เมนู

เราไม่ได้ทำให้แจ้งซึ่งนิโรธ. คำว่า พึงเข้ารูปตัดความตรึก ธรรมเป็นที่
อาศัยอยู่แห่งความตรึก และความรำคาญ
ความว่า ภิกษุพึงเข้าไปตัด
ตัดขาด ละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความตรึก
ธรรมเป็นที่อาศัยอยู่แห่งความตรึก และความรำคาญ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
พึงเข้าไปตัดความตรึก ธรรมเป็นที่อาศัยอยู่แห่งความตรึกและความรำคาญ
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ภิกษุเป็นผู้สำรวมจักษุ ไม่พึงเป็นผู้โลเลเพราะเท้า
พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน พึงเป็นผู้ตื่นอยู่มาก พึงเป็น
ผู้ปรารภอุเบกขา มีจิตตั้งมั่น และพึงเข้าไปตัดความตรึก
ธรรมเป็นที่อาศัยอยู่แห่งความตรึกและความรำคาญ.

[975] ภิกษุลูกตักเตือนด้วยวาจา พึงเป็นผู้มีสติชอบใจ พึง
ทำลายความเป็นผู้กระด้างในสพรหมจารีทั้งหลาย พึง
เปล่งวาจาอันเป็นกุศล ไม่พึงเปล่งวาจาเกินขอบเขต ไม่
พึงคิดเพื่อธรรม คือการว่ากล่าวซึ่งชน.


ว่าด้วยการยินดีในการตักเตือน


[976] คำว่า ถูกตักเตือน ในคำว่า ภิกษุถูกตักเตือนด้วยวาจา
พึงเป็นผู้มีสติชอบใจ
ความว่า พระอุปัชฌายะ พระอาจารย์ พระเถระ
ปูนอุปัชฌายะ พระเถระปูนอาจารย์ มิตรผู้เคยเห็นกัน ผู้ที่เคยคบกันมา
หรือสหาย ตักเตือนว่า ท่านผู้มีอายุ กรรมนี้ไม่ควรแก่ท่าน กรรมนี้ยัง
ไม่ถึงแก่ท่าน กรรมนี้ไม่เหมาะแก่ท่าน กรรมนี้ไม่งดงามแก่ท่าน ภิกษุ

ผู้ถูกตักเตือนนั้น พึงเข้าไปตั้งสติยินดี ชอบใจ เบิกบานใจ อนุโมทนา
อยากได้ ประสงค์ ปรารถนา รักใคร่ ติดใจ ซึ่งความตักเตือนนั้น
เหมือนสตรีหรือบุรุษที่เป็นสาวเป็นหนุ่ม กำลังเจริญ ชอบแต่งตัว อาบน้ำ
ดำเกล้าแล้ว ได้พวงมาลัยดอกบัวก็ดี พวงมาลัยดอกมะลิก็ดี พวงมาลัย
ดอกลำดวนก็ดี รับด้วยมือทั้งสองแล้ว เอาวางไว้บนศีรษะ ซึ่งเป็นอวัยวะ
สูงสุด พึงยินดี ชอบใจ เบิกบานใจ อนุโมทนา อยากได้ ประสงค์
ปรารถนา รักใคร่ ติดใจ ฉันใด ภิกษุผู้ถูกตักเตือนนั้น พึงเข้าไปตั้ง
สติยินดี ชอบใจ เบิกบานใจ อนุโมทนา อยากได้ ประสงค์ ปรารถนา
รักใคร่ ติดใจ ซึ่งความตักเตือนนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน.
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
บุคคลพึงเห็นผู้ใด ผู้แสดงโทษ กล่าวข่มขี่ มีปัญญา
ว่าเป็นเหมือนบุคคลผู้ชี้บอกขุมทรัพย์ให้ พึงคบหาบุคคล
เช่นนั้น ผู้เป็นบัณฑิต เมื่อคบบัณฑิตเช่นนั้น มีแต่คุณ
อันประเสริฐ ไม่มีโทษลามกเลย บุคคลพึงกล่าวสอน
พึงพร่ำสอน และพึงห้ามจากธรรมของอสัตบุรุษ บุคคล
นั้นเป็นที่รักของพวกสัตบุรุษเท่านั้น เป็นที่ชังของพวก
อสัตบุรุษ ดังนี้.

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุถูกตักเตือนด้วยวาจา พึงเป็นผู้มีสติชอบใจ.
[977] ชื่อว่า สพรหมจารี ในคำว่า พึงทำลายความเป็นผู้
กระด้างในสพรหมจารีทั้งหลาย
คือ บุคคลที่มีกรรมเป็นอันเดียวกัน มี
อุเทศเป็นอันเดียวกัน มีสิกขาเสมอกัน. คำว่า พึงทำลายความเป็นผู้
กระด้างในสพรหมจารีทั้งหลาย
ความว่า พึงทำลายความเป็นผู้มีจิตอัน

ความโกรธกระทบเข้าแล้ว ความเป็นผู้มีจิตกระด้างในสพรหมจารีทั้งหลาย
คือพึงทำลายความกระด้างแห่งจิตทั้ง 5 พึงทำลายความกระด้างแห่งจิต
ทั้ง 3 พึงทุบ ทำลาย กำจัด ซึ่งความกระด้างเพราะราคะ ความกระด้าง
เพราะโทสะ ความกระด้างเพราะโมหะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงทำลาย
ความเป็นผู้กระด้างในสพรหมจารีทั้งหลาย.

ว่าด้วยขอบเขตการเปล่งวาจา 2 อย่าง


[978] คำว่า พึงเปล่งวาจาอันเป็นกุศล ไม่พึงเปล่งวาจาเกิน
ขอบเขต
ความว่า พึงเปล่งวาจาอันเกิดขึ้นแต่ญาณ คือ พึงเปล่ง
เปล่งออก เปล่งออกดี ซึ่งวาจาอันประกอบด้วยอรรถ อันประกอบด้วย
ธรรม ซึ่งเป็นวาจาประกอบด้วยประโยชน์ มีที่อ้างอิง มีที่สุด ตามกาล
อันควร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงเปล่งวาจาที่อันเป็นกุศล. ชื่อว่า ขอบ
เขต
ในคำว่า ไม่พึงเปล่งวาจาเกินขอบเขต ได้แก่ ขอบเขต 2 อย่าง
คือขอบเขตกาล 1 ขอบเขตศีล 1.
ขอบเขตกาลเป็นไฉน ภิกษุไม่พึงกล่าววาจาล่วงเกินกาล ไม่พึง
กล่าววาจาล่วงเกินเวลา ไม่พึงกล่าววาจาล่วงเกินกาลและเวลา ไม่พึง
กล่าววาจาที่ยังไม่ถึงกาล ไม่พึงกล่าววาจาที่ยังไม่ถึงเวลา ไม่พึงกล่าววาจา
ที่ยังไม่ถึงกาลและเวลา.
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ก็ผู้ใด เมื่อยังไม่ถึงกาลอันควร ย่อมกล่าววาจาเกิน
เวลา ผู้นั้นย่อมถูกฆ่านอนอยู่ เหมือนลูกของนางนก
ดุเหว่าที่นางกาเลี้ยงไว้ฉะนั้น
ดังนี้.
นี้ชื่อว่า ขอบเขตกาล.