เมนู

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระจักษุ ย่อมปรากฏเด่นชัด
แก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรง
กำจัดมืดทั้งปวง เป็นบุคคลผู้เอก บรรลุแล้วซึ่งความยินดี.

[893] เรามีความประสงค์ด้วยปัญหา จึงมาถึงพระพุทธเจ้า
พระองค์นั้น ผู้ไม่อาศัย ผู้คงที่ ผู้ไม่หลอกลวง ผู้มาเป็น
พระคณาจารย์ของคนหมู่มาก ซึ่งเนื่องในศาสนานี้.


ว่าด้วยพระนามว่าพุทธะ


[894] ชื่อว่า พุทธะ ในคำว่า พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ไม่
อาศัย ผู้คงที่
คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระสยัมภู ไม่มีใครเป็นอาจารย์
ตรัสรู้ซึ่งสัจจะทั้งหลายเอง ในธรรมทั้งหลายอันพระองค์ไม่เคยสดับมาก่อน
ทรงบรรลุความเป็นพระสัพพัญญูในเพราะความตรัสรู้นั้น และทรงถึงความ
เป็นผู้ชำนาญในพลธรรมทั้งหลาย. คำว่า พุทฺโธ ชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้า
เพราะอรรถว่าอะไร ? ชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้า เพราะอรรถว่า ตรัสรู้สัจจะ
ทั้งหลาย เพราะอรรถว่า ให้หมู่สัตว์ตรัสรู้ เพราะเป็นพระสัพพัญญู เพราะ
เป็นผู้เห็นธรรมทั้งปวง เพราะเป็นผู้ไม่มีผู้อื่นแนะนำ เพราะเป็นผู้เบิกบาน
เพราะเป็นผู้สิ้นอาสวะ เพราะเป็นผู้ไม่มีอุปกิเลส เพราะอรรถว่า เป็นผู้
ปราศจากราคะโดยส่วนเดียว เพราะอรรถว่า เป็นผู้ปราศจากโทสะโดยส่วน
เดียว เพราะอรรถว่า เป็นผู้ปราศจากโมหะโดยส่วนเดียว เพราะอรรถว่า
เป็นผู้ไม่มีกิเลสโดยส่วนเดียว เพราะอรรถว่า เป็นผู้เสด็จไปตามเอกายน-
มรรค เพราะอรรถว่า เป็นผู้เดียวตรัสรู้ซึ่งพระสัมมาสัมโพธิญาณอัน

ยอดเยี่ยม ชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้า เพราะเว้นจากความไม่รู้ เพราะได้เฉพาะ
ความรู้ พระนามว่า พุทฺโธ นี้ พระมารดา พระบิดา พระภาดา พระภคินี
มิตร อำมาตย์ พระญาติสาโลหิต สมณะ พราหมณ์ เทวดา มิได้เฉลิมให้
พระนามว่า พุทฺโธ นี้ เป็นวิโมกขันติกนาม (พระนามมีในอรหัตผลใน
ลำดับแห่งอรหัตมรรค) เป็นสัจฉิกาบัญญัติ (บัญญัติที่เกิดเพราะทำแจ่ม-
แจ้ง ซึ่งพระอรหัตผลและธรรมทั้งปวง) พร้อมด้วยการทรงบรรลุพระ-
สัพพัญญุตญาณ ณ ควงแห่งโพธิพฤกษ์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย
ผู้ตรัสรู้แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ซึ่งพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น.
[895] ความอาศัย ในคำว่า ไม่อาศัย มี 2 อย่าง คือความ
อาศัยด้วยตัณหา 1 ความอาศัยด้วยทิฏฐิ 1.
ความอาศัยด้วยตัณหาเป็นไฉน ? วัตถุที่ทำให้เป็นเขต เป็นแดน
เป็นส่วน เป็นแผนก กำหนดถือเอา ยึดถือเอาว่าของเรา ด้วยส่วนแห่ง
ตัณหามีประมาณเท่าใด ความยึดถือว่าของเรา ซึ่งวัตถุมีประมาณเท่านั้น
ว่า สิ่งนี้ของเรา สิ่งนั้นของเรา สิ่งมีประมาณเท่านี้ของเรา สิ่งของของ
เรามีประมาณเท่านี้ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เครื่องลาด เครื่อง
นุ่งห่ม ทาสี ทาส แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา นา ที่ดิน เงิน
ทอง บ้าน นิคม ราชธานี แว่นแคว้น ชนบท ฉาง คลัง เป็นของ
ของเรา ความยึดถือว่าเป็นของเรา แม้ซึ่งแผ่นดินใหญ่ทั้งสิ้นด้วยสามารถ
แห่งตัณหา ตลอดถึงตัณหาวิปริต 108 นี้ชื่อว่าความอาศัยด้วยตัณหา.

ว่าด้วยทิฏฐิ


ความอาศัยด้วยทิฏฐิเป็นไฉน ?

สักกายทิฏฐิมีวัตถุ 20 มิจฉาทิฏฐิ