เมนู

ว่าด้วยตัณหาเรียกว่าความใฝ่ฝัน


[851] คำว่า ย่อมไม่ใฝ่ฝันต่อใคร ๆ ในโลกนี้ ความว่า ตัณหา
เรียกว่าความใฝ่ฝัน ได้แก่ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล
ตัณหาอันเป็นความใฝ่ฝันนั้น อันผู้ใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำ
ไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ ผู้นั้นย่อมไม่ใฝ่ฝันต่อใคร ๆ
เป็นกษัตริย์ก็ตาม เป็นพราหมณ์ก็ตาม เป็นแพศย์ก็ตาม เป็นศูทรก็ตาม
เป็นคฤหัสถ์ก็ดี เป็นบรรพชิตก็ตาม เป็นเทวดาก็ตาม เป็นมนุษย์ก็ตาม
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมไม่ใฝ่ฝันต่อใคร ๆ ในโลกนี้ เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ผู้นั้นแลมีความรู้ เป็นเวทคู รู้ธรรมแล้วไม่อาศัย
ผู้นั้นอยู่ในโลกโดยชอบ ย่อมไม่ใฝ่ฝันต่อใคร ๆ ในโลก
นี้.

[852] ผู้ใดข้ามพ้นกามทั้งหลาย และเครื่องข้อง ที่ล่วงได้
โดยยากในโลก ผู้นั้นย่อมไม่เศร้าโคก ย่อมไม่เพ่งเล็ง
เป็นผู้มีกระแสอันตัดเสียแล้ว มิได้มีเครื่องผูก.


ว่าด้วยกาม 2 อย่าง


[853] คำว่า ผู้ใด ในคำว่า ผู้ใดข้ามพ้นกามทั้งหลาย และ
เครื่องข้องที่ล่วงได้โดยยากในโลก
ความว่า ผู้ใด คือ เช่นใด ประกอบ
อย่างไร ชนิดอย่างไร มีประการอย่างไร ถึงฐานะใด ประกอบด้วยธรรม
ใด เป็นกษัตริย์ก็ตาม เป็นพราหมณ์ก็ตาม เป็นแพศย์ก็ตาม เป็นศูทรก็ตาม
เป็นคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นบรรพชิตก็ตาม เป็นเทวดาก็ตาม เป็นมนุษย์ก็