เมนู

อนุสัยไม่ดำเนินออก เลื่อน เคลื่อนไปด้วยธรรมทั้งหลาย อันทำให้
เป็นพวก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ถึงความลำเอียงในธรรมทั้งหลาย.

ว่าด้วยผู้สงบ


[441] คำว่า บุคคลนั้นแลเรียกว่า ผู้สงบ ความว่า ผู้นั้น
เราเรียก คือ บอก พูด แสดง แถลงว่า ผู้สงบ เข้าไปสงบ เข้าไปสงบ
พิเศษ ดับ ระงับแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้นั้นแล เรียกว่า ผู้สงบ
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ผู้ใดไม่มีความถือว่าของตนในโลก เมื่อสิ่งที่ถือว่า
ของตนไม่มีอยู่ ย่อมไม่เศร้าโศกถึง และไม่ถึงความ
ลำเอียงในธรรมทั้งหลาย ผู้นั้นแลเรียกว่า ผู้สงบ.

จบปุราเภทสุตตนิทเทสที่ 10

สัทธัมมปัชโชติกา


อรรถกถาขุททกนิกาย มหานิทเทส


ภาคที่ 2


อรรถกถาปุราเภทสุตตนิทเทสที่ 10


พึงทราบวินิจฉัยในปุราเภทสุตตนิเทสที่ 10 ดังต่อไปนี้.
พึงทราบเรื่องราวที่เกิดขึ้นโดยเหมือนกันแห่งสัตว์นี้ว่า กถํทสฺสี
บุคคลมีความเห็นอย่างไร ดังนี้เป็นต้น และสูตรอื่นจากสูตรนี้อีก 5 สูตร
คือ กลหวิวาทสูตร 1 จูฬวิยูหสูตร 1 มหาวิยูหสูตร 1 ตุวฏกสูตร 1
อัตตทัณฑสูตร 1 แต่โดยต่างกันพึงทราบดังต่อไปนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะทรงแสดงธรรมให้เป็นที่สบายของ
เทวดาที่เป็นราคจริตในมหาสมัยนั้น ทรงให้พระพุทธนิมิตตรัสถามปัญหา
กะพระองค์แล้วจึงได้ตรัส สัมมาปริพพชานียสูตร ขึ้นด้วยประการใด
ในมหาสมัยนี้ก็ด้วยประการนั้นเหมือนกัน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบ
จิตของทวยเทพผู้มีจิตเกิดขึ้นว่า ก่อนกายแตกควรจะทำอะไรหนอ เพื่อ
ทรงอนุเคราะห์ทวยเทพเหล่านั้น จึงทรงพาพระพุทธนิมิตพร้อมด้วยภิกษุ
บริวาร 2,500 รูปม้าทางอากาศ แล้วทรงให้พระพุทธนิมิตทูลถามพระ-
องค์ จึงได้ตรัสพระสูตรนี้. ตรัสไว้อย่างไร. ตรัสไว้ดังต่อไปนี้ ธรรมดา
พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้ใหญ่ยิ่ง เป็นสัตว์ผู้วิเศษ รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้
ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ได้รู้แจ้ง ได้ถึง ได้แสวงหา ได้เที่ยวตามไปด้วยใจ
ของโลกพร้อมด้วยเทวโลกด้วยตนเอง บรรดารูปารมณ์ที่จำแนกออกไป
โดยมีสีเขียวเป็นต้น รูปารมณ์ไร ๆ หรือบรรดาสัททารมณ์ที่จำแนกออก