เมนู

นั้น ๆ ย่อมติดอยู่ในที่นั้น ๆ ถึงความฉิบหายในที่นั้นๆ ภิกษุย่อมเกี่ยว-
ข้องในบ้านแม้อย่างนี้ ภิกษุย่อมไม่เกี่ยวข้องในบ้านอย่างไร ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่อยู่เกี่ยวข้อง ไม่ร่วมยินดี ไม่ร่วมเศร้าโศก กับพวก
คฤหัสถ์ในบ้าน เมื่อพวกคฤหัสถ์มีสุขก็มีสุขด้วย มีทุกข์ก็ไม่ทุกข์ด้วย
เมื่อมีธุรกิจที่ต้องทำเกิดขึ้น ก็ไม่ถึงความช่วยเหลือด้วยตน ภิกษุย่อมไม่
เกี่ยวข้องในบ้านแม้อย่างนี้ อีกอย่างหนึ่ง เวลาเช้าภิกษุนุ่งสบงแล้ว ถือ
บาตรและจีวรเข้าไปยังบ้านหรือนิคมเพื่อบิณฑบาต รักษากาย รักษาวาจา
รักษาจิต ตั้งสติมั่น สำรวมอินทรีย์ ย่อมไม่เกี่ยวข้องในที่นั้นๆ ย่อม
ไม่รับในที่นั้นๆ ย่อมไม่ติดอยู่ในที่นั้นๆ ไม่ถึงความฉิบหายในที่นั้น ๆ
ภิกษุย่อมไม่เกี่ยวข้องในบ้านแม้อย่างนี้.
คำว่า ไม่เกี่ยวข้องในบ้าน ความว่า ภิกษุไม่พึงเกี่ยวข้อง ไม่รับ
ไม่ติด ไม่พัวพันในบ้าน ไม่พึงเป็นผู้กำหนัดยินดีหลงใหลติดใจในบ้าน
พึงเป็นผู้หายกำหนัด ปราศจากกำหนัด สละกำหนัดเสียแล้ว ฯลฯ พึง
เป็นผู้มีตนดุจพรหมอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงเกี่ยวข้องในบ้าน.

ว่าด้วยการพูดเลียบเคียง


[765] พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ไม่พึงพูดเลียบเคียงกะชน
เพราะความอยากได้ลาภ
ดังต่อไปนี้
การพูดเลียบเคียงเป็นไฉน การพูดหว่านล้อม การพูดเลียบเคียง
การพูดเลียบเคียงด้วยดี การพูดยกย่อง การพูดยกย่องด้วยดี การพูดผูก
พัน การพูดผูกพันด้วยดี การพูดอวดอ้าง การพูดอวดอ้างด้วยดี การ
พูดฝากรัก ความเป็นผู้พูดมุ่งให้เขารักตน ความเป็นผู้พูดเหลวไหลดังว่า

แกงถั่ว ความเป็นผู้พูดประจบ ความเป็นผู้พูดแคะได้ (ดุจกินเนื้อหลัง
ผู้อื่น) ความเป็นผู้พูดอ่อนหวาน ความเป็นผู้พูดไพเราะ ความเป็นผู้พูด
ด้วยไมตรี ความเป็นผู้พูดไม่หยาบคายแก่ชนเหล่าอื่น แห่งภิกษุผู้มั่นหมาย
ลาภสักการะและความสรรเสริญ มีความปรารถนาลามก อันความปรารถนา
ครอบงำ เป็นผู้เห็นแก่อามิส หนักอยู่ในโลกธรรม กิริยานี้เรียกว่า
การพูดเลียบเคียง.
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุพูดเลียบเคียงกะชนด้วยเหตุ 2 อย่าง คือตั้งตนต่ำ
ยกผู้อื่นสูง พูดเลียบเคียงกะชน 1 ยกตนสูง ตั้งผู้อื่นต่ำ พูดเลียบเคียง
กะชน 1.
ภิกษุตั้งตนต่ำ ยกผู้อื่นสูง พูดเลียบเคียงกะชนอย่างไร ภิกษุ
ตั้งตนต่ำ ยกผู้อื่นสูง พูดกะชนอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายมีอุปการะมาก
แก่ฉัน ฉันได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
เพราะอาศัยท่านทั้งหลาย แม้คนอื่น ๆ ย่อมสำคัญเพื่อจะให้หรือเพื่อจะทำ
แก่ฉัน คนเหล่านั้น อาศัยท่านทั้งหลาย เห็นแก่ท่านทั้งหลาย จึงให้
จึงทำแก่ฉัน แม้ชื่อเก่าเป็นของมารดาและบิดา ชื่อแม้นั้นของฉันหายลับ
ไป ฉันย่อมปรากฏเพราะท่านทั้งหลายว่า เป็นกุลุปกะของอุบาสกโน้น
เป็นกุลุปกะของอุบาสิกาโน้น ภิกษุตั้งตนต่ำ ยกผู้อื่นสูง พูดเลียบเคียง
กะชนอย่างนี้.
ภิกษุยกตนสูง ตั้งผู้อื่นต่ำ พูดเลียบเคียงกะชนอย่างไร ภิกษุ
ยกตนสูง ตั้งผู้อื่นต่ำ พูดเลียบเคียงกะชนแม้อย่างนี้ว่า ฉันมีอุปการะมาก
แก่พวกท่าน พวกท่านอาศัยฉันจึงถึงพระพุทธเจ้า เป็นสรณะ ถึงพระ-
ธรรมเป็นสรณะ ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ เว้นขาดจากปาณาติบาต เว้น

ขาดจากอทินนาทาน เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากมุสาวาท
เว้นขาดจากเหตุที่เป็นที่ตั้งแห่งความประมาทในเพราะดื่มน้ำเมา คือสุรา
และเมรัย ฉันย่อมบอกให้พระบาลี ย่อมบอกให้คำอธิบายพระบาลี ย่อม
บอกอุโบสถ ย่อมอำนวยการก่อสร้าง แก่ท่านทั้งหลาย ก็แต่เมื่อท่าน
ทั้งหลายลืมฉันเสียแล้ว ย่อมสักการะเคารพนับถือบูชาภิกษุเหล่าอื่น ภิกษุ
ยกตนสูง ตั้งผู้อื่นต่ำ พูดเลียบเคียงกะชนแม้อย่างนี้.
คำว่า ไม่พึงพูดเลียบเคียงกะชนเพราะความอยากได้ลาภ ความ
ว่า ภิกษุเมื่อจะให้ลาภสำเร็จ ไม่พึงพูดเลียบเคียงกะชน คือพึงละบรรเทา
ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งการพูดเลียบเคียงกะชน เป็นผู้งด เว้น
เว้นเฉพาะ ออก สลัดออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องการพูดเลียบเคียงเพราะ
เหตุแห่งลาภ เพราะการณะแห่งลาภ เพราะความบังเกิดขึ้นแห่งลาภ พึง
เป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงพูดเลียบ-
เคียงกะชน เพราะความอยากได้ลาภ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสตอบว่า
ภิกษุไม่พึงตั้งอยู่ในการซื้อขาย ไม่พึงทำกิเลสเป็น
เครื่องค่อนขอดในที่ไหนๆ ไม่พึงเกี่ยวข้องในบ้าน ไม่
พึงพูดเลียบเคียงกะชนเพราะความอยากได้ลาภ.

[766] ภิกษุไม่พึงเป็นผู้พูดโอ้อวด ไม่พึงกล่าววาจามุ่งได้
ไม่พึงศึกษาความเป็นผู้คะนอง และไม่พึงกล่าวถ้อยคำ
แก่งแย่ง.

ว่าด้วยการพูดโอ้อวด


[767] พึงทราบอธิบายในคำว่า ภิกษุไม่พึงเป็นผู้พูดโอ้อวด
ดังต่อไปนี้.
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้พูดโอ้อวด อวดอ้าง ภิกษุนั้น
ย่อมพูดโอ้อวด อวดอ้างว่า เราเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลบ้าง ถึงพร้อม
ด้วยวัตรบ้าง ถึงพร้อมด้วยศีลและวัตรบ้าง ถึงพร้อมด้วยชาติบ้าง ถึง
พร้อมด้วยโคตรบ้าง ถึงพร้อมด้วยความเป็นบุตรสกุลบ้าง ถึงพร้อมด้วย
ความเป็นผู้มีรูปงามบ้าง ถึงพร้อมด้วยทรัพย์บ้าง ถึงพร้อมด้วยความเชื้อ
เชิญบ้าง ถึงพร้อมด้วยหน้าที่การงานบ้าง ถึงพร้อมด้วยศิลปศาสตร์บ้าง
ถึงพร้อมด้วยวิทยฐานะบ้าง ถึงพร้อมด้วยการศึกษาบ้าง ถึงพร้อมด้วย
ปฏิภาณบ้าง ถึงพร้อมด้วยวัตถุอื่นๆบ้าง เราออกบวชจากสกุลสูงบ้าง
ออกบวชจากสกุลมีโภคสมบัติมากบ้าง ออกบวชจากสกุลมีโภคสมบัติยิ่ง
ใหญ่บ้าง เป็นผู้ทรงจำพระสูตรบ้าง เป็นผู้ทรงจำพระวินัยบ้าง เป็นพระ-
ธรรมกถึกบ้าง เป็นผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตรบ้าง ฯลฯ เป็นผู้ได้เนวสัญญานา-
สัญญายตนสมาบัติบ้าง ภิกษุไม่พึงพูดโอ้อวดอย่างนี้ คือพึงละ บรรเทา
ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีซึ่งความพูดโอ้อวด พึงเป็นผู้งด เว้น เว้น-
เฉพาะ ออก สลัดออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องกับการพูดโอ้อวด พึงเป็น
ผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุไม่พึงเป็นผู้พูด
โอ้อวด.

ว่าด้วยการกล่าววาจามุ่งได้


[768] พึงทราบอธิบายในคำว่า ไม่พึงกล่าววาจามุ่งได้ ดัง
ต่อไปนี้