เมนู

ว่าด้วยการกำจัดมลทิน


[923] คำว่า พึงกำจัดมลทินของตน เหมือนช่างทอง กำจัด
มลทินแห่งทองฉะนั้น
ความว่า คนทำทอง เรียกว่าช่างทอง ทองคำ
เรียกว่าทอง ช่างทองย่อมเป่า ไล่ กำจัดมลทินอย่างหยาบแห่งทองบ้าง
เป่า ไล่ กำจัดมลทินอย่างกลางแห่งทองบ้าง เป่า ไล่ กำจัดมลทิน
อย่างละเอียดแห่งทองบ้าง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเป่า ไล่
กำจัด ละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งกิเลสอย่างหยาบ
ของตนบ้าง ซึ่งกิเลสอย่างกลางของตนบ้าง ซึ่งกิเลสอย่างละเอียดของตน
บ้าง. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุย่อมเป่า ไล่ กำจัด ละ บรรเทา ทำให้สิ้น
ไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งมลทินคือราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ
กิเลส ทุจริต ของตน อันทำให้เป็นคนบอด ทำให้ไม่มีจักษุ ทำให้ไม่
มีญาณ อันดับปัญญา อันเป็นไปในฝ่ายแห่งทุกข์ ไม่ให้เป็นไปเพื่อนิพพาน
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุย่อมเป่า ไล่ กำจัด ละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความ
ไม่มีซึ่งมิจฉาทิฏฐิ ด้วยสัมมาทิฏฐิ ซึ่งมิจฉาสังกัปปะ ด้วยสัมมาสังกัปปะ
ซึ่งมิจฉาวาจา ด้วยสัมมาวาจา ซึ่งมิจฉากัมมันตะ ด้วยสัมมากัมมันตะ ซึ่ง
มิจฉาอาชีวะ ด้วยสัมมาอาชีวะ ซึ่งมิจฉาวายามะ ด้วยสัมมาวายามะ ซึ่ง
มิจฉาสติ ด้วยสัมมาสติ ซึ่งมิจฉาสมาธิ ด้วยสัมมาสมาธิ ซึ่งมิจฉาญาณ
ด้วยสัมมาญาณ ซึ่งมิจฉาวิมุตติ ด้วยสัมมาวิมุตติ. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุ
ย่อมเป่า ไล่ กำจัด ละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่ง
กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อน
ทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง ด้วยอริยมรรค
มีองค์ 8 เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงกำจัดมลทินของตน เหมือนช่างทอง
กำจัดมลทินแห่งทองฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระสารีบุตรเถระจึงทูลถามว่า

ภิกษุนั้นสมาทานสิกขาอะไร จึงเป็นผู้มีสมาธิเป็น
ธรรมเอกผุดขึ้น มีปัญญารักษาตน มีสติ พึงกำจัดมลทิน
ของตน เหมือนช่างทองกำจัดมลทินแห่งทองฉะนั้น.

[924] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร)
เราจะกล่าวซึ่งความผาสุกและธรรมตามสมควรนั้น ของ
ภิกษุผู้เกลียด ผู้ซ่องเสพ ที่นั่งและที่นอนอันสงัด ผู้
ปรารถนาสัมโพธิแก่ท่าน ตามที่รู้.


ว่าด้วยความผาสุก


[925] คำว่า ผู้เกลียด ในคำว่า ความผาสุก ...ของ ภิกษุ
ผู้เกลียด
ความว่า ผู้เกลียด ผู้อึดอัด ผู้เอือมระอา ด้วยชาติ ชรา พยาธิ
มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ฯลฯ ทุกข์เพราะ
ความฉิบหายแห่งทิฏฐิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้เกลียด. คำว่า ความผาสุก
ความว่า เราจักบอกความผาสุก คือความอยู่เป็นผาสุก ความอยู่เป็น
ผาสุกเป็นไฉน ? ความปฏิบัติชอบ ความปฏิบัติสมควร ความปฏิบัติไม่
เป็นข้าศึก ความปฏิบัติเป็นไปตามประโยชน์ ความปฏิบัติธรรมสมควร
แก่ธรรม ความทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ความเป็นผู้คุ้มครองทวาร
ในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ความประกอบ
เนืองๆ ในความเป็นผู้ตื่น สติสัมปชัญญะ สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4
อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8