เมนู

ความเป็นธรรมไม่มีความแปรปรวน ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า โลกทั้งหมดไม่เป็นแก่นสาร.

ว่าด้วยสังขารไม่เที่ยง


[801] คำว่า สังขารทั้งหลายหวั่นไหวแล้วตลอดทิศทั้งปวง
ความว่า สังขารทั้งหลายในทิศตะวันออก แม้สังขารเหล่านั้นก็หวั่นไหว
สะเทื้อน สะท้าน เอนเอียง เพราะเป็นสภาพไม่เที่ยงจึงเป็นสภาพอัน
ชาติติดตาม ชราห้อมล้อม พยาธิครอบงำ ถูกมรณะกำจัด ตั้งอยู่ใน
กองทุกข์ ไม่มีที่ต้านทาน ไม่มีที่หลีกเร้น ไม่มีที่พึ่ง เป็นสภาพไม่มีที่พึ่ง
สังขารทั้งหลายในทิศตะวันตก ในทิศเหนือ ในทิศใต้ ในทิศอาคเนย์
ในทิศพายัพ ในทิศอีสาน ในทิศหรดี ในทิศเบื้องต่ำ ในทิศเบื้องบน
ในสิบทิศ แม้สังขารเหล่านั้น หวั่นไหว สะเทื้อน สะท้าน เอนเอียง
เพราะเป็นของไม่เที่ยง จึงเป็นสภาพอันชาติติดตาม ชราห้อมล้อม พยาธิ
ครอบงำ ถูกมรณะกำจัด ตั้งอยู่ในกองทุกข์ ไม่มีที่ป้องกัน ไม่มีที่หลีก
เร้น ไม่มีที่พึ่ง เป็นสภาพไม่มีที่พึ่ง สมจริงตามภาษิตนี้ว่า
ก็วิมานนี้ สว่างรุ่งเรืองอยู่ในทิศอุดรแม้โดยแท้ แต่
บัณฑิตเห็นความชั่ว (โทษ) ในรูปแล้ว หวั่นไหวทุกเมื่อ
เพราะเหตุนั้น ท่านผู้มีปัญญาดีย่อมไม่ยินดีในรูป โลก
อันมัจจุกำจัด อันชราห้อมล้อม ถูกลูกศร คือตัณหา
แทงติดอยู่ ลุกเป็นควันเพราะความปรารถนาทุกเมื่อ โลก
ทั้งปวงอันไฟติดทั่ว โลกทั้งปวงอันไฟให้ลุกสว่าง โลก
ทั้งปวงอันไฟให้ลุกรุ่งโรจน์ โลกทั้งปวงหวั่นไหว.

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สังขารทั้งหลายหวั่นไหวแล้วตลอดทิศทั้งปวง.
[802] คำว่า เมื่อเราปรารถนาความเจริญเพื่อตน ความว่า
เมื่อเราปรารถนา ยินดี ประสงค์ รักใคร่ ชอบใจ ซึ่งความเจริญ คือ
ที่ป้องกัน ที่หลีกเร้น ที่พึ่ง ที่ดำเนิน ที่ก้าวหน้า เพื่อตน เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า เมื่อเราปรารถนาความเจริญเพื่อตน.
[803] คำว่า ไม่ได้เห็นซึ่งฐานะอะไร ๆ อันไม่ถูกครอบงำ
ความว่า เราไม่ได้เห็นซึ่งฐานะอะไร อันไม่ถูกครองงำ คือได้เห็นฐานะ
ทั้งปวงถูกครอบงำทั้งนั้น ความเป็นหนุ่มสาวทั้งปวงถูกชราครอบงำ ความ
เป็นผู้ไม่มีโรคทั้งปวงถูกพยาธิครอบงำ ชีวิตทั้งปวงถูกมรณะครอบงำ
ลาภทั้งปวงถูกความเสื่อมลาภครอบงำ ยศทั้งปวงถูกความเสื่อมยศครอบงำ
ความสรรเสริญทั้งปวงถูกความนินทาครอบงำ สุขทั้งปวงถูกทุกข์ครอบงำ.
สมจริงดังภาษิตว่า
ธรรมในหมู่มนุษย์เหล่านี้ คือลาภ ความเสื่อมลาภ
ยศ ความเสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข ทุกข์ เป็น
ของไม่เที่ยง ไม่มั่นคง มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา.

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ได้เห็นซึ่งฐานะอะไร ๆ อันไม่ถูกครอบงำ
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
โลกทั้งหมดไม่เป็นแก่นสาร สังขารทั้งหลายหวั่นไหว
แล้วตลอดทิศทั้งปวง เมื่อเราปรารถนาความเจริญเพื่อตน
ไม่ได้เห็นซึ่งฐานะอะไร ๆ อันไม่ถูกครอบงำ.

[804] เพราะได้เห็นที่สิ้นสุด ที่สกัดกั้น เราจึงได้มีความไม่
ยินดี อนึ่ง เราได้เห็นลูกศรอันเห็นได้ยาก อาศัยหทัย
ในสัตว์ทั้งหลายนั้น.

[805] คำว่า ที่สิ้นสุด ในคำว่า ที่สิ้นสุด ที่สกัดกั้น ความว่า
ชรายังความเป็นหนุ่มสาวทั้งปวงให้สิ้นสุดไป พยาธิยังความเป็นผู้ไม่มีโรค
ทั้งปวงให้สิ้นสุดไป มรณะยังชีวิตทั้งปวงให้สิ้นสุดไป ความเสื่อมลาภยัง
ลาภทั้งปวงให้สิ้นสุดไป ความนินทายังความสรรเสริญทั้งปวงให้สิ้นสุดไป
ทุกข์ยังสุขทั้งปวงให้สิ้นสุดไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ที่สิ้นสุด. คำว่า ที่
สกัดกั้น
ความว่า สัตว์ทั้งหลายผู้ปรารถนาความเป็นหนุ่มสาว ถูกชรา
สกัดกั้นไว้ สัตว์ทั้งหลายผู้ปรารถนาความไม่มีโรค ถูกพยาธิสกัดกั้นไว้
สัตว์ทั้งหลายผู้ปรารถนาชีวิต ถูกมรณะสกัดกั้นไว้ สัตว์ทั้งหลายผู้ปรารถนา
ลาภ ถูกความเสื่อมลาภสกัดกั้นไว้ สัตว์ทั้งหลายผู้ปรารถนายศ ถูกความ
เสื่อมยศสกัดกั้นไว้ สัตว์ทั้งหลายผู้ปรารถนาความสรรเสริญ ถูกความ
นินทาสกัดกั้นไว้ สัตว์ทั้งหลายผู้ปรารถนาความสุข ถูกความทุกข์สกัดกั้น
ไว้ คือปิดไว้ มากระทบ มากระทบเฉพาะ ทำลาย ทำลายเฉพาะ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ที่สิ้นสุดที่สกัดกั้น.
[806] คำว่า เพราะได้เห็น ในคำว่า เพราะได้เห็น ... เราจึง
ได้มีความไม่ยินดี
ความว่า เพราะเห็น ประสบ พิจารณา เทียบเคียง
ทำให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะได้เห็น.
คำว่า เราจึงได้มีความไม่ยินดี ความว่า ความไม่ยินดี ความไม่ยินดี
ยิ่ง กิริยาที่ไม่ยินดียิ่ง ความระอา ความเบื่อ ได้มีแล้ว เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า เพราะได้เห็น... เราจึงได้มีความไม่ยินดี.

[807] ศัพท์ว่า อถ ในคำว่า อนึ่ง เราได้เห็นลูกศร... ใน
สัตว์ทั้งหลาย
นั้น เป็นบทสนธิ ฯลฯ ศัพท์ว่า อถ นี้ เป็นไปตาม
ลำดับบท. คำว่า ใน นั้น เพ่งความว่า ในสัตว์ทั้งหลาย. ชื่อว่า ลูกศร
ได้แก่ ลูกศร 7 ประการ คือลูกศรคือราคะ ลูกศรคือโทสะ ลูกศรคือ
โมหะ. ลูกศรคือมานะ ลูกศรคือทิฏฐิ ลูกศรคือความโศก ลูกศรคือ
ความสงสัย. คำว่า เราได้เห็นแล้ว ความว่า ได้ประสบ ได้พบ ได้เห็น
แทงตลอดแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อนึ่ง เราได้เห็นลูกศร... ในสัตว์
ทั้งหลายนั้น.
[808] คำว่า อันเห็นได้ยาก ในคำว่า อันเห็นได้ยาก อาศัย
หทัย
ความว่า เห็นได้ยาก ดูได้ยาก พบได้ยาก รู้ได้ยาก ตามรู้ได้ยาก
แทงตลอดได้ยาก จิตได้แก่จิต ใจ มานัส หทัย ปัณฑระ มโน
มนายตนะ มนินเทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุอันสม
กัน . เรียกว่าหทัย ในคำว่า อันอาศัยหทัย. คำว่า อันอาศัยหทัย
คืออันอาศัยหทัย อาศัยจิต ร่วมอาศัยจิต ไปร่วม เกิดร่วม เกี่ยวข้อง
สัมปยุตด้วยจิต เกิดขึ้นพร้อมกัน ดับพร้อมกัน มีวัตถุเดียวกัน มีอารมณ์
เดียวกันกับจิต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อันเห็นได้ยาก อาศัยหทัย
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
เพราะได้เห็นที่สิ้นสุด ที่สกัดกั้น เราจึงได้มีความ
ไม่ยินดี อนึ่ง เราได้เห็นลูกศรอันเห็นได้ยาก อาศัยหทัย
ในสัตว์ทั้งหลายนั้น.

[809] สัตว์อันลูกศรใดปักติดแล้ว ย่อมแล่นพล่านไปสู่ทิศ
ทั้งปวง เพราะถอนลูกศรนั้นเสียแล้ ย่อมไม่แล่นไป
ย่อมไม่ล่มจม.


ว่าด้วยลูกศร 7 ประการ


[810] ชื่อว่า ลูกศร ในคำว่า สัตว์อันลูกศรใดปักติดแล้วย่อม
แล่นพล่านไปสู่ทิศทั้งปวง
ได้แก่ ลูกศร 7 ประการ คือลูกศรราคะ
ลูกศรโทสะ ลูกศรโมหะ ลูกศรมานะ ลูกศรทิฏฐิ ลูกศรความโศก
ลูกศรความสงสัย.
ลูกศรราคะเป็นไฉน ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความยินดี
ความชอบใจ ความเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน ความที่
จิตกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล นี้ชื่อว่า ลูกศรราคะ.
ลูกศรโทสะเป็นไฉน ความอาฆาตย่อมเกิดว่า คนโน้นได้ประพฤติ
ความพินาศแก่เราแล้ว ความอาฆาตย่อมเกิดว่า คนโน้นย่อมประพฤติ
ความพินาศแก่เรา ความอาฆาตย่อมเกิดว่า คนโน้นจักประพฤติความ
พินาศแก่เรา ฯลฯ ความเป็นคนดุร้าย ความเพาะวาจาชั่ว ความไม่
แช่มชื่นแห่งจิต นี้ชื่อว่า ลูกศรโทสะ.
ลูกศรโมหะเป็นไฉน ความไม่รู้ในทุกข์ ฯลฯ ความไม่รู้ใน
ปฏิปทาอันให้ถึงความดับทุกข์ ความไม่รู้ส่วนเบื้องต้น ความไม่รู้ส่วน
เบื้องปลาย ความไม่รู้ส่วนเบื้องต้นและส่วนเบื้องปลาย ความไม่รู้ใน
ธรรมทั้งหลายที่อาศัยกันเกิดขึ้น คือความที่ปฏิจจสมุปบาทมีอวิชชานี้เป็น
ปัจจัย ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่ตามตรัสรู้ ความไม่ตรัสรู้