เมนู

เป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มี
สติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า
แดนเป็นของบิดาของตนซึ่งเป็นโคจรของภิกษุ แม้เช่นนี้ก็เรียกว่าโคจร
ภิกษุพึงเป็นผู้ประกอบด้วยโคจรเช่นนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงเป็น
ผู้มีโคจรในศาสนานี้อย่างไร.

ว่าด้วยศีลและวัตร


[919] คำว่า พึงเป็นผู้มีศีลและวัตรอย่างไร ความว่า พระเถระ
ย่อมทูลถามถึงความบริสุทธิ์แห่งศีลและวัตรว่า ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ประกอบ
ด้วยศีลและวัตรอย่างไร คือด้วยศีลและวัตรที่ดำรงไว้อย่างไร มีชนิด
อย่างไร มีส่วนเปรียบอย่างไร.
ความบริสุทธิ์แห่งศีลและวัตรเป็นไฉน ? บางแห่งเป็นศีลและ
เป็นวัตร บางแห่งเป็นวัตร แต่ไม่เป็นศีล.
ศีลและวัตรเป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวม
ด้วยความสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร เป็นผู้เห็น
ภัยในโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย
ความสำรวม ความระวัง ความไม่ก้าวล่วงในสิกขาบททั้งหลายนั้น นี่เป็น
ศีล. ความสมาทาน ชื่อว่า เป็นวัตร เพราะอรรถว่า สำรวม จึงชื่อว่า
ศีล เพราะอรรถว่า สมาทาน จึงชื่อว่า วัตร นี้เรียกว่าศีลและวัตร.
เป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีลเป็นไฉน ? ธุดงค์ 8 คืออารัญญิกังคธุดงค์ 1
ปิณฑปาติกังคธุดงค์ 1 ปังสุกุลิกังคธุดงค์ 1 เตจีวริกังคธุดงค์ 1 สปทาน-

จาริกังคธุดงค์ 1 ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์ 1 เนสัชชิกังคธุดงค์ 1
ยถาสันถติกังคธุดงค์ 1 นี้เรียกว่าเป็นวัตร แต่ไม่เป็นศีล.
แม้การสมาทานความเพียร ก็เรียกว่าเป็นวัตร ไม่เป็นศีล กล่าว
คือ พระมหาสัตว์ทรงประคองตั้งพระทัยว่า จงเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น
กระดูก ก็ตามที เนื้อและเลือดในสรีระจงเหือดแห้งไปเถิด ผลใดอัน
บุรุษพึงบรรลุด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยกำลังของบุรุษ ด้วยความเพียร
ของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษ การไม่บรรลุผลนั้นแล้วหยุดความ
เพียรเสียจักไม่มี ดังนี้ แม้การสมาทานความเพียรเห็นปานนี้ ก็เรียกว่า
เป็นวัตร ไม่เป็นศีล ภิกษุประคองตั้งจิตว่า
เมื่อลูกศรคือตัณหาเรายังถอนไม่ได้แล้ว เราจักไม่
กิน จักไม่ดื่ม จักไม่ออกจากวิหาร ทั้งจักไม่เอนข้าง
[ไม่นอน] ดังนี้.

แม้การสมาทานความเพียรเห็นปานนี้ ก็เรียกว่าเป็นวัตร ไม่เป็นศีล.
พระมหาสัตว์ทรงประคองตั้งพระทัยว่า เราจักไม่ทำลายบัลลังก์นี้จนตลอด
เวลาที่จิตของเราจักไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น ดังนี้.
แม้การสมาทานความเพียรเห็นปานนี้ ก็เรียกว่าเป็นวัตร ไม่เป็นศีล
ภิกษุประคองตั้งจิตว่า จิตของเราจักไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะ
ไม่ถือมั่นเพียงใด เราจักไม่ลุกขึ้นจากอาสนะนี้เพียงนั้น จิตของเราจักยัง
ไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่นเพียงใด เราจักไม่ลงจากที่
จงกรม จักไม่ออกจากวิหาร จักไม่ออกจากเรือนมีหลังคาแถบเดียว จัก
ไม่ออกจากปราสาท จักไม่ออกจากเรือนโล้น จักไม่ออกจากเพิง จัก
ไม่ออกจากถ้ำ จักไม่ออกจากกุฎี จักไม่ออกจากเรือนยอด จักไม่ออก

จากป้อม จักไม่ออกจากโรงกลม จักไม่ออกจากเรือนที่มีเครื่องกั้น จัก
ไม่ออกจากศาลาที่บำรุง จักไม่ออกจากมณฑป จักไม่ออกจากโคนต้นไม้
เพียงนั้น ดังนี้.
แม้การสมาทานความเพียรเห็นปานนี้ ก็เรียกว่าเป็นวัตร ไม่เป็นศีล
ภิกษุประคองตั้งจิตว่า ในเวลาเช้านี้แหละ เราจักนำมา จักนำมาพร้อม
จักบรรลุ จักถูกต้อง จักทำให้แจ้ง ซึ่งอริยธรรม ดังนี้.
แม้การสมาทานความเพียรเห็นปานนี้ ก็เรียกว่าเป็นวัตร ไม่เป็นศีล
ภิกษุประคองตั้งจิตว่า ในเวลาเที่ยงนี้แหละ ในเวลาเย็นนี้แหละ ในกาล
ก่อนภัตนี้แหละ ในกาลภายหลังภัตนี้แหละ ในยามต้นนี้แหละ ในยาม
กลางนี้แหละ ในยามหลังนี้แหละ ในฤดูร้อนนี้แหละ ในตอนวัยต้น
นี้แหละ ในตอนวัยกลางนี้แหละ ในตอนวัยหลังนี้แหละ เราจักนำมา จัก
นำมาพร้อม จักบรรลุ จักถูกต้อง จักทำให้แจ้ง ซึ่งอริยธรรม ดังนี้.
แม้การสมาทานความเพียรเห็นปานนี้ ก็เรียกว่าเป็นวัตร ไม่เป็นศีล
นี้ชื่อว่าความบริสุทธิ์ แห่งศีลและวัตร ภิกษุพึงเป็นผู้ประกอบด้วยความ
บริสุทธิ์แห่งศีลและวัตรเช่นนี้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เธอพึงเป็นผู้มีศีล
และวัตรอย่างไร.

ว่าด้วยการอบรมตน


[920] คำว่า อบรมตนอยู่ ในคำว่า เมื่อภิกษุอบรมตนอยู่
ความว่า ปรารภความเพียร มีความเพียรแรงกล้า มีความบากบั่นมั่นคง
มิได้ปลงฉันทะ มิได้ทอดธุระ ในธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศล อีกอย่างหนึ่ง
ผู้ส่งตนไป คือตนอันภิกษุส่งไปในอรหัตผลอันเป็นประโยชน์ของตน ใน