เมนู

พระเถระ ย่อมทูลถามถึงความบริสุทธิ์แห่งวาจาว่า ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้
ประกอบด้วยคลองแห่งถ้อยคำเช่นไร คือด้วยคลองแห่งถ้อยคำที่ดำรงไว้
อย่างไร มีชนิดอย่างไร มีส่วนเปรียบอย่างไร.

ว่าด้วยความบริสุทธิ์แห่งวาจา


ความบริสุทธิ์แห่งวาจาเป็นไฉน ?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ละมุสาวาท
เป็นผู้เว้นขาดจากมุสาวาท คือพูดจริง ดำรงคำจริง มีถ้อยคำมั่นคง มี
ถ้อยคำเชื่อถือได้ ไม่พูดให้เคลื่อนคลาดแก่โลก ละปิสุณาวาจา เป็นผู้เว้น
ขาดจากปิสุณาวาจา คือฟังจากข้างนี้แล้ว ไม่ไปบอกข้างโน้น เพื่อทำลาย
คนหมู่นี้ หรือฟังจากข้างโน้นแล้ว ไม่มาบอกคนหมู่นี้ เพื่อทำลายคนหมู่
โน้น เป็นผู้สมานคนที่แตกกันบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันบ้าง
มีความพร้อมเพรียงเป็นที่มายินดี ยินดีในบุคคลที่พร้อมเพรียงกัน มีความ
เพลิดเพลินในบุคคลที่พร้อมเพรียงกัน กล่าววาจาที่ทำให้เขาพร้อมเพรียง
กันด้วยประการดังนี้ ละผรุสวาจา เป็นผู้เว้นขาดจากผรุสวาจา คือกล่าว
วาจาที่ไม่มีโทษ อันไพเราะโสต เป็นที่ตั้งแห่งความรัก หยั่งลงถึงหทัย
เป็นคำของชาวเมือง ที่คนหมู่มากพอใจ ชอบใจ ละสัมผัปปลาปะ เป็น
ผู้เว้นขาดจากสัมผัปปลาปะ คือพูดโดยกาลควร พูดจริง พูดอิงอรรถ
พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย กล่าววาจาเป็นหลักฐานมีที่อ้างอิง มีส่วนสุด
ประกอบด้วยประโยชน์โดยกาลควร เป็นผู้ประกอบด้วยวจีสุจริต 4 กล่าว
วาจาปราศจากโทษ 4 งด เว้น เว้น ขาด ออก สลัด พ้นขาด ไม่ประกอบ
ด้วยติรัจฉานกถา 32 ประการ เป็นผู้มีจิตปราศจากเขตแดนกิเลสอยู่
ย่อมกล่าวกถาวัตถุ 10 อย่าง คืออัปปิจฉกถา สันตุฏฐิกถา ปวิเวกกถา