เมนู

สามัญญผล 4 ปฏิสัมภิทา 4 อภิญญา 6 บุคคลนั้นรู้อรรถ รู้ธรรม
รู้นิรุตติ เมื่อรู้อรรถ อรรถก็แจ่มแจ้ง เมื่อรู้ธรรม ธรรมก็แจ่มแจ้ง เมื่อ
รู้นิรุตติ นิรุตติก็แจ่มแจ้ง ญาณในอรรถ ธรรมและนิรุตติ ทั้ง 3 นี้ ชื่อว่า
ปฏิภาณปฏิสัมภิทา บุคคลใดเข้าถึง เข้าถึงพร้อม เข้าไป เข้าไปพร้อม
เข้าไปถึง เข้าไปถึงพร้อม ประกอบแล้ว ด้วยปฏิภาณปฏิสัมภิทาน บุคคล
ใดไม่มีประยัติ ไม่มีปริปุจฉา ไม่มีอธิคม ญาณอะไรเล่าจะแจ่มแจ้งแก่
บุคคลนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ละเอียดมีปฏิภาณ.

ว่าด้วยรู้ธรรมแล้วไม่ต้องเชื่อใครอีก


[407] คำว่า ไม่เชื่อใคร ๆ ในคำว่า ไม่เชื่อใคร ๆ ไม่คลาย
กำหนัด
ความว่า ภิกษุนั้นย่อมไม่เชื่อธรรมที่รู้ยิ่งด้วยตนเอง อันประจักษ์
แก่ตนเองต่อใคร ๆ อื่น ซึ่งเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร หรือ
พรหม คือไม่เชื่อธรรมที่รู้ยิ่งด้วยตนเอง อันประจักษ์แก่ตนเองว่า สังขาร
ทั้งปวงไม่เที่ยง . . .สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ . . .ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา...
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ฯลฯ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมี
ชรามรณะ.. . . เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ ฯลฯ เพราะชาติดับ ชรา
มรณะจึงดับ . . .นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เหล่านั้น
อาสวะ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ . . .ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง
ฯลฯ ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ต่อใคร ๆ อื่นซึ่งเป็นสมณะ พราหมณ์
เทวดา มาร หรือพรหม และไม่เชื่อธรรมที่รู้ยิ่งด้วยตนเอง อันประจักษ์
แก่ตนเอง คือความเกิด ความดับ คุณ โทษ อุบายเครื่องสลัดออกไป

แห่งผัสสายตนะ 6 และความเกิด ความดับ คุณ โทษ อุบายเครื่อง
สลัดออกไป แห่งอุปาทานขันธ์ 5 และความเกิด ความดับ คุณ โทษ
อุบายเครื่องสลัดออกไป แห่งมหาภูตรูป 4 ต่อใคร ๆ อื่นซึ่งเป็นสมณะ
พราหมณ์ เทวดา มาร หรือพรหม และไม่เชื่อธรรมที่รู้ยิ่งด้วยตนเอง
อันประจักษ์แก่ตนเองว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้น
ทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา ต่อใคร ๆ อื่นซึ่งเป็นสมณะ พราหมณ์
เทวดา มาร หรือพรหม.
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร เธอย่อมเชื่อ
หรือว่า สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์
ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว เป็นธรรมชาติ หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ
เป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด. ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ในข้อนี้ ข้าพระองค์ไม่ถึงความเชื่อต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
ว่า สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ที่บุคคล
เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว เป็นธรรมชาติ หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็น
เบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สัทธินทรีย์เป็นต้นนั้น
ชนเหล่าใดยังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่ถูกต้องแล้ว ด้วย
ปัญญา ชนเหล่านั้น พึงถึงความเชื่อต่อชนอื่นในข้อนั้นโดยแน่นอนว่า
สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ที่บุคคลเจริญเล้ว ทำให้มากแล้ว เป็น
คุณชาติ หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ส่วนว่า สัทธินทรีย์เป็นต้นนั้น ชนเหล่าใดรู้เห็น ทราบ
ทำให้แจ้ง ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ชนเหล่านั้น ไม่มีความเคลือบแคลง
สงสัยในข้อนั้นว่า สัทธินทรีย์...ปัญญินทรีย์...ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้

มากแล้ว เป็นคุณชาติ หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะ
เป็นที่สุด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สัทธินทรีย์เป็นต้นนั้น ข้าพระองค์รู้
เห็น ทราบ ทำให้แจ้ง ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ข้าพระองค์ไม่มีความ
เคลือบแคลงสงสัยในข้อนั้นว่า สัทธินทรีย์. . .ปัญญินทรีย์ ที่บุคคลเจริญ
แล้ว ทำให้มากแล้ว เป็นคุณชาติหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า
มีอมตะเป็นที่สุด. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร ถูกละ ๆ
ดูก่อนสารีบุตร ความจริง สัทธินทรีย์เป็นต้นนั้น ชนเหล่าใด ยังไม่รู้
ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ชนเหล่านั้น
พึงถึงความเชื่อต่อชนอื่นในข้อนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์
ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว เป็นคุณชาติ หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ
เป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลง
แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า
นรชนใด เป็นผู้ไม่เชื่อใคร ๆ รู้ว่านิพพาน อันปัจจัย
อะไร ๆ ทำไม่ได้ ตัดที่ต่อ กำจัดโอกาส คลายความหวัง
เสียแล้ว นรชนนั้นแล ชื่อว่าเป็นอุดมบุรุษ ดังนี้.


ว่าด้วยผู้ไม่คลายกำหนัด


คำว่า ไม่คลายกำหนัด ความว่า พาลปุถุชนทั้งหมดย่อมกำหนัด
พระเสขะ 7 จำพวก รวมทั้งกัลยาณปุถุชน ย่อมคลายกำหนัด พระอรหันต์
ย่อมไม่กำหนัด ทั้งไม่คลายกำหนัด พระอรหันต์นั้น ชื่อว่าเป็นผู้เว้น