เมนู

จากสงสารนี้สู่สงสารโน้น จากวัฏฏะนี้สู่วัฏฏะโน้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
เพราะถอนลูกศรนั้นเสียแล้ว ย่อมไม่แล่นไป. คำว่า ย่อมไม่ล่มจม
ความว่า ไม่ล่มจม ไม่จมพร้อม ไม่ล่มลง ไม่จมสง ไม่ตกลงไป
ในกามโอฆะ ในภวโอฆะ ในทิฏฐิโอฆะ ในอวิชชาโอฆะ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า เพราะถอนลูกศรนั้นเสียแล้ว ย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่ล่มจม
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
สัตว์อันลูกศรใดปักติดแล้ว ย่อมแล่นพล่านไปสู่ทิศ
ทั้งปวง เพราะถอนลูกศรนั้นเสียแล้ว ย่อมไม่แล่นไป
ย่อมไม่ล่มจม.

[813] ชนทั้งหลายย่อมกล่าวถึงการศึกษา ในเพราะกามคุณ
เป็นที่พัวพันในโลก บุคคลพึงเป็นผู้ไม่ขวนขวายในการ
ศึกษาหรือในกามคุณเหล่านั้น รู้ชัดกามทั้งหลายโดย
ประการทั้งปวงแล้ว พึงศึกษาความดับของตน.


ว่าด้วยศึกษาเพื่อได้กามคุณ


[814] ชื่อว่า การศึกษา ในคำว่า ชนทั้งหลายกล่าวถึงการ
ศึกษา ในเพราะกามคุณเป็นที่พัวพันในโลก
ได้แก่ การศึกษาเรื่องช้าง
การศึกษาเรื่องม้า การศึกษาเรื่องรถ การศึกษาเรื่องธนู ความเป็นหมอ
เสกเป่า ความเป็นหมอทางผ่าตัด ความเป็นหมอทางยา ความเป็นหมอทาง
ภูตผี ความเป็นหมอทางกุมาร. คำว่า ย่อมกล่าวถึง ความว่า กล่าวถึง
พูดถึง เล่าถึง แสดงถึง แถลงถึง อีกอย่างหนึ่ง ย่อมกล่าวถึง คือย่อม

เรียน เล่าเรียน ทรงจำ เข้าไปทรงจำ เข้าไปกำหนด เพื่อได้เฉพาะซึ่ง
กามคุณเป็นที่พัวพัน. เบญจกามคุณ คือ1รูปที่รู้แจ้งด้วยจักษุ ที่น่าปรารถนา
พอใจ ชอบใจ รักใคร่ อันประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
เรียกว่ากามคุณเป็นที่พัวพัน. เหตุไร เบญจกามคุณ จึงเรียกว่ากามคุณ
เป็นที่พัวพัน. เทวดาและมนุษย์ ย่อมปรารถนา ยินดี รักใคร่ ชอบใจ
กามคุณโดยมาก เหตุนั้น เบญจกามคุณ จึงเรียกว่ากามคุณเป็นที่พัวพัน.
คำว่า ในโลก คือในมนุษยโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ชนทั้งหลาย
ย่อมกล่าวถึงการศึกษาในเพราะกามคุณเป็นที่พัวพันในโลก.
[815] บุคคลพึงเป็นผู้ไม่ขวนขวายในการศึกษา หรือในกาม-
คุณเหล่านั้น
ความว่า บุคคลพึงเป็นผู้ไม่ขวนขวายในการศึกษา หรือใน
เบญจกามคุณเหล่านั้น คือพึงเป็นผู้ไม่น้อม ไม่โน้ม ไม่โอนเอน ไม่
น้อมใจไปในการศึกษาหรือในเบญจกามคุณเหล่านั้น ไม่พึงเป็นผู้มีการ
ศึกษาหรือเบญจกามคุณเหล่านั้นเป็นใหญ่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคล
พึงเป็นผู้ไม่ขวนขวายในการศึกษาหรือในเบญจกามคุณเหล่านั้น.
[816] คำว่า รู้ชัด ในคำว่า รู้ชัดกามทั้งหลายโดยประการ
ทั้งปวง
ความว่า แทงตลอดแล้วว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขาร
ทั้งปวงเป็นทุกข์ ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้น
ทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา. คำว่า โดยประการทั้งปวง คือทั้งปวง
โดยกำหนดทั้งปวง ทั้งปวงโดยประการทั้งปวง ไม่เหลือ ไม่มีส่วนเหลือ.
คำว่า โดยประการทั้งปวง เป็นเครื่องกล่าวรวมหมดโดย อุทานว่า กาม
กามมี 2 อย่าง คือวัตถุกาม 1 กิเลสกาม 1 ฯลฯ นี้เรียกว่า

1. บาลีคงตกหายไป จึงมีแต่รูป น่าจะมีเสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะด้วย.

วัตถุกาม ฯลฯ นี้เรียกว่ากิเลสกาม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า รู้ชัดกาม
ทั้งหลายโดยประการทั้งปวง.
[817] ชื่อว่า ศึกษา ในคำว่า พึงศึกษาความดับของตน ได้แก่
สิกขา 3 อย่าง คืออธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา ฯลฯ
นี้ชื่อว่า อธิปัญญาสิกขา. คำว่า ความดับของตน ความว่า พึงศึกษา
แม้อธิศีล ศึกษาแม้อธิจิต ศึกษาแม้อธิปัญญา เพื่อความดับ เพื่อความสงบ
เพื่อความเข้าไปสงบ เพื่อความเข้าไปสงบวิเศษ เพื่อความดับ เพื่อความ
สละคืน เพื่อความระงับ ซึ่งราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ อกุสลาภิสังขาร
ทั้งปวงของตน เมื่อนึกถึงสิกขา 3 เหล่านี้ก็พึงศึกษา เมื่อรู้ก็พึงศึกษา ฯลฯ
เมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ควรทำให้แจ้งก็พึงศึกษา ประพฤติโดยเอื้อเฟื้อ
ประพฤติโดยเอื้อเฟื้อด้วยดี สมาทานประพฤติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
พึงศึกษาความดับของตน เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ชนทั้งหลายกล่าวถึงการศึกษาในเพราะกามคุณ เป็น
ที่พัวพันในโลก บุคคลพึงเป็นผู้ไม่ขวนขวายในการศึกษา
หรือในกามคุณเหล่านั้น รู้ชัดกามทั้งหลายโดยประการ
ทั้งปวงแล้ว พึงศึกษาความดับของตน.

[818] บุคคลพึงเป็นผู้มีสัจจะ ไม่คะนอง ไม่มีมายา ปราศ-
จากตำส่อเสียด มุนีไม่พึงมีความโกรธ พึงข้ามพ้นความ
โลภอันลามก และความหวงแหน.

[819] คำว่า พึงเป็นผู้มีสัจจะ ในคำว่า บุคคลพึงเป็นผู้มีสัจจะ
ไม่คะนอง
ความว่า พึงเป็นผู้ประกอบด้วยสัจวาจา ประกอบด้วย

สัมมาทิฏฐิประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ 8 เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงเป็น
ผู้มีสัจจะ. คำว่า ไม่คะนอง ความว่า ความคะนองมี 3 อย่าง คือความ
คะนองทางกาย 1 ความคะนองทางวาจา 1 ความคะนองทางจิต 1 ฯลฯ
นี้ชื่อว่าความคะนองทางจิต ความคะนอง 3 อย่างนี้ อันบุคคลใดละ
ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ
บุคคลนั้น เรียกว่าผู้ไม่คะนอง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลพึงเป็นผู้มี
สัจจะ ไม่คะนอง.


ว่าด้วยความเป็นผู้มีมายา


[820] ความประพฤติลวงเรียกว่า มายา ในคำว่า ไม่มีมายา
ปราศจากคำส่อเสียด
ความว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ ประพฤติทุจริตด้วย
กาย ประพฤติทุจริตด้วยวาจา ประพฤติทุจริตด้วยใจ ย่อมตั้งความปรารถนา
ลามกเพราะเหตุจะปกปิดทุจริตนั้น ย่อมปรารถนาว่า ใคร ๆ อย่ารู้จักเรา
(ว่าเราประพฤติชั่ว) ย่อมดำริว่า ใคร ๆ อย่ารู้จักเรา คิดว่า ใคร ๆ อย่า
รู้จักเรา ดังนี้ แล้วก็กล่าววาจา (ว่าตนไม่มีความประพฤติชั่ว) คิดว่า
ใครๆ อย่ารู้จักเรา ดังนี้แล้วก็บากบั่นด้วยกาย (เพื่อจะปกปิดความประ-
พฤติชั่วของตน).
ความลวง ความเป็นผู้ลวง กิริยาเป็นเครื่องปกปิด กิริยาที่ซ่อน
ความจริง กิริยาบังความผิด กิริยาที่ซ่อนความผิด กิริยาที่พรางความชั่ว
กิริยาที่ซ่อนความชั่ว ความทำให้ลับ ความไม่เปิดเผย กิริยาที่คลุมความผิด
กิริยาที่ชั่ว นี้เรียกว่ามายา. มายานี้ อันบุคคลใดละ ตัดขาด สงบ
ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้น