เมนู

อันสงัด ว่าง เงียบ สงัด จากการเห็นรูปไม่เป็นที่สบาย จากการได้ยิน
เสียงไม่เป็นที่สบาย ฯลฯ อันสงัด ว่าง เงียบสงัด จากเบญจกามคุณ
อันไม่เป็นที่สบาย ผู้ซ่องเสพ อาศัยซ่องเสพ ซ่องเสพเสมอ ซ่องเสพเฉพาะ
ซึ่งที่นอนและที่นั่งอันสงัด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ซ่องเสพที่นั่งและ
ที่นอนอันสงัด.


ว่าด้วยสัมโพธิและธรรมอันควรแก่สัมโพธิ


[928] คำว่า ผู้ปรารถนาสัมโพธิ . . . และซึ่งธรรมอันสมควร
ความว่า ญาณ ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา วิปัสสนา สัมมาทิฏฐิ ในมรรค 4 เรียกว่า
สัมโพธิ. ผู้ปรารถนาเพื่อจะตรัสรู้ ปรารถนาเพื่อจะตามตรัสรู้ ปรารถนา
เพื่อจะตรัสรู้เฉพาะ ปรารถนาเพื่อจะตรัสรู้พร้อม ปรารถนาเพื่อจะบรรลุ
ปรารถนาเพื่อจะถูกต้อง ปรารถนาเพื่อจะทำให้แจ้ง ซึ่งสัมโพธินั้น
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ปรารถนาสัมโพธิ. คำว่า ซึ่งธรรมอันสมควร
ความว่า ธรรมอันสมควรต่อโพธิเป็นไฉน ? ความปฏิบัติชอบ ความ
ปฏิบัติอันสมควร ความปฏิบัติไม่เป็นข้าศึก ความปฏิบัติเป็นไปตาม
ประโยชน์ ความปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ความทำให้บริบูรณ์ในศีล
ทั้งหลาย ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้จัก
ประมาณในโภชนะ ความประกอบเนื่อง ๆ ในความเป็นผู้อื่น สติสัม-
ปชัญญะ ธรรมเหล่านี้ เรียกว่า ธรรมอันสมควรต่อโพธิ. อีกอย่างหนึ่ง
วิปัสสนาในส่วนเบื้องต้นแห่งมรรค 4 เรียกว่า ธรรมอันสมควรต่อโพธิ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ปรารถนาสัมโพธิ... และซึ่งธรรมอันสมควร.