เมนู

อสังสัคคกถา วิริยารัมภกถา สีลกถา สมาธิกถา ปัญญากถา วิมุตติกถา
วิมุตติญาณทัสสนกถา ย่อมกล่าวสติปัฏฐานกถา สัมมัปปธานกถา
อิทธิบาทกถา อินทรียกถา พลกถา โพชฌงคกถา มรรคกถา ผลกถา
นิพพานกถา เป็นผู้ประกอบ สำรวม สำรวมเฉพาะ คุ้มครอง ปกครอง
รักษา ระวังด้วยวาจา นี้ชื่อว่าความบริสุทธิ์แห่งวาจา ภิกษุพึงเป็นผู้
ประกอบด้วยความบริสุทธิ์แห่งวาจาเช่นนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เธอพึง
เป็นผู้มีคลองแห่งถ้อยคำอย่างไร.
[918] คำว่า เธอพึงเป็นผู้มีโคจรในศาสนานี้อย่างไร ความว่า
พระเถระย่อมทูลถามถึงโคจรว่า ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้ประกอบด้วยโคจร
เช่นไร คือด้วยโคจรที่ดำรงไว้อย่างไร มีชนิดอย่างไร มีส่วนเปรียบ
อย่างไร อโคจรมีอยู่ โคจรมีอยู่.

ว่าด้วยอโคจร


อโคจรเป็นไฉน ?

ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีหญิงแพศยา
เป็นโคจรบ้าง เป็นผู้มีหญิงหม้ายเป็นโคจรบ้าง เป็นผู้มีสาวเทื้อเป็นโคจร
บ้าง เป็นผู้มีบัณเฑาะก์เป็นโคจรบ้าง เป็นผู้มีภิกษุณีเป็นโคจรบ้าง เป็น
ผู้มีโรงสุราเป็นโคจรบ้าง อยู่คลุกคลีด้วยพวกพระราชา พวกมหาอำมาตย์
ของพระราชา พวกเดียรถีย์ พวกสาวกของเดียรถีย์ ด้วยความคลุกคลี
กับคฤหัสถ์อันไม่สมควร.
อนึ่ง สกุลบางแห่งไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส ไม่เป็นดุจบ่อน้ำ มัก
ด่า มักบริภาษ มุ่งความเสื่อม มุ่งสิ่งไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล มุ่งความ
ไม่สบาย มุ่งความไม่ปลอดโปร่งจากโยคกิเลส แก่พวกภิกษุ พวกภิกษุณี