เมนู

พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า แม้ถูกเขาด่าก็
ไม่ควรกล่าววาจาหยาบ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ภิกษุนั้นในธรรมวินัยนี้ ได้อาหารและเครื่องนุ่งห่ม
ในกาล พึงรู้จักประมาณเพื่อสันโดษ ภิกษุนั้นสำรวมใน
ปัจจัยเหล่านั้น เป็นผู้สำรวมเที่ยวไปในบ้าน แม้ถูกเขาด่า
ก็ไม่ควรกล่าววาจาหยาบ.

[969] ภิกษุพึงเป็นผู้สำรวมจักษุ ไม่พึงเป็นผู้โลเลเพราะเท้า
พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน พึงเป็นผู้ตื่นอยู่มาก พึงเป็น
ผู้ปรารภอุเบกขามีจิตตั้งมั่น และพึงเข้าไปตัดความตรึก
ธรรมที่อาศัยอยู่แห่งความตรึก และความรำคาญ.


ว่าด้วยการสำรวมจักษุ


[971] พึงทราบอธิบาย ในคำว่า พึงเป็นผู้สำรวมจักษุ ไม่พึง
เป็นผู้โลเลเพราะเท้า
ดังต่อไปนี้.
ภิกษุเป็นผู้ทอดจักษุไปอย่างไร ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เป็นผู้
โลเลเพราะจักษุ ประกอบด้วยความเป็นผู้โลเลเพราะจักษุ คิดว่า เราพึง
เห็นรูปที่ยังไม่ได้เห็น พึงผ่านเลยรูปที่ได้เห็นแล้ว ดังนี้ จึงเป็นผู้ประกอบ
เนือง ๆ ซึ่งความเที่ยวไปนาน ซึ่งความเที่ยวไปไม่แน่นอน เพื่อ
เห็นรูป จากอารามนี้ ไปยังอารามโน้น จากสวนนี้ไปยังสวนโน้น จาก
บ้านนี้ไปยังบ้านโน้น จากนิคมนี้ไปยังนิคมโน้น จากนครนี้ไปยังนคร
โน้น จากแคว้นนี้ไปยังแคว้นโน้น จากชนบทนี้ไปยังชนบทโน้น ภิกษุ
เป็นผู้ทอดจักษุไปแม้อย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเข้าไปสู่ละแวกบ้าน เดินไปตามถนน ไม่สำรวม
เดินไป เดินแลดูกองพลช้าง แลดูกองพลม้า แลดูกองพลรถ แลดู
กองพลเดินเท้า แลดูพวกสตรี แลดูพวกบุรุษ แลดูพวกกุมาร แลดู
พวกกุมารี แลดูร้านตลาด แลดูหน้ามุขเรือน แลดูข้างบน แลดูข้างล่าง
แลดูทิศน้อยทิศใหญ่ ภิกษุเป็นผู้ทอดจักษุไปแม้อย่างนี้ อีกอย่างหนึ่ง
ภิกษุเห็นรูปด้วยจักแล้ว ถือนิมิต ถืออนุพยัญชนะ ย่อมไม่ปฏิบัติ
เพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรม
อันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ย่อมไม่รักษาจักขุนทรีย์
ไม่ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ภิกษุเป็นผู้ทอดจักษุไปแม้อย่างนี้.
อนึ่ง เหมือนอย่างว่า ท่านสมณพราหมณ์จำพวกหนึ่ง ฉันโภชนะ
ที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ขวนขวายดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศลเห็น
ปานนี้ คือ การฟ้อน การขับ การประโคมมหรสพมีการรำเป็นต้น
การเล่านิยาย เพลงปรบมือ ฆ้อง ระนาด หนัง เพลงขอทาน ไต่ราว
การเล่นหน้าศพ ชนช้าง แข็งม้า ชนกระบือ ชนโค ชนแพะ ชนแกะ
ชนไก่ ชนนกกระทา รำกระบี่กระบอง ชกมวย มวยปล้ำ การบ การ
ตรวจพล การจัดกระบวนทัพ กองทัพ ภิกษุเป็นผู้ทอดจักษุไปแม้
อย่างนี้.

ภิกษุเป็นผู้ไม่ทอดจักษุอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นผู้
โลเลเพราะจักษุ ไม่ประกอบด้วยความเป็นผู้โลเลเพราะจักษุ ไม่คิดว่า
เราพึงเห็นรูปที่ยังไม่ได้เห็น พึงผ่านเลยรูปที่ได้เห็นแล้วดังนี้ เป็นผู้ไม่
ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความเที่ยวไปนาน ซึ่งความเที่ยวไปไม่แน่นอน
เพื่อเห็นรูป จากอารามนี้ไปยังอารามโน้น ... จากชนบทนี้ไปยังชนบท

โน้น ภิกษุไม่เป็นผู้ทอดจักษุไปแม้อย่างนี้ อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเข้าไปสู่
ละแวกบ้าน เดินไปตามทาง ย่อมสำรวมเดินไป ไม่เดินแลดูกอง
พลช้าง ฯลฯ ไม่แลดูทิศน้อยทิศใหญ่ ภิกษุเป็นผู้ไม่ทอดจักษุไปแม้
อย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเห็นรูปด้วย จักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุ-
พยัญชนะ ฯลฯ ย่อมถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ภิกษุไม่เป็นผู้ทอด
จักษุไปแม้อย่างนี้.
อนึ่ง เหมือนอย่างว่า ท่านสมณพราหมณ์จำพวกหนึ่ง ฉันโภชนะ
ที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ฯลฯ กองทัพ ภิกษุเว้นขาดจากดูการเล่นอัน
เป็นข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้ ภิกษุไม่เป็นผู้ทอดจักษุไปแม้อย่างนี้ เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุพึงเป็นผู้สำรวมจักษุ.

ว่าด้วยไม่โลเลเพราะเท้า


[971] พึงทราบอธิบายในคำว่า ไม่พึงเป็นผู้โลเลเพราะเท้า
ดังต่อไปนี้.
ภิกษุเป็นผู้โลเลเพราะเท้าอย่างไร ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้โลเลเพราะเท้า ประกอบด้วยความเป็นผู้โลเลเพราะเท้า คือ เป็นผู้
ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความเที่ยวไปนาน ซึ่งความเที่ยวไปไม่แน่นอน จาก
อารามนี้ไปยังอารามโน้น ฯลฯ ภิกษุเป็นผู้โลเลเพราะเท้าแม้อย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้โลเลเพราะเท้า ประกอบด้วยความเป็นผู้
โลเลเพราะเท้า ในภายในแห่งสังฆาราม ไม่ใช่เดินไปเพราะเหตุแห่ง
ประโยชน์ ไม่ใช่เดินไปเพราะเหตุแห่งการให้ทำ เป็นผู้ฟุ้งซ่าน มีจิต