เมนู

ถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง สุจริตทั้งปวง
ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง
อกุสลาภิสังขารทั้งปวง. คำว่า เมื่อใด ภิกษุพึงรู้ความขุ่นใจ ความว่า
ภิกษุพึงรู้ รู้ทั่ว รู้วิเศษ รู้วิเศษเฉพาะ แทงตลอดความที่จิตขุ่น เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อใด ภิกษุพึงรู้ความขุ่นใจ.

บรรเทาความขุ่นใจด้วยมนสิการ


[947] ผู้ให้สัตว์ตาย ผู้มีกรรมดำ ผู้เป็นใหญ่ ผู้ให้สัตว์ถึงความ
ตาย ผู้ไม่ให้สัตว์พ้นไป ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งผู้ประมาท ชื่อว่า ผู้มีกรรม
ดำ
ในคำว่า เมื่อนั้น พึงบรรเทาเสียด้วยมนสิการว่า นี่เป็นฝักฝ่าย
แห่งมารผู้มีกรรมดำ.
คำว่า เมื่อนั้น พึงบรรเทาเสียด้วยมนสิการว่า นี่
เป็นฝักฝ่ายแห่งมารผู้มีกรรมดำ ความว่า พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป
ให้ถึงความไม่มีด้วยมนสิการว่า นี่เป็นฝักฝ่ายผู้มีกรรมดำ เป็นฝักฝ่ายมาร
เป็นบ่วงมาร เป็นเบ็ดมาร เป็นเหยื่อมาร เป็นวิสัยมาร เป็นเครื่องให้
เดือดร้อนของมาร เป็นอาหารมาร เป็นเครื่องผูกของมาร แม้ด้วยเหตุ
อย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า เมื่อนั้น พึงบรรเทาเสียด้วยมนสิการว่า นี่เป็น
ฝักฝ่ายแห่งมารผู้มีกรรมดำ.
อีกอย่างหนึ่ง พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป
ให้ถึงความไม่มี ด้วยมนสิการว่า นี่เป็นฝักฝ่ายผู้มีกรรมดำ เป็นฝักฝ่ายมาร
เป็นฝักฝ่ายอกุศล เป็นเครื่องให้เกิดทุกข์ เป็นสภาพมีวิบากเป็นทุกข์
เป็นเหตุให้เป็นไปในนรก เป็นเหตุให้เป็นไปในกำเนิดดิรัจฉาน เป็นเหตุ
ให้เป็นไปในเปรตวิสัย แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า เมื่อนั้น พึง

บรรเทาเสียด้วยมนสิการว่า นี่เป็นฝักฝ่ายแห่งมารผู้มีกรรมดำ เพราะ
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ภิกษุไม่พึงทำความเป็นขโมย ไม่พึงพูดเท็จ พึงแผ่
เมตตาไปยังสัตว์ทั้งที่สะดุ้งและผู้มั่นคง เมื่อใด ภิกษุพึงรู้
ความขุ่นใจ เมื่อนั้น พึงบรรเทาเสียด้วยมนสิการว่า นี่
เป็นฝักฝ่ายแห่งมารผู้มีกรรมดำ.

[948] ภิกษุไม่พึงลุอำนาจแห่งความโกรธและความดูหมิ่น
พึงขุดรากความโกรธและความดูหมิ่นนั้นดำรงอยู่ อนึ่ง
ภิกษุเมื่อปราบก็พึงปราบที่รักและที่เกลียดชังเสียโดยแท้.


ความโกรธและความดูหมิ่น


[949] ชื่อว่า ความโกรธ ในคำว่า ภิกษุไม่พึงลุอำนาจ
ความโกรธและความดูหมิ่น
คือ ความอาฆาต ความมุ่งร้าย ฯลฯ
ความเป็นผู้ดุร้าย ความเพราะวาจาชั่ว ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต ชื่อว่า
ความดูหมิ่น คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมดูหมิ่นผู้อื่น โดยชาติบ้าง
โดยโคตรบ้าง ฯลฯ โดยวัตถุอื่น ๆ บ้าง. คำว่า ภิกษุไม่พึงลุอำนาจ
ความโกรธและความดูหมิ่น
ความว่า ไม่พึงลุอำนาจความโกรธและความ
ดูหมิ่น คือ พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความโกรธ
และความดูหมิ่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุไม่พึงลุอำนาจความโกรธ
และความดูหมิ่น.