เมนู

ว่าด้วยกิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง


[836] ตัณหา เรียกว่า กิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง ในคำว่า ไม่พึง
เป็นผู้อาศัยกิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง
ได้แก่ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา
โลภะ อกุศลมูล เหตุไรตัณหาจึงเรียกว่ากิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง บุคคลย่อม
เกี่ยวข้อง เกาะเกี่ยว ถือ ยึดมั่น ถือมั่น ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ คติ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร วัฏฏะ ด้วยตัณหาใด เหตุนั้น
ตัณหานั้นจึงเรียกว่า กิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง. คำว่า ไม่พึงเป็นผู้อาศัยกิเลส
เครื่องเกี่ยวข้อง
ความว่า บุคคลไม่พึงเป็นผู้อาศัยตัณหา พึงละ บรรเทา
ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีซึ่งตัณหา เป็นผู้งด เว้น เว้นเฉพาะ ออก
สลัดออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องตัณหา พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลส
อยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงเป็นผู้อาศัยกิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง เพราะ-
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ไม่พึงยินดีสังขารเก่า ไม่พึงทำความชอบใจในสังขาร
ใหม่ เมื่อสังขารเสื่อมไป ไม่พึงเศร้าโศก ไม่พึงเป็นผู้
อาศัยกิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง.

[837] เราย่อมกล่าวความกำหนัดว่า เป็นห้วงน้ำใหญ่ กล่าว
ความว่องไว (อาชวะ) ว่า เป็นความปรารถนา กล่าว
อารมณ์ว่า เป็นความหวั่นไหว เปือกตมคือกามเป็นสภาพ
ล่วงได้โดยยาก.