เมนู

อุทยมาณวกปัญหานิทเทส


ว่าด้วยปัญหาของท่านอุทยะ


[433] (ท่านอุทยะทูลถามว่า)
ข้าพระองค์มีความต้องการด้วยปัญหา จึงมาเฝ้าพระ-
องค์ผู้มีฌาน ไม่มีกิเลสดังธุลี ประทับอยู่ (ที่ปาสาณก-
เจดีย์) ทรงทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ ทรงถึงฝั่งแห่ง
ธรรมทั้งปวง ขอพระองค์โปรดตรัสบอกอัญญาวิโมกข์
(อรหัตวิโมกข์) อันเป็นเครื่องทำลายอวิชชา.

[434] คำว่า ผู้มีฌาน ในอุเทศว่า ฌายี วิรชมาสีนํ ดังนี้
ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีฌานแม้ด้วยปฐมฌาน แม้ด้วยทุติยฌาน
แม้ด้วยตติยฌาน แม้ด้วยจตุตถฌาน แม้ด้วยฌานอันมีวิตกวิจาร แม้ด้วย
ฌาน (ทุติยฌานในปัญจกนัย) สักว่าไม่มีวิตกแต่มีวิจาร แม้ด้วยฌาน
อันไม่มีวิตกวิจาร แม้ด้วยฌานมีปีติ แม้ด้วยฌานอันไม่มีปีติ แม้ด้วย
ฌานอันประกอบด้วยสุข แม้ด้วยฌานอันประกอบด้วยอุเบกขา แม้ด้วย
ฌานอันเป็นสุญญตะ แม้ด้วยฌานอันเป็นอนิมิตตะ แม้ด้วยฌานอันเป็น
อัปปณิหิตะ แม้ด้วยฌานอันเป็นโลกิยะ แม้ด้วยฌานอันเป็นโลกุตระ
ทรงยินดีในฌาน ทรงขวนขวายซึ่งความเป็นผู้เดียว หนักอยู่ในอรหัตผล
ซึ่งเป็นประโยชน์ของพระองค์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้มีฌาน.
คำว่า ไม่มีกิเลสดังธุลี ความว่า ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ
ความผูกโกรธ ฯ ล ฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวง เป็นดังธุลี กิเลสดังธุลี
เหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว

ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไป
เป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว จึงชื่อว่า
ผุ้ไม่มีธุลี ปราศจากธุลี ไปปราศแล้วจากธุลี ละธุลีเสียแล้ว พ้นขาดแล้ว
จากธุลี.
ราคะเป็นธุลี แต่ท่านมิได้กล่าวละอองว่าเป็นธุลี คำ
ว่า ธุลี นี้ เป็นชื่อของราคะ พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มี
พระจักษุทรงละธุลีนั้นแล้ว เพราะเหตุนั้น พระพุทธชินะ
ท่านจึงกล่าวว่า เป็นผู้มีธุลีไปปราศแล้ว.

โทสะเป็นธุลี แต่ท่านมิได้กล่าวละอองว่าเป็นธุลี คำ
ว่า ธุลี นี้ เป็นชื่อของโทสะ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มี-
พระจักษุทรงละธุลีนั้นแล้ว เพราะเหตุนั้น พระพุทธชินะ
ท่านจึงกล่าวว่า เป็นผู้มีธุลีไปปราศแล้ว.

โมหะเป็นธุลี แต่ท่านมิได้กล่าวละอองว่าเป็นธุลี คำ
ว่า ธุลี นี้ เป็นชื่อของโมหะ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มี-
พระจักษุทรงละธุลีนั้นแล้ว เพราะเหตุนั้น พระพุทธชินะ
ท่านจึงกล่าวว่า เป็นผู้มีธุลีไปปราศแล้ว.

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่มีกิเลสดังธุลี คำว่า ผู้ประทับอยู่ ความ
ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ปาสาณกเจดีย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ประทับอยู่.
เชิญดูพระมุนีผู้ถึงฝั่งแห่งทุกข์ ประทับอยู่ที่ภูเขา พระ
สาวกทั้งหลายผู้ได้ไตรวิชชา เป็นผู้ละมัจจุเสีย นั่งห้อม
ล้อมอยู่.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ประทับอยู่แม้อย่างนี้.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่าประทับอยู่ เพราะพระองค์ทรงระงับ
ความขวนขวาย (ด้วยกิเลส) ทั้งปวงแล้ว มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ พระองค์
อยู่จบแล้ว มีจรณะทรงประพฤติแล้ว ฯ ล ฯ ไม่มีสงสารคือ ชาติ ชรา
และมรณะ มิได้มีภพใหม่ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ประทับอยู่ด้วยเหตุ
อย่างนี้ดังนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระองค์ผู้มีฌาน ไม่มีกิเลสดังธุลี
ประทับอยู่.
คำว่า อิติ ในอุเทศว่า อิจฺจายสฺมา อุทโย ดังนี้ เป็นบท
สนธิ ฯ ล ฯ คำว่า อิติ นี้ เป็นไปตามลำดับบท. คำว่า อายสฺมา เป็น
เครื่องกล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ. คำว่า อายสฺมา นี้
เป็นเครื่องกล่าวเป็นไปกับด้วยความเคารพและความยำเกรง.
คำว่า อุทโย เป็นชื่อ ฯ ล ฯ เป็นคำร้องเรียกของพราหมณ์นั้น
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านอุทยะทูลถามว่า.
[435] คำว่า ทรงทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ ความว่า กิจ
คือ กรรมที่ควรทำและกรรมไม่ควรทำ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว
ทรงละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทรงทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึง
ความไม่มี มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว จึงชื่อว่า ทรงทำกิจเสร็จแล้ว.
ทิฏฐิเป็นเครื่องตกไปรอบ ย่อมไม่มีแก่ภิกษุใด ผู้มี
กระแสอันตัดขาดแล้ว ละแล้วซึ่งกิจที่ควรทำและกิจที่ไม่
ควรทำ ความเร่าร้อนย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น.

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทรงทำกิจเสร็จแล้ว.

อาสวะ 4 คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ ชื่อว่า
อาสวะ ในคำว่า อนาสวํ อาสวะเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว
ทรงละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึง
ความไม่มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว จึงชื่อว่า เป็นผู้ไม่มีอาสวะ เพราะฉะนั้น จึง
ชื่อว่า ทรงทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ.
[436] คำว่า ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง ความว่า พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงถึงฝั่งแห่งอภิญญา ถึงฝั่งแห่งปริญญา ถึงฝั่งแห่งปหานะ
ถึงฝั่งแห่งภาวนา ถึงฝั่งแห่งการทำให้แจ้ง ถึงฝั่งแห่งสมาบัติแห่งธรรม
ทั้งปวง คือทรงถึงฝั่งแห่งความรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวง ถึงฝั่งแห่งความ
กำหนดรู้ซึ่งทุกข์ทั้งปวง ถึงฝั่งแห่งการละกิเลสทั้งปวง ถึงฝั่งแห่งการ
เจริญมรรค 4 ถึงฝั่งแห่งการทำให้แจ้งซึ่งนิโรธ ถึงฝั่งแห่งการเข้าสมาบัติ
ทั้งปวง พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงถึงความชำนาญและความสำเร็จใน
อริยศีล อริยสมาธิ อริยปัญญา อริยวิมุตติ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเสด็จ
ไปสู่ฝั่ง ทรงถึงฝั่งแล้ว เสด็จไปสู่ส่วนสุด ทรงถึงส่วนสุดแล้ว เสด็จไป
สู่ที่สุด ทรงถึงที่สุดแล้ว เสด็จไปสู่ส่วนสุดรอบ ทรงถึงส่วนสุดรอบแล้ว
เสด็จไปสู่ที่จบ ทรงถึงที่จบแล้ว เสด็จไปสู่ที่ต้านทาน ทรงถึงที่ต้านทาน
แล้ว เสด็จไปสู่ที่เร้น ทรงถึงที่เร้นแล้ว เสด็จไปสู่จรณะ ทรงถึงจรณะ
แล้ว เสด็จไปสู่ที่ไม่มีภัย ทรงถึงที่ไม่มีภัยแล้ว เสด็จไปสู่ที่ไม่เคลื่อน
ทรงถึงที่ไม่เคลื่อนแล้ว เสด็จไปสู่อมตะ ทรงถึงอมตะแล้ว เสด็จไปสู่
นิพพาน ทรงถึงนิพพานแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นมีธรรมเป็นเครื่องอยู่
ทรงอยู่จบแล้ว มีจรณะทรงประพฤติแล้ว ฯ ล ฯ มิได้มีสงสาร คือชาติ

ชรา และมรณะ ไม่มีภพใหม่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทรงถึงฝั่งแห่งธรรม
ทั้งปวง.
[437] คำว่า ข้าพระองค์มีความต้องการด้วยปัญหาจึงมาเฝ้า
ความว่า พวกข้าพระองค์มีความต้องการด้วยปัญหาจึงมาเฝ้า คือเป็นผู้จะ
ทูลถามปัญหา มาเฝ้าแล้ว เป็นผู้ใคร่ฟังปัญหามาเฝ้าแล้ว แม้ด้วยเหตุ
อย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ข้าพระองค์มีความต้องการด้วยปัญหาจึงมาเฝ้า.
อีกอย่างหนึ่ง ความมา ความมุ่งมา ความมาเฝ้า ของพวกข้า-
พระองค์ผู้มีความต้องการด้วยปัญหา คือต้องการจะทูลถามปัญหา ใคร่ฟัง
ปัญหา มีอยู่ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ข้าพระองค์มีความต้องการ
ด้วยปัญหาจึงมาเฝ้า.
อีกอย่างหนึ่ง ความมาแห่งปัญหาของพระองค์มีอยู่ ทั้งพระองค์มี
ความเป็นผู้องอาจ ให้ผู้อื่นมีความเพียร สามารถ เพื่อจะตรัสถาม ตรัส
บอก ทรงแก้ ทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง ทรงเฉลยกับข้าพระองค์ได้ แม้
ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ข้าพระองค์มีความต้องการด้วยปัญหาจึง
มาเฝ้า.
[438] อรหัตวิโมกข์ ท่านกล่าวว่า อัญญาวิโมกข์ ในอุเทศว่า
อญฺญาวิโมกฺขํ สํพฺรูหิ ดังนี้ ขอพระองค์โปรดตรัสบอก คือขอจง
บอก . . . ขอจงทรงประกาศซึ่งอรหัตวิโมกข์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ขอ
พระองค์โปรดตรัสบอกอัญญาวิโมกข์.
[439] คำว่า ทำลายอวิชชา คือ ทุบ ต่อย ทำลาย ละ สงบ
สละคืน ระงับ ซึ่งอวิชชา เป็นอมตนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ทำลายอวิชชา เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า

ข้าพระองค์มีความต้องการด้วยปัญหาจึงมาเฝ้าพระ-
องค์ผู้มีฌาน ไม่มีกิเลสดังธุลี ประทับอยู่ (ที่ปาสาณก-
เจดีย์) ทรงทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ ทรงถึงฝั่งแห่ง
ธรรมทั้งปวง ขอพระองค์โปรดตรัสบอกอัญญาวิโมกข์
(อรหัตวิโมกข์) อันเป็นเครื่องทำลายอวิชชา.


[440] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูก่อนอุทยะ)
เราขอบอกอัญญาวิโมกข์ เป็นเครื่องละซึ่งกามฉันทะ
และโทมนัสทั้ง 2 อย่าง เป็นเครื่องบรรเทาความง่วง เป็น
เครื่องกันความรําคาญ.

[441] ความพอใจในกาม ความกำหนัดในกาม ความเพลินใน
กาม ความอยากในกาม ความสิเนหาในกาม ความกระหายในกาม
ความเร่าร้อนในเพราะกาม ความหลงในกาม ความติดใจในกาม ในกาม
ทั้งหลาย กามโอฆะ กามโยคะ กามุปาทาน กามฉันทนิวรณ์ ชื่อว่า
ฉันทะ ในอุเทศว่า ปหานํ กามฉนฺทานํ ดังนี้.
คำว่า ธรรมเป็นเครื่องละกามฉันทะ ความว่า ธรรมเป็นเครื่อง
ละ เครื่องสงบ เครื่องสละคืน เครื่องระงับกามฉันทะทั้งหลาย เป็น
อมตนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ธรรมเป็นเครื่องละกามฉันทะ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อว่า อุทยะ ใน
อุเทศว่า อุทยาติ ภควา ดังนี้. คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดย
เคารพ ฯ ล ฯ คำว่า ภควา นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อ
ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนอุทยะ.

[442] ความไม่แช่มชื่นในทางใจ เจตสิกทุกข์ ความเสวยอารมณ์
เป็นทุกข์ไม่แช่มชื่น เกิดจากสัมผัสทางใจ ทุกขเวทนาอันไม่แช่มชื่น เกิด
จากสัมผัสทางใจ ชื่อว่า โทมนัส ในอุเทศว่า โทมนสฺสานํ จูภยํ ดังนี้.
คำว่า และโทมนัสทั้ง 2 อย่าง ความว่า ธรรมเป็นเครื่องละ
เครื่องสงบ เครื่องสละคืน เครื่องระงับซึ่งกามฉันทะและโทมนัสทั้งสอง
ประการ เป็นอมตนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และโทมนัสทั้งสอง
อย่าง.
[443] ความที่จิตไม่ควร ความที่จิตไม่สมควรแก่การงาน ความ
ท้อ ความถอย ความกลับ ความหดหู่ กิริยาที่หดหู่ ความเป็นผู้หดหู่
ชื่อว่าถีนะ ในอุเทศว่า ถีนสฺส จ ปนูทนํ ดังนี้.
คำว่า เป็นเครื่องบรรเทาความง่วง ความว่า เป็นเครื่องบรรเทา
เครื่องละ เครื่องสงบ เครื่องสละคืน เครื่องระงับ ความง่วง เป็น
อมตนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นเครื่องบรรเทาความง่วง.
[444] ความรำคาญมือ ความรำคาญเท้า ความรำคาญมือและ
เท้า ความรำคาญในสิ่งที่ไม่ควรว่าควร ความสำคัญในสิ่งที่ควรว่าไม่ควร
ความสำคัญในสิ่งนี้มีโทษว่าไม่มีโทษ ความสำคัญในสิ่งที่ไม่มีโทษว่ามีโทษ
ความคะนอง กิริยาที่รำคาญ ความเป็นผู้รำคาญ ความเดือนร้อนแห่งจิต
ความขัดใจเห็นปานนี้ ๆ ท่านเรียกว่า กุกกุจจะ ในคำว่า กุกฺกุจฺจานํ
ในอุเทศว่า กุกฺกุจฺจานํ นิวารณํ ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ความรำคาญเป็นความเดือนร้อนแห่งจิต เป็นความ
ขัดใจ ย่อมเกิดขึ้นเพราะเหตุ 2 อย่าง คือเพราะกระทำ 1 เพราะไม่
กระทำ 1 ความรำคาญอันเป็นความเดือนร้อนแห่งจิต เป็นความขัดใจ

ย่อมเกิดขึ้นด้วยเพราะกระทำ 1 เพราะไม่กระทำ 1 อย่างไร ความรำคาญ
อันเป็นความเดือนร้อนแห่งจิต เป็นความขัดใจ ย่อมเกิดขึ้นว่า เราทำ
กายทุจริต เราไม่ได้ทำกายสุจริต เราทำวจีทุจริต เราไม่ได้ทำวจีสุจริต
เราทำมโนทุจริต เราไม่ได้ทำมโนสุจริต เราทำปาณาติบาต เราไม่ได้ทำ
ความงดเว้นจากปาณาติบาต เราทำอทินนาทาน เราไม่ได้ทำความงดเว้น
จากอทินนาทาน เราทำกาเมสุมิจฉาจาร เราไม่ได้ทำความงดเว้นจาก
กาเมสุมิจฉาจาร เราทำมุสาวาท เราไม่ได้ทำความงดเว้นจากมุสาวาท
เราทำปิสุณวาจา เราไม่ได้ทำความงดเว้นจากปิสุณวาจา เราทำผรุสวาจา
เราไม่ได้ทำความงดเว้นจากผรุสวาจา เราทำสัมผัปปลาปะ เราไม่ได้ทำ
ความงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ เราทำอภิชฌา เราไม่ทำอนภิชฌา เราทำ
พยาบาท เราไม่ได้ทำอัพยาบาท เราทำมิจฉาทิฏฐิ เราไม่ได้ทำสัมมาทิฏฐิ
ความรำคาญอันเป็นความเดือนร้อนแห่งจิต เป็นความขัดใจ ย่อมเกิดขึ้น
เพราะกระทำและไม่กระทำอย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ความรำคาญอันเป็นความเดือนร้อนแห่งจิต เป็น
ความขัดใจ ย่อมเกิดขึ้นว่า เราไม่ทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย เราไม่ได้
คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เราไม่รู้จักประมาณในโภชนะ เรา
ไม่ได้ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความเพียรเครื่องตื่นอยู่ เราไม่ได้ประกอบด้วย
สติสัมปชัญญะ เราไม่ได้เจริญสติสัมปชัญญะ เราไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน 4
เราไม่ได้เจริญสัมมัปปธาน 4 เราไม่ได้เจริญอิทธิบาท 4 เราไม่ได้เจริญ
อินทรีย์ 5 เราไม่ได้เจริญพละ 5 เราไม่ได้เจริญโพชฌงค์ 7 เราไม่ได้
เจริญมรรคมีองค์ 8 เราไม่ได้กำหนดรู้ทุกข์ เราไม่ได้ละสมุทัย เราไม่ได้
เจริญมรรค เราไม่ได้ทำให้แจ้งซึ่งนิโรธ.

คำว่า เป็นเครื่องกั้นความรำคาญ ความว่า เป็นเครื่องปิด คือ
เป็นเครื่องกัน เครื่องละ เครื่องสงบ เครื่องสละคืน เครื่องระงับความ
รำคาญทั้งหลาย เป็นอมตนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นเครื่องกั้น
ความรำคาญ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
เราขอบอกอัญญาวิโมกข์ อันเป็นเครื่องละซึ่งกาม-
ฉันทะ และโทมนัสทั้ง 2 อย่าง เป็นเครื่องบรรเทาความ
ง่วง เป็นเครื่องกั้นความรำคาญ.


[445] เราขอบอกอัญญาวิโมกข์ อันมีอุเบกขาและสติ
หมดจดดี มีความตรึกประกอบด้วยธรรม แล่นไปข้าง
หน้า เป็นเครื่องทำลายอวิชชา.

[446] ความวางเฉย กิริยาที่วางเฉย ความเพิกเฉย ความสงบ
แห่งจิต ความที่จิตเลื่อมใส ความที่จิตเป็นกลางด้วยจตุตถฌาน ชื่อว่า
อุเบกขา ในอุเทศว่า อุเปกฺขาสติสํสุทฺธํ ดังนี้ ความระลึก ความตาม
ระลึก ฯ ล ฯ ความระลึกชอบ เพราะปรารภถึงอุเบกขาในจตุตถฌาน
ชื่อว่า สติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อุเบกขาและสติ.
คำว่า หมดจดดี ความว่า อุเบกขาและสติในจตุตถฌานเป็นความ
หมดจด หมดจดดี ขาวรอบ ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน ปราศจากอุปกิเลส
อ่อนควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหว เพราะฉะนั้น จึงชื่อ
ว่า มีอุเบกขาและสติหมดจดดี.
[447] ความดำริชอบ ตรัสว่า ความตรึกประกอบด้วยธรรม
ในคำว่า ธมฺมตกฺกปุเรชวํ ดังนี้ ความตรึกประกอบด้วยธรรมนั้น มีใน

เบื้องต้น มีข้างหน้า เป็นประธานแห่งอัญญาวิโมกข์ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้
ดังนี้จึงชื่อว่า มีความตรึกประกอบด้วยธรรมแล่นไปข้างหน้า.
อีกอย่างหนึ่ง สัมมาทิฏฐิ ตรัสว่า ความตรึกประกอบด้วยธรรม
สัมมาทิฏฐินั้น มีในเบื้องต้น มีข้างหน้า เป็นประธานแห่งอัญญาวิโมกข์
แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้จึงชื่อว่า มีความตรึกประกอบด้วยธรรมแล่นไป
ข้างหน้า.
อีกอย่างหนึ่ง วิปัสสนาในกาลเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งมรรค 4 ตรัส
ว่า ความตรึกประกอบด้วยธรรม วิปัสสนานั้น มีในเบื้องต้น มีข้างหน้า
เป็นประธานแห่งอัญญาวิโมกข์ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้จึงชื่อว่า มี
ความตรึกประกอบด้วยธรรมแล่นไปข้างหน้า.
[448] อรหัตวิโมกข์ ตรัสว่า อัญญาวิโมกข์ ในอุเทศว่า อญฺญา-
วิโมกฺขํ สํพฺรูมิ
ดังนี้ เราขอบอก . . . ขอประกาศซึ่งอรหัตวิโมกข์
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เราขอบอกอัญญาวิโมกข์.
[449] ความไม่รู้ในทุกข์ ฯ ล ฯ อวิชชาเป็นดังลิ่มสลัก ความ
หลง อกุศลมูล ชื่อว่า อวิชชา ในอุเทศว่า อวิชฺชาย ปเภทนํ ดังนี้.
คำว่า เป็นเครื่องทำลายอวิชชา ความว่า เป็นเครื่องทุบ ต่อย
เครื่องทําลาย เครื่องละ เครื่องสงบ เครื่องสละคืน เครื่องระงับ ซึ่ง
อวิชชา เป็นอมตนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นเครื่องทำลาย
อวิชชา เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
เราขอบอกอัญญาวิโมกข์อันมีอุเบกขาและสติ หมด
จดดี มีความตรึกประกอบด้วยธรรมแล่นไปข้างหน้า
เป็นเครื่องทำลายอวิชชา.

[450] โลกมีอะไรเป็นเครื่องประกอบไว้ อะไรเล่าเป็น
เครื่องเที่ยวไปของโลกนั้น พระองค์ตรัสว่า นิพพาน
เพราะละอะไรเสียได้.

[451] คำว่า โลกมีอะไรเป็นเครื่องประกอบไว้ ความว่า อะไร
เป็นเครื่องประกอบ เครื่องคล้องไว้ เครื่องผูก เครื่องพัวพัน เครื่อง
มัวหมอง ของโลก โลกอันอะไรประกอบไว้ ประกอบทั่ว เหนี่ยวรั้ง
ยึดไว้ คล้องไว้ เกี่ยวไว้ พัวพันไว้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า โลกมีอะไร
เป็นเครื่องประกอบไว้.
[452] คำว่า อะไรเล่าเป็นเครื่องเที่ยวไปของโลกนั้น ความ
ว่า อะไรเป็นเครื่องสัญจร เที่ยวไป ท่องเที่ยวไป ของโลกนั้น โลก
ย่อมสัญจรไป เที่ยวไป ท่องเที่ยวไป ด้วยอะไร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
อะไรเล่าเป็นเครื่องเที่ยวไปของโลกนั้น.
[453] คำว่า พระองค์ตรัสว่า นิพพาน เพราะละอะไรเสียได้
ความว่า พระองค์ย่อมตรัส ย่อมบอก ย่อมเล่า ย่อมกล่าว แสดง
บัญญัติว่า นิพพาน เพราะละ สงบ สละคืน ระงับ อะไรเสียได้ เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า พระองค์ตรัสว่า นิพพาน เพราะละอะไรเสียได้ เพราะ
เหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า
โลกมีอะไรเป็นเครื่องประกอบไว้ อะไรเล่าเป็นเครื่อง
เที่ยวไปของโลกนั้น พระองค์ตรัสว่า นิพพาน เพราะ
ละอะไรเสียได้.


[454] โลกมีความเพลินเป็นเครื่องประกอบไว้ วิตก เป็น

เครื่องเที่ยวไปของโลกนั้น เรากล่าวว่า นิพพาน เพราะ
ละตัณหาเสียได้.

[455] ตัณหา ราคะ สาราคะ ฯ ล ฯ อภิชฌา โลภะ อกุศล-
มูล ตรัสว่า ความเพลิน ในอุเทศว่า นนฺทิสญฺโญชโน โลโก ดังนี้
ความเพลินเป็นเครื่องประกอบ เครื่องคล้องไว้ เครื่องผูก เครื่องมัวหมอง
ของโลก โลกอันความเพลินนี้ประกอบไว้ ประกอบทั่ว เหนี่ยวรั้ง ผูกไว้
คล้องไว้ พันไว้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า โลกมีความเพลินเป็นเครื่อง
ประกอบไว้.
[456] วิตก 9 คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก วิตก
ถึงญาติ วิตกถึงชนบท วิตกถึงเทวดา วิตกอันปฏิสังยุตด้วยความเอ็นดู
ผู้อื่น วิตกอันปฏิสังยุตด้วยลาภ สักการะ และสรรเสริญ วิตกอันปฏิสังยุต
ด้วยความไม่อยากให้ผู้อื่นดูหมิ่นตน. เหล่านี้เรียกว่าวิตก 9. ชื่อว่า วิตก
ในอุเทศว่า วิตกฺกสฺส วิจารณา ดังนี้ วิตก 9 อย่างนี้เป็นเครื่องสัญจร
ไป เที่ยวไป ท่องเที่ยวไป ด้วยวิตก 9 อย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
วิตกเป็นเครื่องเที่ยวไปของโลกนั้น.
[457] รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏ-
ฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา ชื่อว่า ตัณหา ในอุเทศว่า ตณฺหาย วิปฺป-
หาเนน นิพฺพานํ อิติ วุจฺจติ
ดังนี้.
คำว่า เรากล่าวว่า นิพพาน เพราะละตัณหาเสียได้ ความว่า
เราย่อมกล่าว ย่อมบอก เล่า ขาน แสดง บัญญัติว่า เพราะละ สงบ
สละคืน ระงับตัณหาเสียได้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เรากล่าวว่า นิพพาน
เพราะละตัณหาเสียได้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

โลกมีความเพลินเป็นเครื่องประกอบไว้ วิตก เป็น
เครื่องเที่ยวไปของโลกนั้น เรากล่าวว่า นิพพาน เพราะ
ละตัณหาเสียได้.


[458] เมื่อโลกมีสติอย่างไรเที่ยวไป วิญญาณจึงดับ
พวกข้าพระองค์มาแล้วเพื่อจะทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า
พวกข้าพระองค์จะขอฟังพระดำรัสนั้นของพระองค์.

[459] คำว่า เมื่อโลกมีสติอย่างไรเที่ยวไป ความว่า เมื่อโลก
มีสติสัมปชัญญะอย่างไรเที่ยวไป เที่ยวไปทั่ว ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ เป็นไป
รักษา บำรุง เยียวยา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อโลกมีสติอย่างไร
เที่ยวไป.
[460] คำว่า วิญญาณจึงดับ ความว่า วิญญาณดับ สงบ ถึง
ความตั้งอยู่ไม่ได้ ระงับไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วิญญาณจึงดับ.
[461] คำว่า พวกข้าพระองค์มาแล้วเพื่อจะทูลถามพระผู้มี-
พระภาคเจ้า
ความว่า พวกข้าพระองค์มาแล้ว คือ มาถึง เข้ามาถึง
ถึงพร้อม มาประชุมกับพระองค์เพื่อจะทูลถาม คือเพื่อสอบถาม ทูล ขอ
ทูลเชื้อเชิญ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว คือขอให้ทรงประสาท
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พวกข้าพระองค์มาแล้วเพื่อจะทูลถามพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า.
[462] คำว่า พวกข้าพระองค์จะขอฟังพระดำรัสนั้นของพระ-
องค์
ความว่า พวกข้าพระองค์จะขอฟัง ศึกษา ทรงจำ เข้าไป กำหนด
พระดำรัส ถ้อยคำ ทางถ้อยคำ เทศนา อนุสนธิ ของพระองค์ เพราะ-

ฉะนั้น จึงชื่อว่า พวกข้าพระองค์จะขอฟังพระดำรัสของพระองค์ เพราะ-
เหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า
เมื่อโลกมีสติอย่างไรเที่ยวไป วิญญาณจึงดับ พวก
ข้าพระองค์มาแล้วเพื่อทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า พวก
ข้าพระองค์จะขอฟังพระดำรัสนั้นของพระองค์.


[463] เมื่อโลกไม่เพลิดเพลินเวทนาภายในและภายนอก
เป็นผู้มีสติอย่างนี้เที่ยวไป วิญญาณจึงดับ.

[464] คำว่า เมื่อโลกไม่เพลิดเพลินเวทนาภายในและภาย
นอก
ความว่า เมื่อโลกพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายในภายใน
อยู่ ไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ตั้งอยู่ด้วยความติดใจเวทนา คือ ย่อม
ละ ย่อมบรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความเพลิดเพลิน
ความพร่ำถึง ความติดใจ ความถือไว้ ความจับต้อง ความถือมั่น
เมื่อโลกเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายในภายนอกอยู่ เมื่อโลก
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายทั้งภายในและภายนอกอยู่ เมื่อโลก
พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในเวทนาทั้งหลายในภายในอยู่ เมื่อ
โลกพิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมไปในเวทนาทั้งหลายในภายในอยู่ เมื่อ
โลกพิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในเวทนาทั้งหลาย
ในภายในอยู่ เมื่อโลกพิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในเวทนาทั้งหลาย
ในภายนอกอยู่ เมื่อโลกพิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมไปในเวทนา
ทั้งหลายในภายนอกอยู่ เมื่อโลกพิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นและ
ความเสื่อมไปในเวทนาทั้งหลายในภายนอกอยู่ เมื่อโลกพิจารณาเห็นธรรม

คือความเกิดขึ้นในเวทนาทั้งหลายทั้งภายในและภายนอกอยู่ เมื่อโลก
พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมไปในเวทนาทั้งหลายทั้งภายในและภาย-
นอกอยู่ เมื่อโลกพิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป
ในเวทนาทั้งหลายทั้งภายในและภายนอกอยู่ ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำ
ถึง ไม่ตั้งอยู่ด้วยความติดใจซึ่งเวทนา คือ ย่อมละ ย่อมบรรเทา ทำให้
สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีซึ่งความเพลิดเพลิน ความพร่ำถึง ความติดใจ
ความถือไว้ ความจับต้อง ความถือมั่น เมื่อโลกพิจารณาเห็นเวทนาใน
เวทนาทั้งหลายด้วยอาการ 12 อย่างนี้ ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง
ไม่ตั้งอยู่ด้วยความติดใจซึ่งเวทนา ฯ ล ฯ ให้ถึงความไม่มีซึ่งความเพลิด
เพลิน ความพร่ำถึง ความติดใจ.
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อโลกพิจารณาเห็นเวทนาโดยความไม่เที่ยง ย่อม
ไม่เพลิดเพลิน . . . เมื่อโลกพิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นทุกข์ โดย
ความเป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นอาพาธ
ฯ ล ฯ โดยไม่มีอุบายเครื่องสลัดออก ย่อมไม่เพลิดเพลิน . . . เมื่อโลก
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายโดยอาการ 42 นี้อยู่ ย่อมไม่เพลิด
เพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ตั้งอยู่ด้วยความติดใจในเวทนา คือ ย่อมละ ย่อม
บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีซึ่งความเพลิดเพลิน ความพร่ำถึง
ความติดใจ ความถือไว้ ความจับต้อง ความถือมั่น เพราะฉะนั้น จึง
ชื่อว่า เมื่อโลกไม่เพลิดเพลินเวทนาในภายในและภายนอก.
[465] คำว่า เป็นผู้มีสติอย่างนี้เที่ยวไป ความว่า เป็นผู้มีสติ
สัมปชัญญะอย่างนี้เที่ยวไป คือเที่ยวไปทั่ว ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ เป็นไป
รักษา บำรุง เยียวยา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้มีสติอย่างนี้เที่ยวไป.

[466] คำว่า วิญญาณจึงดับ ความว่า วิญญาณอันสหรคตด้วย
ปุญญาภิสังขาร วิญญาณอันสหรคตด้วยอปุญญาภิสังขาร วิญญาณอัน
สหรคตด้วยอเนญชาภิสังขาร ย่อมดับ สงบ ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ระงับ
ไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วิญญาณจึงดับ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงตรัสว่า
เมื่อโลกไม่เพลิดเพลินเวทนาในภายในและภายนอก
เป็นผู้มีสติอย่างนี้เที่ยวไป วิญญาณจึงดับ.

พร้อมด้วยเวลาจบพระคาถา ฯ ล ฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก ฉะนี้แล.
จบอุทยมาณวกปัญหานิทเทสที่ 13

อรรถกถาอุทยมาณวกปัญหานิทเทสที่ 13


พึงทราบวินิจฉัยในอุทยสูตรที่ 13 ดังต่อไปนี้.
บทว่า อญฺญาวิโมกฺขํ คือ อรหัตวิโมกข์ อุทยมาณพทูลถามถึง
วิโมกข์อันสำเร็จด้วยอานุภาพแห่งพระอรหัต.
บทว่า ปฐเมนปิ ฌาเนน ฌายี พระผู้มีพระภาคเจ้ามีฌานแม้
ด้วยปฐมฌาน ชื่อว่า มีฌาน เพราะเพ่งด้วยปฐมฌานมีองค์ 5 คือ วิตก
วิจาร ปีติ สุข จิตเตกัคคตา. บทว่า ทุติเยน คือ เพ่งด้วยทุติยฌาน
สัมปยุตด้วยปีติ สุข จิตเตกัคคตา. บทว่า ตติเยน คือ เพ่งด้วยตติย-
ฌาน สัมปยุตด้วยสุข และจิตเตกัคคตา. บทว่า จตุตฺเถน คือ เพ่งด้วย
จตุตถฌาน สัมปยุตด้วยอุเบกขาจิตเตกัคคตา. บทว่า สวิตกฺกสวิจาเรนปิ