึ้น. บทว่า อาสวนฺติ ย่อมไหลหลั่ง คือไหลลงเบื้องต่ำ. บทว่า
สนฺทนฺติ ย่อมเลื่อนไป คือไหลไปไม่มีสิ้นสุด. บทว่า ปวตฺตนฺติ ย่อม
เป็นไป คือเป็นไปบ่อย ๆ.
บทว่า สติ เตสํ นิวารณํ สติเป็นเครื่องกั้นกระแสเหล่านั้น คือ

สติอาศัยเสมอ ๆ ซึ่งคติแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรมทั้งหลายอันประกอบ
ด้วยวิปัสสนา เป็นเครื่องกั้นกระแสเหล่านั้น. บทว่า โสตานํ สํวรํ พฺรูมิ
เรากล่าวธรรมเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย อธิบายว่า เรากล่าวสตินั่นแล
ว่าเป็นธรรมเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย. บทว่า ปญฺญาเยเต ปิถิยฺยเร
กระแสเหล่านั้นอันปัญญาย่อมปิดกั้นไว้ คือกระแสเหล่านี้อันมรรคปัญญา
ที่สำเร็จด้วยการแทงตลอดความเป็นของไม่เที่ยงในรูปเป็นต้น ปิดกั้นไว้
โดยประการทั้งปวง. บทว่า ปจฺฉิชฺชนฺติ คือ ตัดขาด. บทว่า สมุทยญฺจ
ความเกิด คือปัจจัย. บทว่า อตฺถงฺคมญฺจ ความดับ คือเมื่อเกิดขึ้นแล้ว
ก็ถึงความไม่มี หรือเมื่อยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิด. บทว่า อสฺสาทํ ความ
พอใจ คืออานิสงส์. บทว่า อาทีนญฺจ คือโทษ. บทว่า นิสฺสรณญฺจ
คือ อุบายเป็นเครื่องออกไป.
พึงทราบความแห่งคาถาที่เป็นปัญหาว่า ปญฺญาเจว ดังนี้เป็นต้น
ต่อไป. พึงทราบความสังเขปอย่างนี้ว่า ปัญญา สติ และนามรูป ตามที่
พระองค์ตรัสไว้แล้วทั้งหมดนั้น ย่อมดับไป ณ ที่ไหน. ขอพระองค์จงตรัส
บอกปัญหาที่ข้าพระองค์ทูลถามเถิด. บทว่า กตฺเถตํ นิรุชฺฌติ คือ นาม-
รูปนั้นดับ ณ ที่ไหน. บทว่า วูปสมติ คือ ย่อมดับ. บทว่า อตฺถงฺคจฺฉติ
ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ คือถึงความไม่มี. บทว่า ปฏิปสฺสมฺภติ ย่อม
ระงับ คือย่อมสงบ.
อนึ่ง พึงทราบคาถาวิสัชนาปัญหาของอชิตมาณพนั้นต่อไป. เพราะ
ปัญญาและสติสงเคราะห์เข้าเป็นนามเท่านั้น ฉะนั้น จะไม่กล่าวถึงปัญญา
และสติไว้ต่างหาก. ความย่อในบทวิสัชนานี้มีดังนี้. ดูก่อนอชิตะ ท่าน
ได้ถามปัญหาข้อใดกะเราว่า นามรูปนั้นย่อมดับ ณ ที่ไหน เพราะเหตุนั้น

เราจะบอกปัญหานั้นกะท่านว่า นามและรูปใดดับไม่มีส่วนเหลือ ณ ที่ใด
นามและรูปนั้น ก็ดับ ณ ที่นั้นพร้อมกับความดับแห่งวิญญาณนั้น ๆ นั่นเอง
ไม่ก่อนไม่หลัง คือย่อมดับในเพราะวิญญาณดับนี้เอง เพราะวิญญาณดับ
ในภายหลังอย่างนี้ นามและรูปนั้นจึงเป็นอันดับไปด้วย. ท่านอธิบายว่า
นามและรูปนั้นไม่เลยไป. บทว่า โสตาปตฺติมคฺคญาเณน อภิสงฺขาร-
วิญฺญาณสฺส นิโรเธน
เพราะความดับแห่งวิญญาณอันสัมปยุตด้วยอภิ-
สังขารด้วยโสดาปัตติมรรคญาณ คือเพราะความดับจิตที่สัมปยุตด้วยกุศล
และอกุศลเจตนา ด้วยอำนาจการเกิดขึ้นอันไม่สมควรเสียได้ ด้วยปัญญา
อันสัมปยุตด้วยโสดาปัตติมรรค.
ในบทนั้น นิโรธ มี 2 อย่าง คือ อนุปาทินนกนิโรธ 1 อุปา-
ทินนกนิโรธ 1

จิต 5 ดวง คือจิตที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ 4 ดวง จิตที่สหรคตด้วย
วิจิกิจฉา 1 ดวง ย่อมดับไปด้วย โสดาปัตติมรรค. จิตเหล่านั้นให้รูป
เกิดขึ้น. รูปนั้นเป็นรูปขันธ์ที่ไม่มีใจครอง. จิตเหล่านั้นเป็นวิญญาณขันธ์.
เวทนา สัญญา สังขาร ที่สัมปยุตกับวิญญาณขันธ์นั้นเป็นอรูปขันธ์ 3. ใน
อรูปขันธ์นั้น หากพระโสดาบันไม่ได้อบรมโสดาปัตติมรรคแล้วไซร้ จิต
5 ดวงเหล่านั้นพึงถึงความแผ่ซ่านไปในอารมณ์ 6. แต่โสดาปัตติมรรค
ห้ามความเกิดแห่งความแผ่ซ่านไปของจิตเหล่านั้น กระทำการเพิกถอนซึ่ง
ความเกิดอันไม่สมควรเสีย ด้วยอริยมรรค ชื่อว่า อนุปาทินนกนิโรธ
ดับอนุปาทินนกะ.

จิต 6 ดวง ด้วยอำนาจแห่งกามราคะและพยาบาทอันหยาบ คือจิต

4 ดวงที่ไม่ประกอบด้วยทิฏฐิ จิต 2 ดวงที่สหรคตด้วยโทมนัส ย่อมดับ
ด้วยสกทาคามิมรรค.
จิต 6 ดวงเหล่านั้น ด้วยอำนาจแห่งกามราคะและพยาบาทที่สหร-
คตด้วยส่วนที่ละเอียด ( อณุสหคต) ย่อมดับด้วย อนาคามิมรรค.
อกุศลจิต 5 ดวง คือจิต 4 ดวงที่ไม่ประกอบด้วยทิฏฐิ และจิต
1 ดวงที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ ย่อมดับด้วย อรหัตมรรค.
ในจิตเหล่านั้น หากว่าพระอริยะเหล่านั้นไม่อบรมมรรคเหล่านั้น
แล้วไซร้ จิตเหล่านั้นพึงถึงความแผ่ซ่านไปในอารมณ์ 6. อนึ่ง มรรค
ของพระอริยะเหล่านั้น ห้ามความเกิดแห่งความแผ่ซ่านไป กระทำการ
ถอนเสียซึ่งความที่จิตเหล่านั้นไม่ควรจะเกิดขึ้นด้วยอริยมรรค ชื่อว่า
อนุปาทนนกนิโรธ ดับอนุปาทินนกะ. พึงทราบความดับอนุปาทินนกะ
อย่างนี้.
ก็หากว่าพระโสดาบันไม่ได้เป็นผู้อบรมโสดาปัตติมรรค ความเป็น
ไปแห่งอุปาทินนกขันธ์พึงเป็นไปได้ในสังสารวัฏ มีเบื้องต้นเบื้องปลาย
อันบุคคลตามไปอยู่รู้ไม่ได้ เว้นภพ 7 เพราะเหตุไร. เพราะมีเหตุแห่ง
ความเป็นไปของโสดาปัตติมรรคนั้น. ก็มรรคนั้นเมื่อเกิดขึ้นย่อมถอนกิเลส
5 อย่างเหล่านี้ได้ คือสังโยชน์ 3 ทิฏฐานุสัย 1 วิจิกิจฉานุสัย 1. ความ
เป็นไปแห่งอุปาทินนกะของพระโสดาบัน จักเป็นไปในสังสารวัฏมีเบื้องต้น
เบื้องปลาย อันบุคคลตามไปอยู่รู้ไม่ได้ เว้นภพ 7 ได้แต่ไหนในบัดนี้.
โสดาปัตติมรรคเมื่อกระทำอุปาทินนกะให้เป็นไปไม่ได้อย่างนี้ ชื่อว่า อุปา-
ทินนกนิโรธ ดับอุปาทินนกะ.

หากว่า พระสกทาคามีไม่ได้เป็นผู้อบรมสกทาคามิมรรค ความเป็น

ไปแห่งอุปาทินนกะพึงเป็นไปได้ในภพ 5 เว้นภพ 2. เพราะเหตุไร.
เพราะมีเหตุแห่งความเป็นไปของสกทาคามิมรรคนั้น. มรรคนั้นเมื่อเกิด
ย่อมถอนกิเลส 4 เหล่านี้ได้ คือกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์อย่าง
หยาบ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัยอย่างหยาบ. ความเป็นไปแห่งอุป-
ทินนกะของพระสกทาคามีจักเป็นไปในภพ 5 เว้นภพ 2 ได้แต่ไหนใน
บัดนี้. สกทาคามิมรรคเมื่อกระทำอุปาทินนกะให้เป็นไปไม่ได้อย่างนี้ ชื่อว่า
อุปาทินนกนิโรธ ดับอุปาทินนกะ.
หากว่า พระอนาคามีไม่ได้เป็นผู้อบรมอนาคามิมรรค ความเป็นไป
แห่งอุปาทินนกะพึงเป็นไปในภพที่ 2 เว้นภพที่ 1. เพราะเหตุไร. เพราะ
มีเหตุแห่งความเป็นไปของอนาคามิมรรคนั้น. ก็มรรคนั้นเมื่อเกิดขึ้นย่อม
ถอนกิเลส 4 อย่างเหล่านี้ได้ คือกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์อันสหร-
คตด้วยส่วนละเอียด กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัยอันสหรคตด้วยส่วนละเอียด
ความเป็นไปแห่งอุปาทินนกะของพระอนาคามี จักเป็นไปในภพที่ 2 เว้น
ภพที่ 1 ได้แต่ไหนในบัดนี้ อนาคามิมรรคเมื่อกระทำให้อุปาทินนกะเป็น
ไปไม่ได้อย่างนี้ ชื่อว่า อุปาทินนกนิโรธ ดับอุปาทินนกะ.
หากว่า พระอรหันต์ไม่ได้อบรมอรหัตมรรค ความเป็นไปแห่ง
อุปาทินนกะพึงเป็นไปในรูปภพและอรูปภพได้. เพราะเหตุไร. เพราะมี
เหตุแห่งความเป็นไปของอรหัตมรรคนั้น. อนึ่ง มรรคนั้นเมื่อเกิดย่อม
ถอนกิเลส 8 อย่างเหล่านี้ได้ คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ
อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย. ความเป็นไปแห่งอุปา-
ทินนกะของพระขีณาสพ จักเป็นไปในภพใหม่ได้แต่ไหนในบัดนี้. อรหัต-

มรรคเมื่อกระทำอุปาทินนกะไม่ให้เป็นไปได้อย่างนี้ ชื่อว่า อุปาทินนก-
นิโรธ ดับอุปาทินนกะ.

อนึ่ง อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า โสดาปัตติมรรคย่อมดับอบายภพ.
สกทาคามิมรรคย่อมดับได้ส่วนหนึ่งของสุคติกามภพ. อนาคามิมรรคย่อม
ดับกามภพได้. อรหัตมรรคย่อมดับรูปภพอรูปภพ แม้ในภพทั้งปวงได้.
พึงทราบอุปาทินนกนิโรธ การดับอุปาทินนกะด้วยประการฉะนี้. พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงแสดงการดับอนุปาทินนกะด้วยบทนี้ว่า อภสงฺขารวิญฺญา-
ณสฺส นิโรเธน
ด้วยการดับวิญญาณอันสัมปยุตด้วยอภิสังขาร. ทรง
แสดงการดับอุปาทินนกะด้วยบทนี้ว่า เย อุปฺปชฺเชยฺยุํ นามญฺจ รูปญฺจ
เอตฺเถเต นิรุชฺฌนฺติ
ธรรมเหล่าใด คือนามและรูปพึงเกิดขึ้น ณ ที่ใด
ธรรมเหล่านั้น ย่อมดับไป ณ ที่นั้น.
ในบทเหล่านั้นบทว่า สตฺต ภเว ฐเปตฺวา เว้นภพ 7 คือเว้น
ภพ 7 ของสัตว์ผู้ท่องเที่ยวไปสู่กามภพจากกามภพ. บทว่า อนมตคฺเค
สํสาเร
ในสังสารมีเบื้องต้นเบื้องปลาย อันบุคคลไปตามอยู่รู้ไม่ได้ คือ
ธรรมทั้งหลายพึงเกิดขึ้นในสังสารวัฏที่พรรณนาไว้ว่า
ลำดับขันธ์ ธาตุ อายตนะ ทั้งหลาย อันเป็นไปไม่
ขาดสาย ท่านเรียกว่า สงสาร.

บทว่า นามญฺจ รูปญฺจ ได้แก่ ธรรมเหล่านี้ คือนาม อันได้แก่
ขันธ์ 4 มีการน้อมไปเป็นลักษณะ และรูปอันได้แก่ภูตรูปและอุปาทายรูป
มีการสลายไปเป็นลักษณะ พึงเกิดขึ้น. บทว่า เอตฺเถเต นิรุชฺฌนฺติ
ธรรมเหล่านั้นย่อมดับไป ณ ที่นั้น คือธรรมอันได้แก่นามและรูปเหล่านี้
ย่อมถึงการดับไป ด้วยอำนาจการเกิดอันไม่สมควรในโสดาปัตติมรรคนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในบทนี้ว่า สกทาคามิมคฺคญาเณน ด้วยสกทาคา-
มิมรรคญาณเป็นต้น ชื่อว่าสกทาคามี เพราะมาสู่โลกนี้คราวเดียวเท่านั้น
ด้วยอำนาจปฏิสนธิ. มรรคแห่งสกทาคามีนั้น ชื่อว่าสกทาคามิมรรค. ด้วย
ญาณอันประกอบด้วยมรรคนั้น. บทว่า เทฺว ภเว ฐเปตฺวา เว้นภพ 2
คือเว้นภพ 2 อันเป็นกามธาตุ ด้วยอำนาจการปฏิสนธิ. บทว่า ปญฺจสุ
ภเวสุ
คือ (เกิด) ในภพ 5 อัน เหลือจากภพ 2 นั้น. บทว่า เอตฺเถเต
นิรุชฺฌนฺติ
คือ ธรรมเหล่านี้ย่อมดับไป โดยนัยที่กล่าวแล้วด้วยสกทาคามิ-
มรรค ณ ที่นี้. บทว่า เอกํ ภวํ ฐเปตฺวา เว้นภพ 1 คือเว้นภพ 1
ด้วยรูปธาตุหรืออรูปธาตุ ด้วยอำนาจแห่งความอุกฤษฏ์. บทว่า รูป-
ธาตุยา วา อรูปธาตุยา วา
ได้แก่ รูปธาตุและอรูปธาตุในภพที่ 2.
ในบทว่า นามญฺจ รูปญฺจ นี้ ในรูปภพได้แก่ นามและรูป ในอรูปภพ
ได้แก่ นามเท่านั้น. บทว่า เอตฺเถเต นิรุชฺฌนฺติ ได้แก่ ธรรมอัน
เป็นนามและรูปเหล่านี้ ย่อมดับไปโดยนัยดังกล่าวแล้ว ด้วยอรหัตมรรค
ณ ที่นี้. บทว่า อรหโต ได้แก่ พระขีณาสพ ได้ชื่อว่าพระอรหันต์เพราะ
เป็นผู้ไกลจากกิเลสทั้งหลาย. บทว่า อนุปาทิเสสาย นิพฺพานธาตุยา
ด้วยนิพพานธาตุอันเป็นอนุปาทิเสส คือนิพพานธาตุมี 2 อย่าง เป็น
อุปาทิเสสนิพพานและอนุปาทิเสสนิพพาน.
ในบทนั้นชื่อว่า อุปาทิ เพราะยึดมั่น คือยึดถือมั่นว่า เรา ของเรา.
บทนี้เป็นชื่อของขันธ์ 5. อุปาทิอันเหลือชื่อว่า อุปาทิเสสะ. ชื่อว่า สอุ-
ปาทิเสสะ
เพราะเป็นไปกับด้วยเบญจขันธ์ที่เหลืออยู่. ชื่อว่า อนุปาทิ-
เสสะ
เพราะไม่มีเบญจขันธ์เหลืออยู่. อนุปาทิเสสะนี้. ด้วยนิพพานธาตุ
อันเป็นอนุปาทิเสสะนั้น. บทว่า นิพฺพายนฺตสฺส ได้แก่ ดับ คือเป็นไป

ไม่ได้ เหมือนไฟหมดเชื้อฉะนั้น. บทว่า จริมวิญฺญาณสฺส นิโรเธน
เพราะดับวิญญาณดวงสุดท้าย คือเพราะดับลมหายใจเข้าออกในเบญจขันธ์
นี้.
จริมะ (สุดท้าย) มี 3 คือ ภวจริมะ, ฌานจริมะ, จุติจริมะ.
ในบรรดาภพทั้งหลาย ลมหายใจเข้าออกย่อมเป็นไปในกามภพ ไม่เป็น
ไปในรูปภพและอรูปภพ ฉะนั้น ลมอัสสาสปัสสาสะ นั้น จึงชื่อว่า
ภวจริมะ. ในฌานทั้งหลาย ลมหายใจเข้าออกย่อมเป็นไปใน 3 ฌานต้น
ไม่เป็นไปในฌานที่ 4 เพราะฉะนั้น ลมอัสสาสปัสสาสะจึงชื่อว่า ฌาน-
ภวจริมะ.
อนึ่ง ธรรมเหล่าใดเกิดพร้อมกับจิตที่ 16 ก่อนหน้าจุติจิต ธรรม
เหล่านั้นย่อมดับไปพร้อมกับจุติจิต นี้ชื่อว่า จุติจริมะ. จุติจริมะนี้ประสงค์
เอาว่า จริมะ ในที่นี้. พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอริยสาวก
ทั้งหลาย โดยที่สุดแม้แต่มดดำมดแดงทั้งหมด ย่อมกระทำกาละด้วย
ภวังคจิตนั่นแหละ อันเป็นอัพยากฤต เป็นทุกขสัจเหมือนกันหมด.
เพราะฉะนั้น คำว่า จริมวิญฺญาณสฺส นิโรเธน เพราะดับวิญญาณดวง
สุดท้าย จึงหมายถึงเพราะดับจุติจิต.
พึงกำหนดเอาอรูปขันธ์ 4 ด้วยบทเหล่านี้ คือ ปญฺญา จ สติ
จ นามญฺจ ปัญญา สติ และนาม.
พึงกำหนดเอามหาภูตรูป 4 และ
อุปาทายรูป 24 ด้วยบทนี้ว่า รูปญฺจ ดังนี้.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงถึงอุบายการดับนามรูป
นั้น จึงตรัสว่า เพราะวิญญาณดับ นามและรูปนี้จึงดับ ณ ที่นี้.
บทเหล่านั้น บทว่า วิญฺญาณํ ได้แก่ จริมวิญญาณบ้าง อภิสังขาร-
วิญญาณบ้าง. เพราะละและดับอภิสังขารวิญญาณ นามและรูปนี้จึงดับ

ณ ที่นี้ ย่อมถึงความไม่มีบัญญัติดุจเปลวประทีปฉะนั้น. เพราะความที่จริม-
วิญญาณเป็นปัจจัยแห่งความไม่เกิด นามและรูปจึงดับไปด้วยอำนาจความ
ไม่เกิดขึ้น ด้วยความดับ คือความไม่เกิด (แห่งจริมวิญญาณ).
ก็ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศทุกขสัจ
ด้วยบทนี้ว่า ทุกฺขมสฺส มหพฺภยํ ทุกข์เป็นภัยใหญ่หลวงของโลก
ทรงประกาศสมุทยสัจด้วยบทนี้ว่า ยานิ โสตานิ กระแสเหล่าใด ทรง
ประกาศมรรคสัจด้วยบทนี้ว่า ปญฺญาเยเต ปิถิยฺยเร กระแสเหล่านี้อัน
ปัญญาปิดกั้นไว้. ทรงประกาศนิโรธสัจด้วยบทนี้ว่า อเสสํ อุปรุชฺฌติ
ดับไม่มีเหลือ อชิตมาณพแม้ฟังสัจจะ 4 ประการอย่างนี้ด้วยประการฉะนี้
แล้ว ก็ยังไม่บรรลุอริยภูมิ เมื่อจะทูลถามถึงปฏิปทาของพระเสกขะและ
พระอเสกขะอีก จึงทูลว่า เย จ สงฺขาตธมฺมาเส พระอรหันตขีณาสพ
เหล่าใดผู้มีสังขาตธรรม.
ในบทเหล่านั้น บทว่า สงฺขาตธมฺมา ได้แก่ ธรรมที่พิจารณาแล้ว
โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น. บทนี้เป็นชื่อของพระอรหันต์ทั้งหลาย.
บทว่า เสกฺขา คือ ผู้ยังต้องศึกษาศีลเป็นต้น ได้แก่ อริยบุคคล
ที่เหลือ. บทว่า ปุถู มาก ได้แก่ ชนเป็นอันมาก. บทว่า เตสํ เม
นิปโก อริยํ ปุฏฺโฐ ปพฺรูหิ
คือ ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอพระองค์
ผู้เป็นบัณฑิตมีปัญญา ได้โปรดบอกถึงข้อปฏิบัติของพระเสกขะและอเสกขะ
เหล่านั้น แก่ข้าพระองค์เถิด. บทว่า เตสํ ขนฺธา สงฺขาตา ขันธ์ของ
พระขีณาสพเหล่านั้นมีธรรมอันนับได้แล้ว คือขันธ์ 5 ของพระขีณาสพ
เหล่านั้นสิ้นไปแล้ว กระทำให้ไม่มีปฏิสนธิ หรือสิ้นสุดไปแล้ว. แม้ใน
ธาตุทั้งหลายเป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อิริยํ คือ การประกอบ.

บทว่า จริยํ คือ การกระทำ. บทว่า วุตฺตึ คือ การเข้าถึง. บทว่า
อาจารํ คือ ความประพฤติ. บทว่า โคจรํ คือ ปัจจัย. บทว่า วิหารํ
คือ การเป็นไปแห่งอิริยาบถ. บทว่า ปฏิปทํ คือ การปฏิบัติ.1
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะกิเลสทั้งหลายตั้งแต่กามฉันท-
นิวรณ์เป็นต้น อันพระเสกขะพึงละ ฉะนั้น จึงแสดงถึงเสกขปฏิปทาแก่
อชิตมาณพนั้นด้วยคาถากึ่งหนึ่งมีอาทิว่า กาเมสุ ในกามทั้งหลาย ดังนี้.
บทนั้นมีความดังนี้ ภิกษุไม่พึงติดใจในวัตถุกามทั้งหลายด้วยกิเลส-
กาม ละธรรมอันทำใจให้ขุ่นมัวมีกายทุจริตเป็นต้น พึงมีใจไม่ขุ่นมัว.
อนึ่ง เพราะพระอเสขะชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในธรรมทั้งปวง เพราะ
เป็นผู้พิจารณาโดยรอบคอบถึงสังขารทั้งปวงเป็นต้น โดยความเป็นของ
ไม่เที่ยง เป็นผู้มีสติด้วยเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานเป็นต้น เป็นผู้ถึง
ความเป็นภิกษุ เพราะทำลายสักกายทิฏฐิเป็นต้น ย่อมเว้นรอบในอิริยาบถ
ทั้งปวง. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงปฏิปทาของพระ-
อเสกขะด้วยคาถากึ่งหนึ่งว่า กุสโล เป็นผู้ฉลาด ดังนี้เป็นต้น. บทว่า
นาภิคิชฺเฌยฺย ไม่ติดใจ คือไม่ถึงความกำหนัด. บทว่า น ปลิคิชฺเฌยฺย
ไม่พัวพัน คือไม่ถึงความโลภ. บทว่า น ปลิพุชฺเฌยฺย ไม่หมกมุ่น
คือไม่ติดแน่นด้วยอำนาจความโลภ. บทว่า อาวิลกเร กิเลเส ปชเหยฺย
คือ พึงละกิเลสทั้งหลายอันทำให้ขุ่นมัว ได้แก่ พึงละกิเลสอันได้แก่ความ
เดือนร้อนอันทำให้จิตขุ่นมัว. บทว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา คือ ท่าน
กล่าวถึงการทํานิพพานไว้ในภายใน. บทว่า ยํ กิญฺจิ สมุทยธมฺมํ
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา คือสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีปัจจัยเป็นสภาพ.
1. ม. เป็นวิปัสสนา.

บทว่า สห คาถาปริโยสานา คือ พร้อมด้วยเวลาจบคาถา. บท
ว่า เยเต พฺราหฺมเณน สทฺธึ เอกจฺฉนฺทา เทวดาและมนุษย์ต่างมี
ฉันทะร่วมกันกับพราหมณ์ คือมีกัลยาณฉันทะ มีอัธยาศัยร่วมกันกับอชิต-
มาณพ. บทว่า เอกปฺปโยคา มีประโยคร่วมกัน คือมีกายประโยค วจี-
ประโยค และมโนประโยคร่วมกัน. บทว่า เอกาธิปฺปายา คือ มีความ
ประสงค์ มีความพอใจร่วมกัน. อธิบายว่า มีความชอบใจเป็นอันหนึ่ง
อันเดียวกัน. บทว่า เอกวาสนวาสิตา มีการอบรมวาสนาร่วมกัน คือมี
การอบรมร่วมกันมาในคำสอนของพระพุทธเจ้าในอดีต. บทว่า อเนเกสํ
ปาณสหสฺสานํ
คือ แก่เทวดาและมนุษย์หลายพัน. บทว่า วิรชํ วีตมลํ
ปราศจากธุลีมลทิน คือปราศจากธุลีมีราคะเป็นต้น และปราศจากมลทิน
มีราคะเป็นต้น. โสดาปัตติมรรคท่านประสงค์เอาในบทว่า ธมฺมจกฺขุํ นี้
ในที่อื่นประสงค์เอามรรคเบื้องต่ำ 3 ท่านกล่าวว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความ
เกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับเป็นธรรมดา เพื่อแสดงเหตุ
แห่งการเกิดมรรคนั้น. เพราะโสดาปัตติมรรคนั้น ทํานิโรธสัจให้เป็น
อารมณ์ แล้วแทงตลอดสังขตธรรมทั้งปวงอย่างนี้ ด้วยอำนาจแห่งกิจ
ย่อมเกิดขึ้น. บทว่า ตสฺส จ พฺราหฺมณสฺส อนุปาทาย อาสเวหิ
จิตฺตํ วิมุจฺจิ.
จิตของพราหมณ์พ้นแล้วจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น คือ
จิตของอชิตพราหมณ์นั้น และอันเตวาสิกหนึ่งพัน เมื่อพ้นจากกามาสวะ
เป็นต้นในขณะมรรค พ้นแล้วในขณะผล เพราะไม่ถือมั่นด้วยตัณหาเป็นต้น.
บทว่า สห อรหตฺตปฺปตฺตา พร้อมด้วยการบรรลุพระอรหัต คือหนังเสือ
ชฎา ผ้าคากรอง ไม้เท้า ลักจั่น เป็นต้น ของท่านอชิตะพร้อมด้วย
อันเตวาสิกหายไปแล้ว พร้อมด้วยการบรรลุอรหัตนั่นเอง. ทั้งหมดทรง

บาตรจีวรอันสำเร็จด้วยฤทธิ์ มีผม 2 องคุลี เป็นเอหิภิกขุ นั่งถวาย
นมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้า. แต่ในบาลีปรากฏเฉพาะ พระอชิตเถระ
เท่านั้น.
ในบทเหล่านั้นบทว่า อนฺวตฺถปฏิปตฺติยา เพราะการปฏิบัติตาม
ประโยชน์ คือเพราะได้การปฏิบัติอันเป็นสัจจาภิเษก (อภิเษกด้วยสัจจะ).
อธิบายว่า เพราะได้พระนิพพาน. บทที่เหลือในบททั้งปวงชัดดีแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบเทศนาลงด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัต ด้วย
ประการฉะนี้.
จบอรรถกถาอชิตมาณวกปัญหานิทเทสที่ 1

ติสสเมตเตยยมาณวกปัญหานิทเทส


ว่าด้วยปัญหาของท่านติสสเมตเตยยะ


[100] (ท่านติสสเมตเตยยะทูลถามว่า)
ใครยินดีแล้วในโลกนี้ ความหวั่นไหวของใครย่อม
ไม่มี ใครรู้สิ้นสุดทั้งสองแล้ว ย่อมไม่ติดในท่ามกลาง
ด้วยปัญญา พระองค์ตรัสเรียกใครว่าเป็นมหาบุรุษ ใคร
ล่วงแล้วซึ่งตัณหาอันเป็นเครื่องเย็บไว้ในโลกนี้.

[101] คำว่า ใครยินดีแล้วในโลกนี้ ความว่า ใครพอใจ คือ
ชอบใจ มีความดำริบริบูรณ์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ใครยินดีแล้วใน
โลกนี้. บทว่า อิติ ในอุเทศว่า "อิจฺจายสฺมา ติสฺสเมตเตยฺโย"
ดังนี้ เป็นบทสนธิ คือเป็นบทเกี่ยวเนื่อง เป็นบทยังเนื้อความให้บริบูรณ์
เป็นความประชุมแห่งอักขระ เป็นความสละสลวยแห่งพยัญชนะ. บทว่า
อิติ นี้ เป็นไปตามลำดับบท. คำว่า อายสฺมา เป็นเครื่องกล่าวด้วย
ความรัก เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ. คำว่า อายสฺมา นี้ เป็นเครื่อง
กล่าวถึงเป็นไปกับด้วยความเคารพและความยำเกรง. คำว่า ติสฺสเมตฺ-
เตยฺโย
เป็นชื่อ เป็นเครื่องนับ เป็นเครื่องหมายรู้ เป็นบัญญัติ เป็น
เครื่องร้องเรียก เป็นนาม เป็นการตั้งชื่อ เป็นเครื่องทรงชื่อ เป็นภาษา
ที่ร้องเรียกกัน เป็นเครื่องแสดงให้ปรากฏ เป็นเครื่องกล่าวเฉพาะ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า "อิจฺจายสฺมา ติสฺสเมตฺเตยฺโย."
[102] คำว่า ความหวั่นไหวของใครย่อมไม่มี ความว่า ความ
หวั่นไหวเพราะตัณหา ความหวั่นไหวเพราะทิฏฐิ ความหวั่นไหวเพราะ