เมนู

ชตุกัณณีมาณวกปัญหานิทเทส


ว่าด้วยปัญหาของท่านชตุกัณณี


[388] (ท่านชตุกัณณีทูลถามว่า)
ข้าแต่พระองค์ผู้แกล้วกล้า ข้าพระองค์ได้ฟังแล้วว่า
พระองค์ไม่มีความใคร่กาม ล่วงพ้นห้วงกิเลส จึงมาเพื่อ
จะทูลถามพระองค์ผู้ไม่มีกาม ข้าแต่พระองค์ผู้มีญาณดัง
ดวงตาอันเกิดพร้อมกับความตรัสรู้ ขอพระองค์จงตรัส
บอกสันติบท ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์จง
ตรัสบอกธรรมอันแท้จริงนั้นแก่ข้าพระองค์.

[389] คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้แกล้วกล้า ข้าพระองค์ได้ฟังแล้วว่า
พระองค์ไม่มีความใคร่กาม
ความว่า ข้าพระองค์ได้ยิน ได้ฟัง ศึกษา
ทรงจำ เข้าไป กำหนดว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์
นั้นเป็นพระอรหันต์ ฯ ล ฯ เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกล้า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วีระ. ทรงมี
ความเพียร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วีระ. ทรงองอาจ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
วีระ. ให้ผู้อื่นมีความเพียร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วีระ. ผู้สามารถ เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า วีระ. ผู้แกล้วกล้า ผู้ก้าวหน้า ผู้ไม่ขลาด ผู้ไม่หวาดเสียว
ผู้ไม่สะดุ้ง ผู้ไม่หนี ละความกลัวความขลาดแล้ว ปราศจากความเป็น
ผู้ขนลุกขนพอง เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเป็นผู้แกล้วกล้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเว้นแล้วจากบาปธรรมทั้งปวง
ในโลกนี้ ล่วงเสียแล้วซึ่งทุกข์ในนรก ทรงอยู่ด้วยความ
เพียร พระองค์ทรงมีวิริยะ มีปธาน ทรงแกล้วกล้า เป็น
ผู้คงที่ ท่านกล่าวว่ามีพระหฤทัยเป็นอย่างนั้น.

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระองค์ผู้แกล้วกล้า ข้าพระองค์ได้ฟัง
แล้วว่า.
โดยหัวข้อว่า กาม ในอุเทศว่า อกามกามี ดังนี้ กามมี 2 คือ
วัตถุกาม 1 กิเลสกาม 1 ฯ ล ฯ เหล่านี้ท่านกล่าวว่า วัตถุกาม ฯ ล ฯ
เหล่านี้ท่านกล่าวว่ากิเลสกาม.
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงกำหนดรู้วัตถุกาม ทรงละ
กิเลสกาม เพราะทรงกำหนดรู้วัตถุกาม เพราะทรงละกิเลสกามแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ทรงใคร่กาม ไม่ทรงยินดีกาม ไม่ทรงติดใจกาม
ทั้งหลายว่า กามทั้งหลายประเสริฐ เพราะเหตุนั้น พระพุทธเจ้าจึงไม่มี
กาม ออกจากกามแล้ว มีกามอันทรงสละแล้ว สำรอกแล้ว ปล่อยแล้ว
ละแล้ว สละคืนแล้ว ปราศจากราคะ มีราคะหายไปแล้ว มีราคะอันทรง
สละแล้ว สำรอกแล้ว ปล่อยแล้ว สละคืนแล้ว ทรงหายหิวแล้ว ดับแล้ว
เย็นแล้ว เป็นผู้เสวยสุข มีพระองค์อันประเสริฐอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้แกล้วกล้า ข้าพระองค์ได้ฟังแล้วว่าพระองค์ไม่มีความใคร่
กาม.
คำว่า อิติ ในอุเทศว่า อิจฺจายสฺมา ชตุกณฺณี ดังนี้ เป็นบท
สนธิ ฯ ล ฯ บทว่า อิติ นี้ เป็นไปตามลำดับบท.

คำว่า อายสฺมา เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่องกล่าว
เป็นไปกับด้วยความเคารพและความยำเกรง.
คำว่า ชตุกณฺณี เป็นโคตร ฯ ล ฯ เป็นคำบัญญัติเรียกของพราหมณ์
นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านชตุกัณณีทูลถามว่า.
[390] คำว่า ผู้ล่วงพ้นห้วงกิเลสแล้ว ในอุเทศว่า โอฆาติคํ
ปุฏฐุมกามมาคมํ
ดังนี้ ความว่า ผู้ล่วงพ้นห้วงกิเลส คือ ผู้ก้าวล่วง
ก้าวล่วงพร้อม เป็นไปล่วง ซึ่งห้วงกิเลส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้
ล่วงพ้นห้วงกิเลสแล้ว.
คำว่า เพื่อจะทูลถาม ความว่า เพื่อจะทูลถาม คือ สอบถาม
ทูลวิงวอน ทูลเชิญ ทูลให้ทรงประสาท.
คำว่า จึงมา ... พระองค์ผู้ไม่มีกาม ความว่า ข้าพระองค์มา คือ
เป็นผู้มา เข้ามา ถึงพร้อม สมาคมกับพระองค์ เพื่อจะทูลถามพระองค์
ผู้ไม่มีกาม คือ ผู้ออกแล้วจากกาม มีกามอันสละแล้ว สำรอกแล้ว
ปล่อยแล้ว ละแล้ว สละคืนแล้ว ปราศจากราคะ มีราคะอันสละ สำรอก
ปล่อย ละ สละคืนแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ... ผู้ล่วงพ้นห้วงกิเลส
แล้ว จึงมาเพื่อทูลถามพระองค์ผู้ไม่มีกาม.
[391] สันติก็ดี สันติบทก็ดี ย่อมมีโดยอาการเดียวกัน สันติบท
นั้นนั่นแหละ เป็นอมตนิพพาน ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืน
อุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ ความออก
จากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด ชื่อว่า สันติ ในอุเทศว่า สนฺติปทํ พฺรูหิ
สหาชเนตฺต
ดังนี้.
สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า บทนี้สงบ

บทนี้ประณีต คือ ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง
ความสิ้นตัณหา ความคลายกําหนัด ความดับ ความออกจากตัณหาเป็น
เครื่องร้อยรัด.
โดยอาการอีกอย่างหนึ่ง ธรรมเหล่าใด ย่อมเป็นไปเพื่อบรรลุความ
สงบ เพื่อถูกต้องความสงบ เพื่อทำให้แจ้งความสงบ ธรรมเหล่านั้น คือ
สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5
โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8 ธรรมเหล่านี้ท่านกล่าวว่า สันติบท
ขอพระองค์จงตรัสบอก ... ขอจงประกาศซึ่งสันติบท คือ บทที่ต้านทาน
บทที่ซ่อนเร้น บทที่เป็นสรณะ บทที่ไม่มีภัย บทที่ไม่มีความเคลื่อน บท
อมตะ บทนิพพาน สัพพัญญุตญาณท่านกล่าวว่า ญาณเป็นดังดวงตา
ในคำว่า สหาชเนตฺต ดังนี้ ญาณเป็นดังดวงตาและความเป็นพระชินเจ้า
เกิดขึ้นแล้วแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ในขณะเดียวกัน ไม่ก่อน
ไม่หลังกันที่ควงไม้โพธิพฤกษ์ เพราะเหตุนั้น พระพุทธเจ้า จึงชื่อว่า มี
ญาณเป็นดังดวงตาอันเกิดพร้อมกับความตรัสรู้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้มีญาณเป็นดังดวงตาอันเกิดพร้อมกับความตรัสรู้ ขอพระ-
องค์จงตรัสบอกสันติบท.
[392] อมตนิพพาน คือ ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละ-
คืน อุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ ความ
ออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด ท่านกล่าวว่า ยถาตจฺฉํ ในอุเทศว่า
ยถาตจฺฉํ ภควา พฺรูหิ เมตํ ดังนี้.
คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯ ล ฯ คำว่า ภควา นี้
เป็นสัจฉิกาบัญญัติ.

คำว่า ขอพระองค์จงตรัสบอกนิพพานนั้นแก่ข้าพระองค์ ความว่า
ขอพระองค์จงตรัสบอก ฯ ล ฯ ขอจงทรงประกาศ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์จงตรัสบอกนิพพานนั้นแก่ข้าพระ-
องค์ เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้แกล้วกล้า ข้าพระองค์ได้ฟังแล้วว่า
พระองค์ไม่มีความใคร่ในกาม ล่วงพ้นห้วงกิเลสแล้ว
จึงมาเพื่อจะทูลถามพระองค์ผู้ไม่มีกาม ข้าแต่พระองค์
ผู้มีญาณดังดวงตา อันเกิดพร้อมกับความตรัสรู้ ขอ
พระองค์จงตรัสบอกสันติบท ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ขอพระองค์จงตรัสบอกธรรมอันแท้จริงนั้นแก่ข้าพระองค์.

[393] พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีเดช ทรงประกอบด้วยเดช
ทรงครอบงำกามทั้งหลายแล้วดำเนินไป เหมือนพระ-
อาทิตย์อันมีแสงสว่าง ประกอบด้วยเดช ย่อมส่องแสง
ปกคลุมทั่วปฐพี ขอพระองค์ผู้มีปัญญากว้างขวางดุจแผ่น
ดิน โปรดตรัสบอกธรรมเครื่องละชาติและชราในภพนี้ ที่
ข้าพระองค์พึงทราบได้ แก่ข้าพระองค์ผู้มีปัญญาน้อยเถิด.

[394] คำว่า ภควา ในอุเทศว่า ภควา หิ กาเม อภิภุยฺย อิริยติ
ดังนี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯ ล ฯ คำว่า ภควา นี้ เป็นสัจฉิกา-
บัญญัติ.
โดยหัวข้อว่า กาม ในคำว่า กาเม กามมี 2 คือ วัตถุกาม 1 กิเลส-
กาม 1 ฯ ล ฯ เหล่านี้ท่านกล่าวว่า วัตถุกาม ฯ ล ฯ เหล่านี้ท่านกล่าวว่า

กิเลสกาม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำหนดรู้วัตถุกาม ทรงละ ทรงครอบงำ
ทรงปกคลุม ทรงท่วมทับ ทรงกําจัด ทรงย่ำยีแล้ว ซึ่งกิเลสกาม เสด็จ
เที่ยวไป ดำเนินไป เป็นไป รักษา บำรุง ทรงเยียวยา เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครอบงำกามทั้งหลายแล้วดำเนินไป.
[395] พระอาทิตย์ ท่านกล่าวว่า อาทิจฺโจ ในอุเทศว่า อาทิจฺโจว
ปฐวึ เตชี เตชสา
ดังนี้.
ชรา1 ท่านกล่าวว่า ปฐพี พระอาทิตย์มีแสงสว่าง ประกอบด้วย
เดช คือ รัศมี ส่องแผ่ปกคลุมครอบปฐพี ให้ร้อน เลื่อนลอยไปใน
อากาศทั่วไป กำจัดมืด ส่องแสงสว่างไปในอากาศอันว่างเป็นทางเดิน
ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีเดชคือพระญาณ ประกอบด้วยเดชคือ
พระญาณ ทรงกำจัดแล้วซึ่งสมุทัยแห่งอภิสังขารทั้งปวง ฯ ล ฯ ความมืด
คือกิเลส อันธการคืออวิชชา ทรงแสดงแสงสว่างคือญาน ทรงกำหนด
รู้ซึ่งวัตถุกาม ทรงละ ทรงครอบงำ ทรงปกคลุม ทรงท่วมทับ ทรง
กำจัด ทรงย่ำยี ซึ่งกิเลสกาม ย่อมเสด็จเที่ยวไป ดำเนินไป รักษา
บำรุง เยียวยา ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหมือนพระ-
อาทิตย์มีแสงสว่าง ประกอบด้วยเดช ย่อมส่องแสงปกคลุมทั่วปฐพี.
[396] คำว่า มีพระปัญญาสร้างขวางดุจแผ่นดิน. . . แก่ข้า-
พระองค์ผู้มีปัญญาน้อย
ความว่า ข้าพระองค์ผู้มีปัญญาน้อย คือ มี
ปัญญาทราม มีปัญญาต่ำ ส่วนพระองค์มีพระปัญญาใหญ่ มีพระปัญญา
มาก มีพระปัญญาร่าเริง มีพระปัญญาแล่น มีพระปัญญากล้าแข็ง มี
พระปัญญาทำลายกิเลส.
ปฐพี ท่านกล่าวว่า ภูริ พระองค์ทรงประกอบด้วยพระปัญญาอัน
1. ม. ชคตี แปลว่า แผ่นดิน.

ไพบูลย์ กว้างขวาง เสมอด้วยแผ่นดิน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีพระ-
ปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดิน ... แก่ข้าพระองค์ผู้มีปัญญาน้อย.
[397] คำว่า ขอจงตรัสบอกธรรม ในอุเทศว่า อาจิกฺข ธมฺมํ
ยมหํ วิชญฺญํ
ดังนี้ ความว่า ขอจงตรัสบอก ... ขอจงประกาศซึ่ง
พรหมจรรย์อันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้ง
อรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริสุทธิ์สิ้นเชิง คือ สติปัฏฐาน 4 ฯ ล ฯ
นิพพาน และข้อปฏิบัติให้ถึงนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ขอจงตรัส
บอกธรรม.
คำว่า ที่ข้าพระองค์พึงทราบได้ ความว่า ที่ข้าพระองค์พึงรู้ คือ
พึงรู้แจ้ง พึงรู้แจ้งเฉพาะ พึงแทงตลอด พึงบรรลุ พึงถูกต้อง พึงทำ
ให้แจ้ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ขอจงตรัสบอกธรรมที่ข้าพระองค์พึง
ทราบได้.
[398] คำว่า เครื่องละชาติและชราในภพนี้ ความว่า ธรรม
เป็นเครื่องละ เครื่องสงบ เครื่องสละคืน เครื่องระงับ ซึ่งชาติ ชรา
และมรณะในภพนี้แล คือ อมตนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เครื่อง
ละชาติและชราในภพนี้ เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีเดช ทรงประกอบด้วยเดช
ทรงครอบงำกามทั้งหลายแล้วดำเนินไป เหมือนพระ-
อาทิตย์อันมีแสงสว่าง ประกอบด้วยเดช ย่อมส่องแสง
ปกคลุมทั่วปฐพี ขอพระองค์ผู้มีพระปัญญากว้างขวางดุจ
แผ่นดิน โปรดตรัสบอกธรรมเครื่องละชาติและชราใน

ภพนี้ ที่ข้าพระองค์พึงทราบได้ แก่ข้าพระองค์ผู้มีปัญญา
น้อยเถิด.

[399] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนชตุกัณณี)
ท่านเห็นแล้วซึ่งเนกขัมมะโดยความเกษม จงกำจัด
ความกำหนัดในกามทั้งหลายเสีย กิเลสเครื่องกังวลที่ท่าน
ยึดไว้ ควรสลัดเสีย อย่าได้มีแก่ท่านเลย.

[400] โดยหัวข้อว่า กาเมสุ ในอุเทศว่า กาเมสุ วินยเคธํ
ดังนี้ กาม มี 2 คือ วัตถุกาม 1 กิเลสกาม 1 ฯ ล ฯ เหล่านี้
ท่านกล่าวว่าวัตถุกาม ฯ ล ฯ เหล่านี้ท่านกล่าวว่ากิเลสกาม ตัณหา ราคะ
สาราคะ ฯ ล ฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ท่านกล่าวว่า ความกำหนัด
ในคำว่า เคธํ.
คำว่า จงกำจัดความกำหนัดในกามทั้งหลายเสีย ความว่า ท่าน
จงกำจัด คือ จงปราบปราม จงละ จงบรรเทา จงทำให้สิ้นสุด ให้
ถึงความไม่มี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ท่านจงกำจัดความกำหนัดในกาม
ทั้งหลายเสีย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยโคตรว่า
ชตุกัณณี.
คำว่า ภควา นี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯ ล ฯ คำว่า ภควา
นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสตอบว่า ดูก่อนชตุกัณณี.
[401] คำว่า ซึ่งเนกขัมมะ ในอุเทศว่า เนกฺขมฺมํ ทฏฺฐุ เขมโต
ดังนี้ ความว่า เห็น คือ เห็นแจ้ง เทียบเคียง พิจารณา เจริญ ทำ

ให้แจ้งแล้ว ชิงความปฏิบัติชอบ ความปฏิบัติสมควร ความปฏิบัติไม่
เป็นข้าศึก ความปฏิบัติเป็นไปตามประโยชน์ ความปฏิบัติธรรมสมควร
แก่ธรรม ความทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ความคุ้มครองทวารใน
อินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ การประกอบความ
เพียรในความเป็นผู้ตื่น สติสัมปชัญญะ สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4
อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8
นิพพานและข้อปฏิบัติให้ถึงนิพพาน โดยความเกษม คือ โดยเป็นที่
ต้านทาน โดยเป็นที่ซ่อนเร้น โดยเป็นสรณะ โดยเป็นที่พึ่ง โดยไม่มีภัย
โดยความไม่เคลื่อนไหว โดยความไม่ตาย โดยเป็นธรรมออกจากตัณหา
เครื่องร้อยรัด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เห็นแล้วซึ่งเนกขัมมะ โดยความ
เกษม.
[402] คำว่า ที่ท่านยึดไว้ ในอุเทศว่า อุคฺคหิตํ นิรตฺตํ วา
ดังนี้ ความว่า ที่ท่านยึด คือจับต้อง ถือมั่น ติดใจ น้อมใจไปด้วย
สามารถตัณหา ด้วยสามารถทิฏฐิ.
คำว่า ควรสลัดเสีย ความว่า ควรสลัด คือ ควรปล่อย ควรละ
ควรบรรเทา ควรทำให้สิ้นสุด ควรให้ถึงความไม่มี เพราะฉะนั้น จึง
ชื่อว่า ที่ท่านยึดไว้ ควรสลัดเสีย.
[403] คำว่า กิเลสเครื่องกังวลอย่าได้มีแก่ท่าน ความว่า
กิเลสเครื่องกังวลคือราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส ทุจริต
กิเลสเครื่องกังวลนี้อย่าได้มี คือ อย่าได้ประจักษ์ อย่าได้ปรากฏ คือ
ท่านจงละ จงบรรเทา จงทำให้สิ้นสุด จงให้ถึงความไม่มี เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า กิเลสเครื่องกังวล อย่าได้มีแล้วแก่ท่าน เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ท่านเห็นแล้วซึ่งเนกขัมมะโดยความเกษม จงกำจัด
ความกำหนัดในกามทั้งหลายเสีย กิเลสเครื่องกังวลที่ท่าน
ยึดไว้ ควรสลัดเสียอย่าได้มีแก่ท่านเลย.

[404] กิเลสชาติใดในกาลก่อน ท่านจงเผากิเลสชาตินั้นให้
เหือดแห้งไป กิเลสเครื่องกังวลในภายหลัง อย่าได้มีแล้ว
แก่ท่าน ถ้าท่านจักไม่ถือ (รูปาทิสังขาร) ในท่ามกลาง
ท่านจักเป็นผู้สงบแล้วเที่ยวไป.

[405] คำว่า กิเลสชาติใดในกาลก่อน ท่านจงเผากิเลสชาติ
นั้นให้เหือดแห้งไป
ความว่า กิเลสเหล่าใดพึงเกิดขึ้นเพราะปรารภถึง
สังขารทั้งหลายในอดีตกาล ท่านจงเผากิเลสเหล่านั้นให้เหือดไป คือให้
แห้งไป ให้เกรียม ให้กรอบ จงทำให้ไม่มีพืช จงละ จงบรรเทา จง
ทำให้สิ้นสุด จงให้ถึงความไม่มี แม้เพราะเหตุอย่างนี้ ดังนี้จึงชื่อว่า
กิเลสชาติใด ในกาลก่อน ท่านจงเผากิเลสชาตินั้นให้เหือดแห้งไป.
อนึ่ง กรรมาภิสังขารส่วนอดีตเหล่าใด อันให้ผลแล้ว ท่านจงเผา
กรรมาภิสังขารเหล่านั้นให้เหือดไป คือ ให้แห้งไป ให้เกรียม ให้กรอบ
จงทำให้ไม่มีพืช จงละ จงบรรเทา จงทำให้สิ้นสุด จงให้ถึงความไม่มี
แม้เพราะเหตุอย่างนี้ ดังนี้จึงชื่อว่า กิเลสชาติใดในกาลก่อน ท่านจงเผา
กิเลสชาตินั้นให้เหือดแห้งไป.

[406] คำว่า กิเลสเครื่องกังวลในภายหลังอย่าได้มีแล้วแก่ท่าน
ความว่า กิเลสเครื่องกังวลในอนาคต ตรัสว่า กิเลสเครื่องกังวลในภาย
หลัง กิเลสเครื่องกังวลคือราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส
ทุจริต พึงเกิดขึ้นเพราะปรารภสังขารทั้งหลายในอนาคต กิเลสเครื่อง
กังวลนี้ อย่าได้มีมาแล้วแก่ท่าน คือ ท่านจงอย่ายังกิเลสเครื่องกังวลนั้น
ให้เกิด อย่าให้เกิดพร้อม อย่าให้บังเกิด จงละ จงบรรเทา จงทำให้
สิ้นสุด จงให้ถึงความไม่มี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กิเลสเครื่องกังวลใน
ภายหลังอย่าได้มีแล้วแก่ท่าน.
[407] คำว่า ถ้าท่านจักไม่ถือ (รูปาทิสังขาร) ในท่ามกลาง
ความว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นปัจจุบัน ตรัสว่า
ท่ามกลาง ท่านจักไม่ถือ คือ จักไม่ยึดถือ จักไม่ลูบคลำ จักไม่เพลิดเพลิน
จักไม่ติดใจ ซึ่งสังขารอันเป็นปัจจุบันด้วยสามารถตัณหา ด้วยสามารถ
ทิฏฐิ คือจักละ จักบรรเทา จักทำให้สิ้นสุด จักให้ถึงความไม่มี ซึ่ง
ความยินดี ความชอบใจ ความยึด ความถือ ความถือมั่น เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ถ้าท่านจักไม่ถือ (รูปาทิสังขาร) ในท่ามกลาง.
[408] คำว่า จักเป็นผู้สงบแล้วเที่ยวไป ความว่า ชื่อว่า จัก
เป็นผู้สงบ เข้าไปสงบ เข้าไปสงบวิเศษ ดับ ระงับ เพราะความที่ราคะ
โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ฯ ล ฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวง
สงบแล้ว ถึงความสงบแล้ว สงบวิเศษ เผาเสียแล้ว ให้ดับไปแล้ว จัก
เที่ยวไป เที่ยวไปทั่ว เป็นไป รักษา บำรุง เยียวยา เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า จักเป็นผู้สงบแล้วเที่ยวไป เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสว่า

กิเลสชาติใดในกาลก่อน ท่านจงเผากิเลสชาตินั้นให้
เหือดแห้งไป กิเลสเครื่องกังวลในภายหลังอย่าได้มีแล้ว
แก่ท่าน ถ้าท่านจักไม่ถือ (รูปาทิสังขาร) ในท่ามกลาง
ท่านจักเป็นผู้สงบแล้วเที่ยวไป.


[409] ดูก่อนพราหมณ์ อาสวะทั้งหลายอันเป็นเหตุให้ถึง
อำนาจแห่งมัจจุ ย่อมไม่มีแก่พระอรหันตขีณาสพ ผู้
ปราศจากความกำหนัดในนามรูปโดยประการทั้งปวง.

[410] คำว่า โดยประการทั้งปวง ในอุเทศว่า สพฺพโส นาม-
รูปสฺมึ วีตเคธสฺส พฺราหฺมณ
ความว่า ทั้งปวงโดยกำหนดทั้งปวง
ทั้งปวงโดยประการทั้งปวง ไม่เหลือ มีส่วนไม่เหลือ.
คำว่า สพฺพโส นี้ เป็นเครื่องกล่าวรวมหมด. อรูปขันธ์ 4 ชื่อว่า
นาม มหาภูตรูป 4 และรูปอาศัยมหาภูตรูป 4 ชื่อว่า รูป. ตัณหา ราคะ
สาราคะ ฯ ล ฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ตรัสว่า ความกำหนัด.
คำว่า ดูก่อนพราหมณ์. . . ผู้ปราศจากความกำหนัดในนามรูป
โดยประการทั้งปวง
ความว่า ผู้ปราศจากความกำหนัดในนามรูป คือ
มีความกำหนัดในนามรูปไปปราศแล้ว มีความกำหนัดอันสละแล้ว สำรอก
แล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สละคืนแล้ว ปราศจากความยินดี คือมีความ
ยินดีไปปราศแล้ว มีความยินดีอัน สละแล้ว สำรอกแล้ว ปล่อยแล้ว
ละแล้ว สละคืนแล้ว ในนามรูป โดยประการทั้งปวง เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ดูก่อนพราหมณ์. . . ผู้ปราศจากความกำหนัดในนามรูปโดย
ประการทั้งปวง.

[411] อาสวะ ในคำว่า อาสวา ในอุเทศว่า อาสวสฺส น
วิชฺชนฺติ
ดังนี้ มี 4 คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ.
คำว่า อสฺส คือ พระอรหันตขีณาสพ.
คำว่า ย่อมไม่มี คือ อาสวะเหล่านี้ย่อมไม่มี ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ
ไม่ประจักษ์ แก่พระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น คืออาสวะเหล่านี้อันพระ-
อรหันตขีณาสพนั้นละได้แล้ว ตัดขาดแล้ว สงบแล้ว ระงับแล้ว ทำไม่
ให้อาจเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อาสวะ
ทั้งหลาย . . . ย่อมไม่มีแก่พระอรหันตขีณาสพนั้น.
[412] คำว่า เป็นเหตุให้ถึงอำนาจแห่งมัจจุ ความว่า บุคคล
พึงถึงอำนาจแห่งมัจจุ พึงถึงอำนาจแห่งมรณะ หรือพึงถึงอำนาจแห่ง
พวกของมารด้วยอาสวะเหล่าใด อาสวะเหล่านั้นย่อมไม่มี ไม่มีอยู่ ไม่
ปรากฏ ไม่ประจักษ์แก่พระอรหันตขีณาสพนั้น คืออาสวะเหล่านั้นอัน
พระอรหันตขีณาสพนั้นละได้แล้ว ตัดขาดแล้ว สงบแล้ว ระงับแล้ว
ทำไม่ให้อาจเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
เป็นเหตุให้ถึงอำนาจแห่งมัจจุ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ดูก่อนพราหมณ์ อาสวะทั้งหลายอันเป็นเหตุให้ถึง
อำนาจแห่งมัจจุ ย่อมไม่มีแก่พระอรหันตขีณาสพ ผู้
ปราศจากความกำหนัดในนามรูปโดยประการทั้งปวง.

พร้อมด้วยเวลาจบพระคาถา ฯ ล ฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก ฉะนี้แล.
จบชตุกัณณีมาณวกปัญหานิทเทสที่ 11

อรรถกถาชตุกัณณีมาณวกปัญหานิทเทสที่ 11


พึงทราบวินิจฉัยในชตุกัณณีสูตรที่ 11 ดังต่อไปนี้.
บทว่า สุตฺวานหํ วีร อกามกามึ ข้าแต่พระองค์ผู้แกล้วกล้า ข้า-
พระองค์ได้ฟังแล้วว่าพระองค์ไม่มีความใคร่กาม คือข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว
ว่าพระพุทธองค์ไม่มีความใคร่กาม เพราะไม่ประสงค์กามทั้งหลาย โดย
นัยมีอาทิว่า อิติปิ โส ภควา ดังนี้. บทว่า อกามมาคมํ ผู้ไม่มีกาม คือ
ข้าพระองค์มาเพื่อจะทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ไม่มีกาม. บทว่า สหา-
ชเนตฺต
คือ ผู้มีญาณดังดวงตาอันเกิดพร้อมกับการตรัสรู้. บทว่า
ยถาตจฺฉํ คือ ธรรมอันแท้จริง. ชตุกัณณีมาณพทูลวิงวอนอยู่อีกว่า
ขอพระองค์จงทรงบอกแก่ข้าพระองค์เถิด. เพราะว่าชตุกัณณีมาณพควรจะ
ทูลวิงวอนอยู่แม้พันครั้ง จะกล่าวพูดไปทำไมถึงสองครั้ง.
ความแห่งบททั้งหลายนี้ว่า อิติปิ โส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ
ได้กล่าวไว้พิสดารแล้วในหนหลัง.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็น วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน เพราะเป็นผู้ถึงพร้อม
แล้วด้วยวิชชาและจรณะ. ในบทนั้น บทว่า วิชฺชา ได้แก่วิชชา 3 บ้าง
วิชชา 8 บ้าง. วิชชา 3 พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในภยเภรวสูตร
นั่นแล. วิชชา 8 พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในอัมพัฏฐสูตร. ในบทว่า
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน นั้น ท่านกล่าววิชชา 8 กำหนดเอาอภิญญา 6
พร้อมด้วยวิปัสสนาญาณและมโนมยิทธิ. พึงทราบธรรม 15 อย่างเหล่านี้
คือ การสำรวมในศีล 1 ความเป็นผู้มีทวารคุ้มครองแล้วในอินทรีย์
ทั้งหลาย 1 ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค 1 การประกอบความ