เมนู

เสนาสนะอันสงัด หรือในธรรมทั้งหลายอันเป็นอธิกุศลอื่น ๆ เพราฉะนั้น
จึงชื่อว่า พึงปราบความไม่ยินดีในที่นอนอันสงัด.
[956] คำว่า พึงปราบธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความรำพัน 4 อย่าง
ความว่า พึงปราบ ข่ม ครอบงำ กำจัด ย่ำยี ซึ่งธรรมอันเป็นเหตุ
แห่งความรำพัน 4 อย่าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงปราบธรรมอันเป็น
เหตุแห่งความรำพัน 4 อย่าง เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสว่า
ภิกษุทำปัญญาไว้เบื้องหน้า มีปีติงาม พึงข่มอันตราย
เหล่านั้น พึงปราบความไม่ยินดีในที่นอนอันสงัด พึง
ปราบธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความรำพัน 4 อย่าง.

[957] เราจักฉันอะไร เราจักฉันที่ไหน วันนี้เรานอนลำบาก
หนอ พรุ่งนี้เราจักนอนที่ไหน ภิกษุผู้เสขะ พึงบำบัด
เสียซึ่งวิตกเหล่านี้อันเป็นที่ตั้งแห่งความรำพัน พึงเป็นผู้
ไม่มีกังวลท่องเที่ยวไป.


ว่าด้วยความวิตกอันเป็นที่ตั้งความรำพัน


[958] คำว่า เราจักฉันอะไร ในคำว่า เราจักฉันอะไร เราจัก
ฉันที่ไหน
ความว่า เราจักฉันอะไร คือ ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง
ปลา หรือเนื้อ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เราจักฉันอะไร. คำว่า เราจัก
ฉันที่ไหน
ความว่า เราจักฉันที่ไหน คือ ในสกุลกษัตริย์ สกุลพราหมณ์

สกุลแพศย์ หรือสกุลศูทร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เราจักฉันอะไร
เราจักฉันที่ไหน.
[959] คำว่า วันนี้เรานอนลำบากหนอ พรุ่งนี้เราจักนอนที่ไหน
ความว่า คืนนี้เรานอนลำบากบนแผ่นกระดาน บนเสื่อ บนท่อนหนัง
บนเครื่องลาดด้วยหญ้า บนเครื่องลาดด้วยใบไม้ หรือบนเครื่องลาดด้วยฟาง
คืนพรุ่งนี้เราจักนอนสบายที่ไหน คือที่เตียง ที่ตั้ง ที่ฟูก ที่หมอน ที่วิหาร
ที่เรือนมีหลังคาแถบเดียว ที่ปราสาท ที่เรือนมีหลังคาโล้น หรือที่ถ้ำ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วันนี้เรานอนลำบากหนอ พรุ่งนี้เราจักนอน
ที่ไหน.
[960] คำว่า ซึ่งวิตกเหล่านี้อันเป็นที่ตั้งแห่งความรำพัน ความ
ว่า ซึ่งวิตกอันปฏิสังวยุตด้วยบิณฑบาต 2 อย่าง ซึ่งวิตกอันปฏิสังยุตด้วย
เสนาสนะ 2 อย่าง อันเป็นที่ตั้งแห่งความรำพัน คือ เป็นฐานแห่งความ
ปรับทุกข์ เป็นมูลฐานแห่งความรำพัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ซึ่งวิตก
เหล่านี้อันเป็นที่ตั้งแห่งความรำพัน.

อธิบายคำว่าเสขะและคำว่าศึกษา


[961] ชื่อว่า เสขะ ในคำว่า ภิกษุผู้เสขะพึงบำบัดเสีย พึง
เป็นผู้ไม่มีกังวลท่องเที่ยวไป
ความว่า เพราะเหตุไรจึงเรียกว่า เสขะ
เพราะศึกษาจึงชื่อว่า เสขะ ศึกษาอะไร ศึกษาอธิศีลบ้าง ศึกษา
อธิจิตบ้าง ศึกษาอธิปัญญาบ้าง อธิศีลสิกขาเป็นไฉน ฯลฯ นี้ชื่อว่า
อธิปัญญาสิกขา. ภิกษุคำนึงถึงสิกขาสมมตินี้ ก็ชื่อว่า ศึกษา รู้ก็ชื่อว่า
ศึกษา เห็นก็ชื่อว่า ศึกษา พิจารณาก็ชื่อว่า ศึกษา ตั้งจิตก็ชื่อว่า ศึกษา