เมนู

เหล่านั้นกระทบแล้วโดยอาการมากอย่าง เป็นผู้ไม่เปิด
โอกาส พึงทำความบากบั่นคือความเพียรให้มั่นไว้.

[943] ภิกษุไม่พึงทำความเป็นขโมย ไม่พึงพูดเท็จ พึงแผ่
เมตตาไปยังสัตว์ทั้งที่สะดุ้งและผู้มั่นคง เมื่อใด ภิกษุพึง
รู้ความขุ่นใจ เมื่อนั้น พึงบรรเทาเสียซึ่งความขุ่นใจด้วย
มนสิการว่า นี่เป็นฝักฝ่ายแห่งมารผู้มีกรรมดำ.

[944] คำว่า ภิกษุไม่พึงทำความเป็นขโมย ในคำว่า ภิกษุไม่
พึงทำความเป็นขโมย ไม่พึงพูดเท็จ
ความว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ละ
อทินนาทาน เป็นผู้เว้นขาดจากอทินนาทาน ถือเอาแต่ของที่เขาให้ หวัง
ได้แต่ของที่เขาให้ พึงเป็นผู้มีจิตไม่เป็นขโมยเป็นจิตสะอาดอยู่ เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุไม่พึงทำความเป็นขโมย. คำว่า ไม่พึงพูดเท็จ
ความว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ละมุสาวาท เว้นขาดจากมุสาวาท คือ
พูดจริง ดำรงคำสัตย์ มีถ้อยคำมั่นคงเชื่อถือได้ ไม่พูดให้เคลื่อนคลาดแก่
โลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุไม่พึงทำความเป็นขโมย ไม่พึงพูด
เท็จ.

การแผ่เมตตา


[945] ชื่อว่า เมตตา ในคำว่า พึงแผ่เมตตาไปยังสัตว์ทั้งที่
สะดุ้งและผู้มั่นคง
คือ ความไมตรี กิริยาที่รัก ความเป็นผู้มีความรัก
ความเอ็นดู กิริยาที่เอ็นดู ความเป็นผู้เอ็นดู ความแสวงหาประโยชน์
ความอนุเคราะห์ ความไม่พยาบาท ความไม่ปองร้าย ความไม่โกรธ

กุศลมูล สัตว์เหล่าใดยังละตัณหา อันทำให้สะดุ้งไม่ได้ และยังละความกลัว
และความขลาดไม่ได้ สัตว์เหล่านั้นชื่อว่าผู้สะดุ้ง เพราะเหตุอะไร สัตว์
เหล่านั้นจึงเรียกว่าสะดุ้ง สัตว์เหล่านั้นย่อมสะดุ้งหวาดเสียว ครั้นคร้าม กลัว
ถึงความสยดสยอง เพราะเหตุนั้น สัตว์เหล่านั้นจึงเรียกว่าผู้สะดุ้ง สัตว์
เหล่าใดละตัณหาอันทำให้สะดุ้งได้แล้ว และละความกลัวและความขลาด
ได้แล้ว สัตว์เหล่านั้นชื่อว่าผู้มั่นคง เพราะเหตุไร สัตว์เหล่านั้น จึงเรียกว่า
ผู้มั่นคง สัตว์เหล่านั้นย่อมไม่สะดุ้ง ไม่หวาดเสียว ไม่ครั้นคร้าม ไม่กลัว
ไม่ถึงความสยดสยอง เพราะเหตุนั้น สัตว์เหล่านั้นจึงเรียกว่าผู้มั่นคง. คำว่า
พึงแผ่เมตตาไปยังสัตว์ทั้งที่สะดุ้งและผู้มั่นคง ความว่า พึงถูกต้อง พึง
แผ่เมตตา คือพึงเป็นผู้มีจิตสหรคตด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็น
ใหญ่ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่พยาบาท แผ่ไปยังสัตว์ทั้งผู้สะดุ้งและ
ผู้มั่นคง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงแผ่เมตตาไปยังสัตว์ทั้งที่สะดุ้ง
และผู้มั่นคง.


คำว่าใจมีชื่อต่าง ๆ


[946] คำว่า เมื่อใด ในคำว่า เมื่อใด ภิกษุพึงรู้ความขุ่นใจ
ความว่า ในกาลใด. คำว่า ใจ คือ จิต ใจ มานัส หทัย บัณฑระ มนะ
มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุอันสมกันกับ
ผัสสะเป็นต้นนั้น จิตเป็นธรรมชาติขุ่นมัว เศร้าหมอง ยุ่ง วุ่น หวั่นไหว
หมุนไป ไม่สงบ เพราะกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ราคะ โทสะ
โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา
ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความหัวดื้อ ความแข่งดี ความ