เมนู

ว่า เปือกตมคือกาม หล่มคือกาม กิเลสคือกาม โคลนคือกาม ความ
กังวลคือกาม เป็นสภาพล่วงได้โดยยาก ก้าวล่วงได้โดยยาก ข้ามได้ยาก
ข้ามพ้นได้ยาก ก้าวพ้นยาก ล่วงเลยได้ยาก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เปือก
ตมคือกามเป็นสภาพล่วงได้โดยยาก เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสว่า
เราย่อมกล่าวความกำหนัดว่า เป็นห้วงน้ำใหญ่ กล่าว
ความว่องไวว่า เป็นความปรารถนา กล่าวอารมณ์ว่า
เป็นความกำหนด เปือกตมคือกามเป็นสภาพล่วงได้โดย
ยาก.

[842] ผู้เป็นมุนีไม่ก้าวล่วงจากสัจจะ เป็นพราหมณ์ตั้งอยู่
บนบก ผู้นั้นสลัดสิ่งทั้งปวง ผู้นั้นแลเรากล่าวว่า เป็นผู้
สงบ.

[883] คำว่า ผู้เป็นมุนีไม่ก้าวล่วงจากสัจจะ ความว่า ไม่ก้าว
ล่วงจากสัจวาจา ไม่ก้าวล่วงจากสัมมาทิฏฐิ ไม่ก้าวล่วงจากอริยมรรคมี
องค์ 8. คำว่า มุนี ความว่า ญาณเรียกว่าโมนะ1 ได้แก่ปัญญา ความรู้
ทั่ว ๆ ฯลฯ ก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องและตัณหาเพียงดังข่าย บุคคลนั้น
ชื่อว่ามุนี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้เป็นมุนีไม่ก้าวล่วงจากสัจจะ.

ว่าด้วยอมตนิพพานเรียกว่าบก


[844] อมตนิพพาน เรียกว่า บก ในคำว่า เป็นพราหมณ์ตั้ง
อยู่บนบก
ได้แก่ ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง

1. ดูข้อ 698.

ความสิ้นตัณหา ความสำรอกตัณหา ความดับตัณหา ความออกจากตัณหา
เป็นเครื่องร้อยรัด. คำว่า พราหมณ์1 ความว่า บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์
เพราะเป็นผู้ลอยเสียแล้วซึ่งธรรม 7 ประการ ๆ ฯ ล ฯ ผู้อันตัณหาและทิฏฐิ
ไม่อาศัยแล้ว เป็นผู้คงที่ ชื่อว่าเป็นพราหมณ์. คำว่า เป็นพราหมณ์ตั้ง
อยู่บนบก
ความว่า เป็นพราหมณ์ตั้งอยู่บนบก คือตั้งอยู่ในธรรมเป็นที่
พึ่ง ตั้งอยู่ในธรรมเป็นที่ป้องกัน ตั้งอยู่ในธรรมเป็นที่พักพิง ตั้งอยู่ใน
ธรรมเป็นสรณะ ตั้งอยู่ในธรรมไม่มีภัย ตั้งอยู่ในธรรมไม่มีความเคลื่อน
ตั้งอยู่ในอมตะ ตั้งอยู่ในนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นพราหมณ์
ตั้งอยู่บนบก.
[845] คำว่า ผู้นั้นสลัดสิ่งทั้งปวงแล้ว ความว่า อายตนะ 12
คือจักษุ รูป ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ เรียกว่าสิ่งทั้งปวง ฉันทราคะ
ในอายตนะภายในและภายนอก เป็นกิเลสอันผู้นั้นละแล้ว ตัดรากขาด
แล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความ
ไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดาด้วยเหตุใด แม้ด้วยเหตุเท่านี้ สิ่งทั้งปวงชื่อ
ว่าอันผู้นั้นสละ สำรอก ปล่อย ละ สละคืนแล้ว ตัณหาก็ดี ทิฏฐิก็ดี
มานะก็ดี เป็นกิเลสอันผู้นั้นละแล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดัง
ตาลยอดด้วน ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็น
ธรรมดา ด้วยเหตุใด แม้ด้วยเหตุเท่านี้ สิ่งทั้งปวงชื่อว่าอันผู้นั้นสละ
สำรอก ปล่อย ละ สละคืนแล้ว ปุญญาภิสังขารก็ดี อปุญญาภิสังขารก็ดี
อเนญชาภิสังขารก็ดี เป็นสภาพอันผู้นั้นละแล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่
ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้น

1. ดูข้อ 682.

ต่อไปเป็นธรรมดาด้วยเหตุใด แม้ด้วยเหตุเท่านี้ สิ่งทั้งปวงชื่อว่าอันผู้นั้น
สละ สำรอก ปล่อย ละ ละคืนแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้นั้น
สลัดสิ่งทั้งปวงเสียแล้ว.
[846] คำว่า ผู้นั้นแลเรากล่าวว่า เป็นผู้สงบ ความว่า ผู้นั้น
เราย่อมกล่าว บอก พูด แสดง แถลงว่า เป็นผู้สงบ เข้าไปสงบ เข้าไป
สงบวิเศษ ดับ ระงับแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้นั้นแลเรากล่าวว่า
เป็นผู้สงบ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ผู้เป็นมุนีไม่ก้าวล่วงจากสัจจะ เป็นพราหมณ์ตั้งอยู่
บนบก ผู้นั้นสลัดสิ่งทั้งปวงแล้ว ผู้นั้นแลเรากล่าวว่า
เป็นผู้สงบ.

[847] ผู้นั้นแลมีความรู้ เป็นเวทคู รู้ธรรมแล้วไม่อาศัย
ผู้นั้นอยู่ในโลกโดยชอบ ย่อมไม่ใฝ่ฝันต่อใครในโลกนี้.

[848] คำว่า มีความรู้ ในคำว่า ผู้นั้นแลมีความรู้ เป็นเวทคู
ความว่า มีความรู้ ถึงวิชชา มีญาณ มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีปัญญาแจ่มแจ้ง
มีปัญญาทำลายกิเลส. คำว่า เป็นเวทคู ความว่า ญาณในมรรค 4 เรียกว่า
เวท ฯลฯ เป็นผู้ปราศจากความกำหนัดในเวทนาทั้งปวง ล่วงเวทนา
ทั้งปวงแล้ว ชื่อว่าเป็นเวทคู เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้นั้นแลมีความรู้
เป็นเวทคู.
[849] คำว่า รู้ธรรมแล้วไม่อาศัย ความว่า รู้แล้ว คือ ทราบ
พิจารณา เทียบเคียง ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว ทำให้เป็นแจ้งแล้วว่า สังขาร

ทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิด
เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา. คำว่า ไม่อาศัย
ความว่า ความอาศัย 2 ประการ คือ ความอาศัยด้วยตัณหา 1 ความ
อาศัยด้วยทิฏฐิ 1 ฯลฯ นี้ชื่อว่าความอาศัยด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่า
ความอาศัยด้วยทิฏฐิ ผู้นั้นละความอาศัยด้วยตัณหา สละคืนความอาศัยด้วย
ทิฏฐิ เป็นผู้ไม่อาศัย ไม่พัวพัน ไม่เข้าถึง ไม่เยื่อใย ไม่น้อมใจไป ออก
สละ พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้อง ซึ่งตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ฯลฯ รูปที่เห็น
เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ทราบ และธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง เป็น
ผู้มีจิตอันทำให้ปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า รู้ธรรมแล้ว
ไม่อาศัย.
[850] คำว่า ผู้นั้นอยู่ในโลกโดยชอบ ความว่า ฉันทราคะใน
อายตนะภายในและภายนอก เป็นกิเลสอันผู้นั้นละแล้ว ตัดรากขาดแล้ว
ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้น
ต่อไปเป็นธรรมดาด้วยเหตุใด แม้ด้วยเหตุเท่านี้ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเที่ยวไป
อยู่ ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ ประพฤติ รักษา บำรุง เยียวยาอยู่ในโลกโดยชอบ
ปุญญาภิสังขารก็ดี อปุญญาภิสังขารก็ดี อาเนญชาภิสังขารก็ดี เป็นสภาพ
อันผู้นั้นละแล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ถึง
ความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดาด้วยเหตุใด แม้
ด้วยเหตุเท่านี้ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเที่ยวไป อยู่ ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ ประพฤติ
รักษา บำรุง เยียวยาอยู่ในโลกโดยชอบ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้นั้นอยู่
ในโลกโดยชอบ.

ว่าด้วยตัณหาเรียกว่าความใฝ่ฝัน


[851] คำว่า ย่อมไม่ใฝ่ฝันต่อใคร ๆ ในโลกนี้ ความว่า ตัณหา
เรียกว่าความใฝ่ฝัน ได้แก่ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล
ตัณหาอันเป็นความใฝ่ฝันนั้น อันผู้ใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำ
ไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ ผู้นั้นย่อมไม่ใฝ่ฝันต่อใคร ๆ
เป็นกษัตริย์ก็ตาม เป็นพราหมณ์ก็ตาม เป็นแพศย์ก็ตาม เป็นศูทรก็ตาม
เป็นคฤหัสถ์ก็ดี เป็นบรรพชิตก็ตาม เป็นเทวดาก็ตาม เป็นมนุษย์ก็ตาม
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมไม่ใฝ่ฝันต่อใคร ๆ ในโลกนี้ เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ผู้นั้นแลมีความรู้ เป็นเวทคู รู้ธรรมแล้วไม่อาศัย
ผู้นั้นอยู่ในโลกโดยชอบ ย่อมไม่ใฝ่ฝันต่อใคร ๆ ในโลก
นี้.

[852] ผู้ใดข้ามพ้นกามทั้งหลาย และเครื่องข้อง ที่ล่วงได้
โดยยากในโลก ผู้นั้นย่อมไม่เศร้าโคก ย่อมไม่เพ่งเล็ง
เป็นผู้มีกระแสอันตัดเสียแล้ว มิได้มีเครื่องผูก.


ว่าด้วยกาม 2 อย่าง


[853] คำว่า ผู้ใด ในคำว่า ผู้ใดข้ามพ้นกามทั้งหลาย และ
เครื่องข้องที่ล่วงได้โดยยากในโลก
ความว่า ผู้ใด คือ เช่นใด ประกอบ
อย่างไร ชนิดอย่างไร มีประการอย่างไร ถึงฐานะใด ประกอบด้วยธรรม
ใด เป็นกษัตริย์ก็ตาม เป็นพราหมณ์ก็ตาม เป็นแพศย์ก็ตาม เป็นศูทรก็ตาม
เป็นคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นบรรพชิตก็ตาม เป็นเทวดาก็ตาม เป็นมนุษย์ก็