เมนู

เป็นต้นนั้น. จิตของพระอนาคามี พ้น พ้นวิเศษ พ้นวิเศษดีแล้วจาก
กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ จากกามราคานุสัย ปฏิฆานุสัยส่วน
ละเอียด และจากเหล่ากิเลสที่ตั้งอยู่ในฝ่ายเดียวกันกับกามราคสังโยชน์
เป็นต้นนั้น. จิตของพระอรหันต์ พ้น พ้นวิเศษ พ้นวิเศษดีแล้วจาก
รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธจัจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย
อวิชชานุสัย เหล่ากิเลสที่ตั้งอยู่ในฝ่ายเดียวกันกับรูปราคะเป็นต้นนั้น และ
จากสรรพนิมิตภายนอก. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุเป็นผู้มีสติ มีจิต
พ้นวิเศษดีแล้ว.

ว่าด้วยจิตที่เป็นกาลของสมถะและวิปัสสนา


[987] คำว่า ตามกาล ในคำว่า ภิกษุนั้น เมื่อกำหนดพิจารณา
ธรรมโดยชอบตามกาล
ความว่า เมื่อจิตไม่ฟุ้งซ่านเป็นกาลของสมถะ
เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นกาลของวิปัสสนา.
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
โยคีผู้ใด ย่อมประคองจิตในกาล ย่อมข่มจิตใน
กาลอื่น ย่อมให้จิตรื่นเริงโดยกาล ย่อมตั้งจิตไว้ในกาล
ย่อมวางเฉยตามกาล โยคีผู้นั้น ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในกาล
ความประคองจิตควรมีในกาลไหน ความข่มจิตควรมีใน
กาลไหน กาลเป็นที่ให้จิตรื่นเริงควรมีในกาลไหน และ
กาลของสมถะเป็นกาลเช่นไร บัณฑิตย่อมแสดงกาลเป็น
ที่วางเฉยแห่งจิตของโยคีบุคคลอย่างไร เมื่อจิตของโยคี
บุคคลย่อหย่อน เป็นกาลที่ควรประคองไว้ เมื่อจิตของ