เมนู

ความว่า บุคคลนั้น ได้ข้าม ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ล่วงเลย เป็นไป
ล่วงตัณหาอันชื่อว่าวิสัตติกานี้แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลนั้นได้
ข้ามตัณหาอันชื่อว่าวิสัตติกาแล้ว เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสว่า
เรากล่าวบุคคลนั้นผู้ไม่เพ่งในกามทั้งหลายว่า เป็นผู้
เข้าไปสงบ กิเลสเป็นเครื่องร้อยรัดทั้งหลาย ย่อมไม่มีแก่
บุคคลนั้น บุคคลนั้นได้ข้ามตัณหาอันชื่อว่าวิสัตติกาแล้ว.

[426] บุตร ปศุสัตว์ ไร่นา และที่ดิน ย่อมไม่มีแก่
บุคคลนั้น อัตตทิฏฐิก็ดี นิรัตตทิฏฐิก็ดี ย่อมไม่เข้าไปได้
ในบุคคลนั้น.


ว่าด้วยบุตรเป็นต้น


[427] ศัพท์ว่า ในคำว่า บุตร ปศุสัตว์ ไร่นา และที่ดิน
ย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น
เป็นปฏิเสธ, คำว่า นั้น คือ พระอรหันตขีณาสพ.
ชื่อว่าบุตร ได้แก่บุตร 4 จำพวก คือ บุตรเกิดแต่ตน 1 บุตรเกิดในเขต 1
บุตรที่เขาให้ 1 บุตรที่เกิดในสำนัก 1. คำว่า ปศุสัตว์ คือ แพะ แกะ
ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา. คำว่า ไร่นา คือ ไร่ข้าวสาลี ไร่ข้าวเจ้า
ไร่ถั่วราชมาษ ไร่ข้าวเหนียว ไร่ข้าวละมาน ไร่งา. คำว่า ที่ดิน คือ
ที่เรือน ที่ฉาง ที่หน้าเรือน ที่หลังเรียน ที่สวน ที่อยู่. คำว่า บุตร
ปศุสัตว์ ไร่นา และที่ดิน ย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น
คือ ความยึดถือบุตร
ความยึดถือปศุสัตว์ ความยึดถือไร่นา ความยึดถือที่ดิน ย่อมไม่มี มิได้

มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้แก่บุคคลนั้น คือ เป็นสภาพอันบุคคลนั้นละ
ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุตร ปศุสัตว์ ไร่นา และที่ดิน ย่อมไม่มีแก่
บุคคลนั้น.

ว่าด้วยทิฏฐิ


[828] สัสสตทิฏฐิชื่อว่าอัตตา ในคำว่า อัตตทิฏฐิก็ดี นิรัตต-
ทิฏฐิก็ดี ย่อมไม่เข้าไปได้ในบุคคลนั้น
ดังนี้ ย่อมไม่มี. อุจเฉททิฏฐิ
ชื่อว่านิรัตตา ย่อมไม่มี สิ่งที่ยึดถือชื่อว่า อัตตา ย่อมไม่มี สิ่งที่พึง
ปล่อยวางชื่อว่า นิรัตตา ย่อมไม่มี. สิ่งที่ยึดถือย่อมไม่มีแก่บุคคลใด สิ่ง
ที่พึงปล่อยวางก็ไม่มีแก่บุคคลนั้น สิ่งที่พึงปล่อยวางย่อมไม่มีแก่บุคคลใด
สิ่งที่พึงยึดถือก็ไม่มีแก่บุคคลนั้น บุคคลนั้นผู้เป็นพระอรหันต์ ก้าวล่วง
ความถือและปล่อยวางแล้ว ล่วงเลยความเจริญและความเสื่อมแล้ว บุคคล
นั้นอยู่จบแล้ว มีจรณะอันประพฤติแล้ว ฯลฯ ภพใหม่ ย่อมไม่มีแก่
บุคคลนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อัตตทิฏฐิก็ดี นิรัตตทิฏฐิก็ดี ย่อมไม่
เข้าไปได้ในบุคคลนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
บุตร ปศุสัตว์ ไร่นา และที่ดิน ย่อมไม่มีแก่บุคคล
นั้น อัตตทิฏฐิก็ดี นิรัตตทิฏฐิก็ดี ย่อมไม่เข้าไปได้ใน
บุคคลนั้น.

[429] พวกปุถุชนทั้งพวกสมณะและพราหมณ์ พึงกล่าว
โดยโทษใด โทษนั้นไม่ห้อมล้อมบุคคลนั้น เพราะฉะนั้น
บุคคลนั้นย่อมไม่หวั่นไหวในเพราะวาทะทั้งหลาย.