เมนู

บรรเทาเสียด้วยมนสิการว่า นี่เป็นฝักฝ่ายแห่งมารผู้มีกรรมดำ เพราะ
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ภิกษุไม่พึงทำความเป็นขโมย ไม่พึงพูดเท็จ พึงแผ่
เมตตาไปยังสัตว์ทั้งที่สะดุ้งและผู้มั่นคง เมื่อใด ภิกษุพึงรู้
ความขุ่นใจ เมื่อนั้น พึงบรรเทาเสียด้วยมนสิการว่า นี่
เป็นฝักฝ่ายแห่งมารผู้มีกรรมดำ.

[948] ภิกษุไม่พึงลุอำนาจแห่งความโกรธและความดูหมิ่น
พึงขุดรากความโกรธและความดูหมิ่นนั้นดำรงอยู่ อนึ่ง
ภิกษุเมื่อปราบก็พึงปราบที่รักและที่เกลียดชังเสียโดยแท้.


ความโกรธและความดูหมิ่น


[949] ชื่อว่า ความโกรธ ในคำว่า ภิกษุไม่พึงลุอำนาจ
ความโกรธและความดูหมิ่น
คือ ความอาฆาต ความมุ่งร้าย ฯลฯ
ความเป็นผู้ดุร้าย ความเพราะวาจาชั่ว ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต ชื่อว่า
ความดูหมิ่น คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมดูหมิ่นผู้อื่น โดยชาติบ้าง
โดยโคตรบ้าง ฯลฯ โดยวัตถุอื่น ๆ บ้าง. คำว่า ภิกษุไม่พึงลุอำนาจ
ความโกรธและความดูหมิ่น
ความว่า ไม่พึงลุอำนาจความโกรธและความ
ดูหมิ่น คือ พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความโกรธ
และความดูหมิ่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุไม่พึงลุอำนาจความโกรธ
และความดูหมิ่น.

รากของความโกรธและความดูหมิ่น


[950] รากแห่งความโกรธ ในคำว่า พึงขุดรากความโกรธและ
ความดูหมิ่นนั้นดำรงอยู่ เป็นไฉน
อวิชชา อโยนิโสมนสิการ อัสมิมานะ
อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ (แต่ละอย่าง) เป็นรากแห่งความโกรธ.
รากแห่งความดูหมิ่นเป็นไฉน อวิชชา อโยนิโสมนสิการ อัสมิมานะ
อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ (แต่ละอย่าง) เป็นรากแห่งความดูหมิ่น.
คำว่า พึงขุดรากความโกรธและความดูหมิ่นนั้นดำรงอยู่ ความว่า พึงขุด
รื้อ ถอน ฉุด กระชาก ละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี
ซึ่งความโกรธและความดูหมิ่นเสียดำรงอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงขุด
รากความโกรธและความดูหมิ่นนั้นดำรงอยู่.

ว่าด้วยที่รัก 2 อย่าง


[951] บทว่า อถ ในคำว่า อนึ่ง ภิกษุ เมื่อปราบก็พึงปราบที่รัก
และที่เกลียดชังเสียโดยแท้
เป็นบทสนธิ เป็นบทอุปสัค เป็นบทปท-
ปูรณะ ศัพท์ที่ประชุมอักขระ เป็นศัพท์สละสลวยด้วยพยัญชนะ เป็นลำดับ
บท. ชื่อว่าเป็นที่รัก ได้แก่ที่รัก 2 อย่าง คือ สัตว์ 1 สังขาร 1 สัตว์เป็น
ที่รักเป็นไฉน สัตว์ในโลกนี้เป็นผู้ปรารถนาความเจริญ ปรารถนาประโยชน์
เกื้อกูล ปรารถนาความผาสุก ปรารถนาความปลอดโปร่งจากโยคกิเลส
แก่บุคคลนั้น คือ เป็นมารดาบิดา พี่ชายน้องชาย พี่หญิงน้องหญิง บุตร
ธิดา มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต (ผู้สืบสาย) สัตว์เหล่านี้ ชื่อว่าเป็น
ที่รัก. สังขารเป็นที่รักเป็นไฉน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อัน
เป็นที่ชอบใจ สังขารเหล่านี้ ชื่อว่าเป็นที่รัก ชื่อว่าที่เกลียดชัง ได้แก่เป็น