เมนู

สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ความติดใจนั้น อันผู้ใดละ
ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ
ผู้นั้น เรียกว่าเป็นผู้ไม่ตามติดใจ ผู้นั้นไม่ติดใจ คือไม่ถึงความติดใจ
ไม่หลง ไม่หมกมุ่นในรูป ฯลฯ ในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่
ทราบและธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง คือเป็นผู้ปราศจากความติดใจ หายจาก
ความติดใจ สละความติดใจ สำรอกความติดใจ ปล่อยความติดใจ ละ
ความติดใจ สละคืนความติดใจแล้ว ปราศจากความกำหนัด หายจาก
ความกำหนัด สละความกำหนัด สำรวมความกำหนัด ปล่อยความกำหนัด
ละความกำหนัด สละคืนความกำหนัดแล้ว หายหิวแล้ว ดับแล้ว เย็นแล้ว
เป็นผู้เสวยสุขมีตนดุจพรหมอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลเป็นผู้ไม่
ริษยา ไม่ตามติดใจ.

ว่าด้วยผู้ไม่หวั่นไหว


[871] คำว่า ไม่หวั่นไหว เป็นผู้เสมอในอายตนะทั้งปวง
ความว่า ตัณหา เรียกว่าความหวั่นไหว ได้แก่ ราคะ สาราคะ ฯลฯ
อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ตัณหาอันเป็นความหวั่นไหวนั้น อันผู้ใดละ
ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือ
ญาณ ผู้นั้น เรียกว่าเป็นผู้ไม่หวั่นไหว บุคคลชื่อว่าเป็นผู้ไม่หวั่นไหว
เพราะละความหวั่นไหวเสียแล้ว ผู้นั้นย่อมไม่หวั่นไหว เอนเอียง ดิ้นรน
ยุ่ง วุ่นไป แม้ในลาภ แม้ในความเสื่อมลาภ แม้ในยศ แม้ในความ
เสื่อมยศ แม้ในความสรรเสริญ แม้ในความนินทา แม้ในสุข แม้ในทุกข์
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ไม่หวั่นไหว. คำว่า เป็นผู้เสมอในอายตนะ