เมนู

ภัทราวุธมาณวกปัญหานิทเทส


ว่าด้วยปัญหาของท่านภัทราวุธะ


[413] (ท่านภัทราวุธะทูลถามว่า)
ข้าพระองค์ขออาราธนาพระองค์ผู้ละความอาลัย ตัด
ตัณหาเสียได้ ไม่มีความหวั่นไหว ละความเพลินเสีย
ข้ามโอฆะแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ละความดำริ มีปัญญาดี
ชนทั้งหลายได้ฟังพระดำรัสของพระองค์ ผู้เป็นนาคแล้ว
จักหลีกไปแต่ที่นี้.

[414] คำว่า ผู้ละความอาลัย ในอุเทศว่า โอกญฺชหํ ตณฺหจฺฉิทํ
อเนชํ
ดังนี้ ความว่า ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิน ความ
ทะยานอยาก ความเข้าไปยึดถือด้วยตัณหา ทิฏฐิและอุปาทาน อันเป็นที่ตั้ง
เป็นที่ผูกพันและเป็นอนุสัยแห่งใจในรูปธาตุ กิเลสชาติมีความพอใจเป็น
ต้นเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้วทรงละได้แล้ว ตัดรากขาด
แล้ว ทรงทำไม่ให้มีที่ตั้ง ดังตาลยอดด้วน ทรงให้ถึงความไม่มี ไม่ให้
เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว
จึงชื่อว่า ผู้ละความอาลัย ความพอใจ ความกำหนัด ... ในเวทนาธาตุ
ในสัญญาธาตุ ในสังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ กิเลสชาติมีความพอใจ
เป็นต้นเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงละได้แล้ว
ตัดรากขาดแล้ว ทรงทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มี
ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้ตรัสรู้แล้ว จึงชื่อว่า ผู้ละความอาลัย.

รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา
ธรรมตัณหา ชื่อว่า ตัณหา ในคำว่า ตณฺหจฺฉิทํ ดังนี้ ตัณหานั้น
อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงตัดแล้ว ตัดขาดแล้ว ตัดขาด
พร้อมแล้ว สงบแล้ว ระงับแล้ว ทำไม่ให้อาจเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วย
ไฟคือญาณ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว จึงชื่อว่า
ทรงตัดตัณหา.
ตัณหา ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯ ล ฯ อภิชฌา โลภะ
อกุศลมูล ท่านกล่าวว่า ความหวั่นไหว ในคำว่า ผู้ไม่มีความหวั่นไหว
ตัณหาอันเป็นความหวั่นไหวนั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ทรง
ละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทรงทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึง
ความไม่มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว จึงชื่อว่า ผู้ไม่มีความหวั่นไหว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ชื่อว่าผู้ไม่มีความหวั่นไหว เพราะ
พระองค์ทรงละความหวั่นไหวเสียแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่สะทกสะท้าน
ไม่ทรงหวั่น ไม่ทรงไหว ไม่พรั่น ไม่พรึง แม้ในเพราะลาภ แม้ใน
เพราะความเสื่อมลาภ แม้ในเพราะยศ แม้ในเพราะความเสื่อมยศ แม้
ในเพราะความสรรเสริญ แม้ในเพราะความนินทา แม้ในเพราะสุข
แม้ในเพราะทุกข์ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้วจึงชื่อว่า
ไม่มีความหวั่นไหว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระองค์ผู้ละความอาลัย
ตัดตัณหาเสียได้ ไม่มีความหวั่นไหว.
คำว่า อิติ ในอุเทศว่า อิจฺจายสฺมา ภทฺราวุโธ ดังนี้ เป็นบท
สนธิ ฯ ล ฯ คำว่า อิติ นี้ เป็นไปตามลำดับบท.

คำว่า อายสฺมา เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่องกล่าว
โดยเคารพ. คำว่า อายสฺมา นี้ เป็นเครื่องกล่าวเป็นไปกับด้วยความ
เคารพและความยำเกรง.
คำว่า ภทฺราวุโธ เป็นชื่อ ฯ ล ฯ เป็นคำร้องเรียกของพราหมณ์
นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านภัทราวุธะทูลถามว่า.
[415] ตัณหา ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯ ล ฯ อภิชฌา
โลภะ อกุศลมูล ท่านกล่าวว่า ความเพลิน ในอุเทศว่า นนฺทิญฺชหํ
โอฆติณฺณํ วิมุตฺตํ
ดังนี้ ตัณหาอันเป็นความเพลินนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทรงทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาล
ยอดด้วน ให้ถึงความไม่มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะ
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้วจึงชื่อว่า ผู้ละความเพลินเสีย.
คำว่า ข้ามโอฆะแล้ว ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงข้ามแล้ว
ซึ่งกามโอฆะ ภวโอฆะ ทิฏฐิโอฆะ อวิชชาโอฆะ ทรงข้ามแล้ว คือ
ทรงข้ามขึ้นแล้ว ทรงข้ามพ้นแล้ว ทรงก้าวล่วงแล้ว ทรงล่วงเลยไปแล้ว
ซึ่งคลองแห่งสงสารทั้งปวง พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น มีธรรมเป็นเครื่อง
อยู่อันพระองค์อยู่จบแล้ว มีจรณะทรงประพฤติแล้ว ฯ ล ฯ มิได้มีสงสาร
คือชาติ ชรา และมรณะ ไม่มีภพใหม่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทรงละ
ความเพลินเสีย ทรงข้ามโอฆะแล้ว.
คำว่า พ้นวิเศษแล้ว คือ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระทัยพ้นแล้ว
พ้นวิเศษแล้ว พ้นวิเศษดีแล้ว จากราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ
ความผูกโกรธ ฯ ล ฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ทรงละความเพลินเสีย ทรงข้ามโอฆะแล้ว พ้นวิเศษแล้ว.

[416] ความดำริ ในคำว่า กปฺป ในอุเทศว่า กปฺปญฺชหํ
อภิยาเจ สุเมธํ
ดังนี้ มี2 อย่าง คือ ความดำริด้วยอำนาจตัณหา 1
ความดำริด้วยอำนาจทิฏฐิ 1 ฯ ล ฯ นี้เป็นความดำริด้วยอำนาจตัณหา ฯ ล ฯ
นี้เป็นความดำริด้วยอำนาจทิฏฐิ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้แล้ว ทรงละความดำริด้วยอำนาจตัณหา
ทรงสละคืนความดำริด้วยอำนาจทิฏฐิแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว
ชื่อว่าทรงละความดำริ เพราะพระองค์ทรงละความดำริด้วยอำนาจตัณหา
เพราะพระองค์ทรงสละคืนความดำริด้วยอำนาจทิฏฐิ.
คำว่า ขออาราธนา คือ ทูลอาราธนา ทูลเชื้อเชิญ ทูลยินดี
ปรารถนา รักใคร่ ชอบใจ (คำของพระองค์).
ปัญญา ความรู้ กิริยาที่รู้ ฯ ล ฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้น
ธรรม สัมมาทิฏฐิ ท่านกล่าวว่า เมธา ในคำว่า สุเมธํ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้าไป เข้าไปพร้อม เข้ามา เข้ามาพร้อม
เข้าถึง เข้าถึงพร้อม ประกอบด้วยปัญญาชื่อเมธานี้ เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงชื่อว่ามีปัญญาดี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์
ขออาราธนา ... ละความดำริ มีปัญญาดี.
[417] พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่า เป็นนาค ในคำว่า นาคสฺส
ในอุเทศว่า สุตฺวาน นาคสฺส อปนมิสฺสนฺติ อิโต ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงกระทำความชั่ว เพราะฉะนั้น จึงทรง
พระนามว่า นาค ไม่เสด็จไปสู่ความชั่ว เพราะฉะนั้น จึงทรง
พระนามว่า นาค ไม่เสด็จมาสู่ความชั่ว เพราะฉะนั้น จึงทรงพระนาม

ว่า นาค ฯ ล ฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่เสด็จมาสู่ความชั่วอย่างนี้ เพราะ
ฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า นาค.
ข้อว่า ชนทั้งหลายได้ฟังพระดำรัสของพระองค์ผู้เป็นนาคแล้ว
จักหลีกไปแต่ที่นี้
ความว่า ชนเป็นอันมาก ได้ยิน ได้ฟัง ศึกษา
ทรงจำ เข้าไปกำหนดแล้ว ซึ่งพระดำรัส คือ พระดำรัสที่เป็นทางเทศนา
อนุสนธิ ของพระองค์แล้ว จักหลีก จักเลี่ยงไปแต่ที่นี้ คือ จักไป
สู่ทิศใหญ่และทิศน้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ชนทั้งหลายได้ฟังพระ-
ดำรัสของพระองค์ผู้เป็นนาคแล้ว จักหลีกไปแต่ที่นี้ เพราะเหตุนั้น
พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า
ข้าพระองค์ขออาราธนาพระองค์ผู้ละความอาลัย ตัด
ตัณหาเสียได้ ไม่มีความหวั่นไหว ละความเพลินเสีย
ข้ามโอฆะแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ละความดำริ มีปัญญาดี
ชนทั้งหลายได้ฟังคำของพระองค์ผู้เป็นนาคแล้ว จักหลีก
ไปแต่ที่นี้.

[418 ] ข้าแต่พระองค์ผู้กล้า ชนต่าง ๆ มาแต่ชนบททั้งหลาย
ประชุมกันแล้ว หวังอยู่ซึ่งพระดำรัสของพระองค์ ขอ
พระองค์ทรงพยากรณ์ด้วยดีแก่ชนเหล่านั้น เพราะว่า
ธรรมนั้นพระองค์ทรงทราบแล้วอย่างแท้จริง.

[419] กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต
เทวดา และมนุษย์ ชื่อว่า ชนต่างๆ ในอุเทศว่า นานาชนา ชนปเทหิ
สงฺคตา
ดังนี้.

คำว่า มาแต่ชนบททั้งหลายประชุมกันแล้ว คือ มาแต่อังคะ
มคธะ กาสี โกสละ วัชชี มัลละ เจตียะ สาคระ1 ปัญจาละ อวันตี
โยนะ และกัมโพชะ.
คำว่า ประชุมกันแล้ว คือ ถึงพร้อม มาพร้อม มาร่วมประชุม
กันแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ชนต่าง ๆ มาแต่ชนบททั้งหลาย ประชุม
กันแล้ว.
[420] พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นผู้กล้า จึงชื่อว่า วีระ ในอุเทศ
ว่า ตว วีร วากฺยํ อภิกงฺขมานา ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีความเพียร
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วีระ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้องอาจ เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า วีระ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้ผู้อื่นมีความเพียร เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า วีระ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สามารถ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า วีระ. พระผู้มีพระภาคเจ้าปราศจากความเป็นผู้มีขนลุกขนพอง
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วีระ.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเว้นแล้วจากบาปธรรมทั้งปวง
ในโลกนี้ ล่วงเสียแล้วซึ่งทุกข์ในนรก ทรงอยู่ด้วยความ
เพียร พระองค์ทรงมีวิริยะ มีปธาน ทรงแกล้วกล้า
เป็นผู้คงที่ ท่านกล่าวว่า พระหฤทัยเป็นอย่างนั้น.

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระองค์ผู้กล้า. . . ของพระองค์.
คำว่า หวังอยู่ซึ่งพระดำรัส ความว่า พระดำรัส ทางแห่งพระ
ดำรัส เทศนา อนุสนธิ ของพระองค์.
คำว่า หวังอยู่ คือ มุ่ง หวัง ปรารถนา ยินดี ประสงค์
1. ม. กุรุ.

รักใคร่ ชอบใจ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระองค์ผู้กล้า หวังอยู่
ซึ่งพระดำรัสของพระองค์.
[421] คำว่า เตสํ ในอุเทศว่า เตสํ ตุวํ สาธุ วิยากโรหิ
ดังนี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา
มนุษย์ เหล่านั้น พราหมณ์นั้นย่อมทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ตุวํ.
คำว่า ขอพระองค์ทรงพยากรณ์ด้วยดี คือ ขอพระองค์ตรัสบอก
. . . ขอทรงประกาศด้วยดี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ขอพระองค์ทรง
พยากรณ์ด้วยดี.

[422] คำว่า เพราะว่าธรรมนั้นอันพระองค์ทรงทราบแล้วอย่าง
แท้จริง
ความว่า เพราะว่าธรรมนั้นอันพระองค์ทรงทราบ ทรงรู้ ทรง
เทียบเคียง ทรงพิจารณา เจริญ ให้แจ่มแจ้งแล้ว อย่างแท้จริง เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะว่า ธรรมนั้นอันพระองค์ทรงทราบแล้วอย่างแท้
จริง เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้กล้า ชนต่าง ๆมาแต่ชนบททั้งหลาย
ประชุมกันแล้ว หวังอยู่ซึ่งพระดำรัสของพระองค์ ขอ
พระองค์ทรงพยากรณ์ด้วยดีแก่ชนเหล่านั้น เพราะว่า
ธรรมนั้นอันพระองค์ทรงทราบแล้วอย่างแท้จริง.


[423] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนภัทราวุธะ)
หมู่สัตว์พึงนำเสียซึ่งตัณหาเครื่องยึดถือทั้งหมด ทั้ง
เบื้องบน ทั้งเบื้องต่ำ หรือแม้ชั้นกลางส่วนกว้าง เพราะ
ว่าสัตว์ทั้งหลายย่อมเข้าไปถือรูปาทิขันธ์ใด ๆ ในโลก

มารย่อมไปตามสัตว์ด้วยอำนาจอภิสังขาร คือกรรมนั้น
นั่นแล.

[424] ตัณหาในรูป ตรัสว่า ตัณหาเครื่องยึดถือ ในอุเทศว่า
อาทานตณฺหํ วินเยถ สพฺพํ ดังนี้.
เหตุไร ตัณหาในรูปจึงตรัสว่า ตัณหาเครื่องยึดถือ เพราะตัณหานั้น
สัตว์ทั้งหลายจึงยึดถือ เข้าไปยึดถือ ยึดไว้ จับต้อง ถือมั่น ซึ่งรูป
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ คติ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร
วัฏฏะ เพราะเหตุนั้น ตัณหาในรูปจึงตรัสว่า ตัณหาเครื่องยึดถือ.
คำว่า พึงนำเสียซึ่งตัณหาเครื่องยึดถือทั้งหมด ความว่า พึงนำ
เสีย ปราบเสีย ละเสีย บรรเทาเสีย พึงทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี
ซึ่งตัณหา เครื่องยึดถือทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงนำเสียซึ่ง
ตัณหาเครื่องยึดถือทั้งหมด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อว่า ภัทราวุธะ ใน
อุเทศว่า ภทฺราวุธาติ ภควา ดังนี้.
คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯ ล ฯ คำว่า ภควา นี้
เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบ
ดังนี้ว่า ดูก่อนภัทราวุธะ.
[425] อนาคต ตรัสว่า เบื้องบน ในอุเทศว่า อุทฺธํ อโธ ติริยํ
วาปิ มชฺเฌ
ดังนี้ อดีต ตรัสว่า เบื้องต่ำ ปัจจุบัน ตรัสว่า ชั้นกลาง
ส่วนกว้าง. กุศลธรรม ตรัสว่า เบื้องบน อกุศลธรรม ตรัสว่า เบื้องต่ำ
อัพยากตธรรม ตรัสว่า ชั้นกลางส่วนกว้าง. เทวโลก ตรัสว่า เบื้องบน
อบายโลก ตรัสว่า เบื้องต่ำ มนุษยโลก ตรัสว่า ชั้นกลางส่วนกว้าง.

สุขเวทนา ตรัสว่า เบื้องบน ทุกขเวทนา ตรัสว่า เบื้องต่ำ อทุกขมสุข-
เวทนา ตรัสว่า ชั้นกลางส่วนกว้าง. อรูปธาตุ ตรัสว่า เบื้องบน กามธาตุ
ตรัสว่า เบื้องต่ำ รูปธาตุ ตรัสว่า ชั้นกลางส่วนกว้าง. เบื้องบนตั้งแต่
พื้นเท้าขึ้นไป ตรัสว่า เบื้องบน เบื้องต่ำตั้งแต่ปลายผมลงมา ตรัสว่า
เบื้องต่ำ ท่ามกลาง ตรัสว่า ชั้นกลางส่วนกว้าง. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ หรือแม้ชั้นกลางส่วนกว้าง.
[426] คำว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมเข้าไปยึดถือรูปาทิขันธ์ใด ๆ
ในโลก
ความว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมยึดถือ คือ เข้าไปยึดถือ ถือไว้ จับ
ต้อง ถือมั่น ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใด ๆ.
คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก ฯ ล ฯ อายตนโลก เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมเข้าไปยึดถือรูปาทิขันธ์ใด ๆ ในโลก.
[427] คำว่า มารย่อมไปตามสัตว์ด้วยอำนาจอภิสังขาร คือ
กรรมนั้นนั่นแล ความว่า ขันธมาร ธาตุมาร อายตนมาร คติมาร
อุปบัติมาร ปฏิสนธิมาร ภวมาร สังสารมาร วัฏฏมาร อันมีในปฏิสนธิ
ย่อมไปตาม คือตามไป เป็นผู้ติดตามไป ด้วยอำนาจอภิสังขารคือกรรม
นั้นนั่นแล.
คำว่า ชนฺตุํ คือ สัตว์ นระ มาณพ บุรุษ บุคคล ชีวชน
ชาตุชน ชันตุชน อินทคูชน ผู้เกิดจากพระมนู เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
มารย่อมไปตามสัตว์ด้วยอำนาจอภิสังขารคือกรรมนั้นนั่นแล เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
หมู่สัตว์พึงนําเสียซึ่งตัณหาเครื่องยึดถือทั้งหมด ทั้ง
เบื้องบน เบื้องต่ำ หรือแม้ชั้นกลางส่วนกว้าง เพราะว่า

สัตว์ทั้งหลายย่อมเข้าไปถือรูปาทิขันธ์ใด ๆ ในโลก มาร
ย่อมไปตามสัตว์ด้วยอำนาจอภิสังขารคือกรรมนั้นนั่นแล.


[428] เพราะเหตุนั้น ภิกษุรู้อยู่ เมื่อเห็นซึ่งหมู่สัตว์นี้
ผู้ข้องอยู่ในบ่วงแห่งมัจจุว่า เป็นผู้ติดอยู่ในรูปาทิขันธ์
เครื่องยึดถือ พึงเป็นผู้มีสติไม่เข้าไปยึดถืออะไร ๆ ใน
โลกทั้งปวง.

[429] คำว่า เพราะเหตุนั้น . . . เมื่อรู้อยู่ . . . ไม่พึงเข้าไป
ยึดถือ
ความว่า เพราะเหตุนั้น คือ เพราะการณะนั้น เพราะเหตุนั้น
เพราะปัจจัยนั้น เพราะนิทานนั้น ภิกษุเมื่อเห็นโทษนี้ในตัณหาเครื่อง
ยึดถือ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะเหตุนั้น.
คำว่า รู้อยู่ คือ รู้ รู้ชัด รู้ทั่ว รู้แจ้ง รู้แจ้งเฉพาะ แทงตลอด
เมื่อรู้ รู้ชัด รู้ทั่ว รู้แจ้ง รู้แจ้งเฉพาะ แทงตลอดว่า สังขารทั้งปวง
ไม่เที่ยง ฯ ล ฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วน
มีความดับไปเป็นธรรมดา.
คำว่า ไม่พึงเข้าไปยึดถือ คือ ไม่พึงยึดถือ ไม่พึงเข้าไปยึดถือ
ไม่พึงถือไว้ ไม่พึงจับต้อง ไม่พึงถือมั่น ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ คติ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร วัฏฏะ เพราะฉะนั้น จึง
ชื่อว่า เพราะเหตุนั้น . . . เมื่อรู้อยู่ ไม่พึงเข้าไปยึดถือ.
[430] ภิกษุผู้เป็นกัลยาณปุถุชนก็ดี ภิกษุผู้เป็นพระเสขะก็ดี ชื่อ
ว่า ภิกษุ ในอุเทศว่า ภิกฺขุ สโต กิญฺจนํ สพฺพโลเก ดังนี้ เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุ.

คำว่า เป็นผู้มีสติ ความว่า มีสติด้วยเหตุ 4 ประการ คือ มีสติ
เจริญสติปัฏฐานเครื่องพิจารณาเห็นกายในกาย ฯ ล ฯ ภิกษุนั้นตรัสว่า มี
สติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุ . . .เป็นผู้มีสติ.
คำว่า อะไร ๆ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อะไร ๆ
คำว่า ในโลกทั้งปวง คือ ในอบายโลกทั้งปวง ในเทวโลกทั้งปวง
ในมนุษยโลกทั้งปวง ในขันธโลกทั้งปวง ในอายตนโลกทั้งปวง ในธาตุ-
โลกทั้งปวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุ . . .เป็นผู้มีสติ . . .อะไร ๆ ใน
โลกทั้งปวง.
[431] คำว่า . . . เมื่อเห็น . . . ว่าติดอยู่ในรูปาทิขันธ์เครื่อง
ยึดถือ
ความว่า สัตว์เหล่าใดย่อมยึดถือ เข้าไปยึดถือ ถือไว้ จับต้อง
ถือมั่น ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ คติ อุปบัติ ปฏิสนธิ
ภพ สงสาร วัฏฏะ สัตว์เหล่านั้นตรัสว่า ติดอยู่ในรูปาทิขันธ์เครื่องยึดถือ.
คำว่า อิติ เป็นบทสนธิ ฯ ล ฯ คำว่า อิติ นี้ เป็นไปตามลำดับบท.
คำว่า เมื่อเห็น คือ เมื่อพบ เมื่อแลเห็น เมื่อตรวจดู เมื่อเพ่งดู
เมื่อพิจารณาอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า . . .เมื่อเห็น . . . ว่าติดอยู่ใน
รูปาทิขันธ์เครื่องยึดถือ.
[432] คำว่า ปชํ เป็นชื่อของสัตว์ ในอุเทศว่า ปชํ อิมํ
มจฺจุเธยฺเย วิสตฺตํ
ดังนี้.
กิเลสก็ดี ขันธ์ก็ดี อภิสังขารก็ดี ตรัสว่า บ่วงแห่งมัจจุ ในคำว่า
มจฺจุเธยฺเย หมู่สัตว์ข้อง เกี่ยวข้อง เกาะเกี่ยว พัวพัน ในบ่วงแห่งมัจจุ
คือในบ่วงแห่งมาร ในบ่วงแห่งมรณะ สิ่งของข้องเกี่ยวอยู่ เกี่ยวเกาะ
พันอยู่ที่ตาปูติดฝา หรือที่ไม้นาคทัณฑ์ (ท่อนไม้โอนเหมือนงาช้าง)

ฉันใด หมู่สัตว์ข้อง เกี่ยวข้อง เกาะเกี่ยว พัวพัน ในบ่วงแห่งมัจจุ
คือในบ่วงแห่งมาร ในบ่วงแห่งมรณะ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า . . .หมู่สัตว์นี้ข้องอยู่ในบ่วงมัจจุ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงตรัสว่า
เพราะเหตุนั้น ภิกษุรู้อยู่ เมื่อเห็นซึ่งหมู่สัตว์นี้ ผู้ข้อง
อยู่ในบ่วงแห่งมัจจุว่า เป็นผู้ติดอยู่ในรูปาทิขันธ์เครื่องยึด
ถือ พึงเป็นผู้มีสติไม่เข้าไปยึดถืออะไร ๆ ในโลกทั้งปวง.

พร้อมด้วยเวลาจบพระคาถา ฯ ล ฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก ฉะนี้แล.
จบภัทราวุธมาณวกปัญหานิทเทสที่ 12

อรรถกถาภัทราวุธมาณวกปัญหานิทเทสที่ 12


พึงทราบวินิจฉัยในภัทราวุธสูตรที่ 12 ดังต่อไปนี้.
บทว่า โอกญฺชหํ คือ ละความอาลัย. บทว่า ตณฺหจฺฉิทํ คือ
ตัดหมู่ตัณหาเสียได้. บทว่า อเนชํ ไม่มีความหวั่นไหว คือ ไม่หวั่นไหว
ในโลกธรรม. บทว่า นนฺทิญฺชหํ ละความเพลิน คือละความปรารถนารูป
มีรูปในอนาคตเป็นต้น. จริงอยู่ ตัณหาอย่างเดียวเท่านั้นท่านกล่าวไว้ใน
ที่นี้โดยประการต่างๆ ด้วยอำนาจแห่งความชื่นชอบ. บทว่า กปฺปญฺชหํ
คือ ละความดำริ 2 อย่าง. บทว่า อภิยาเจ คือ ข้าพระองค์วิงวอน
เป็นอย่างยิ่ง. บทว่า สุตฺวาน นาคสฺส อปนมิสฺสนฺติ อิโต ชน