เมนู

เป็นผู้มีฌานแม้ด้วยฌานไม่มีวิตกมีแต่วิจาร พึงเป็นผู้มีฌานแม้ด้วยฌาน
ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร พึงเป็นผู้มีฌานแม้ด้วยฌานมีปีติ พึงเป็นผู้มีฌานแม้
ด้วยฌานไม่มีปีติ พึงเป็นผู้มีฌานแม้ด้วยฌานอันสหรคตด้วยปีติ พึงเป็น
ผู้มีฌานแม้ด้วยฌานอันสหรคตด้วยสุข พึงเป็นผู้มีฌานแม้ด้วยฌานอัน
สหรคตด้วยอุเบกขา พึงเป็นผู้มีฌานแม้ด้วยฌานเป็นสุญญตะ พึงเป็นผู้มี
ฌานแม้ด้วยฌานเป็นอนิมิตตะ พึงเป็นผู้มีฌานแม้ด้วยฌานเป็นอัปปณิหิตะ
พึงเป็นผู้มีฌานแม้ด้วยฌานเป็นโลกิยะ พึงเป็นผู้มีฌานแม้ด้วยฌานเป็น
โลกุตระ คือ เป็นผู้ยินดีแล้วในฌาน ขวนขวายในความเป็นผู้มีจิตมี
อารมณ์เป็นหนึ่ง เป็นผู้หนักอยู่ในประโยชน์ของตน เพราะฉะนั้น จึง
ชื่อว่า พึงเป็นผู้มีฌาน.

ว่าด้วยผู้โลเลเพราะเท้า


คำว่า ไม่พึงเป็นผู้โลเลเพราะเท้า ความว่า ภิกษุเป็นผู้โลเลเพราะ
เท้าอย่างไร ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้โลเลเพราะเท้า คือประกอบ
ด้วยความโลเลเพราะเท้า เป็นผู้ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความเที่ยวไปนาน
ซึ่งความเที่ยวไปไม่แน่นอน สู่อารามแต่อาราม สู่สวนแต่สวน สู่บ้านแต่
บ้าน สู่นิคมแต่นิคม สู่นครแต่นคร สู่แว่นแคว้นแต่แว่นแคว้น สู่ชนบท
แต่ชนบท ภิกษุเป็นผู้โลเลเพราะเท้าแม้อย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยความโลเลเพราะเท้าในภายใน
สังฆาราม ไม่ใช่เดินไปเพราะเหตุแห่งการทำ เป็นผู้ฟุ้งซ่าน มีจิตไม่สงบ
เดินไปสู่บริเวณแต่บริเวณ เดินไปสู่วิหารแต่วิหาร เดินไปสู่เรือนมีหลังคา
แถบเดียวแต่เรือนมีหลังคาแถบเดียว เดินไปสู่ปราสาทแต่ปราสาท เดิน

ไปสู่เรือนหลังคาโล้นแต่เรือนหลังคาโล้น เดินไปสู่ถ้ำแต่ถ้ำ เดินไปสู่ที่
หลีกเร้นแต่ที่หลีกเร้น เดินไปสู่กุฎีแต่กุฎี เดินไปสู่เรือนยอดแต่เรือนยอด
เดินไปสู่ป้อมแต่ป้อม เดินไปสู่โรงปะรำแต่โรงปะรำ เดินไปสู่เรือนที่พัก
แต่เรือนที่พัก เดินไปสู่เรือนที่เก็บของแต่เรือนที่เก็บของ เดินไปสู่โรงฉัน
แต่โรงฉัน เดินไปสู่โรงกลมแต่โรงกลม เดินไปสู่โคนต้นไม้แต่โคนต้นไม้
หรือเดินไปในสถานที่ภิกษุทั้งหลายนั่งกัน เธอเป็นที่สองของภิกษุหนึ่งรูป
เป็นที่สามของภิกษุสองรูป เป็นที่สี่ของภิกษุสามรูป ย่อมพูดเรื่องเพ้อเจ้อ
มากในที่นั้น ๆ คือ เรของพระราชา เรื่องโจร... เรื่องทะเล เรื่องความ
เจริญและความเสื่อมด้วยประการนั้น ๆ ภิกษุเป็นผู้โลเลเพราะเท้าแม้
อย่างนี้.
คำว่า ภิกษุไม่พึงเป็นผู้โลเลเพราะเท้า ความว่า ภิกษุพึงละ
บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความเป็นผู้โลเลเพราะเท้า
คือพึงเป็นผู้งด เว้น เว้นขาด ออก สละ พ้นไป ไม่เกี่ยวข้อง ด้วย
ความเป็นผู้โลเลเพราะเท้า พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดงกิเลสอยู่ ประพฤติ
เอื้อเฟื้อ เปลี่ยนอิริยาบถ ประพฤติไป รักษา บำรุง เยียวยา ภิกษุนั้น
พึงเป็นผู้ชอบในความสงัด ยินดีในความสงัด ขวนขวายในความสงบจิต
ณ ภายใน ไม่เหินห่างจากฌาน ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนการอยู่ใน
เรือนว่างเปล่า เป็นผู้มีฌาน ยินดีในฌาน ขวนขวายในความเป็นผู้มีจิต
มีอารมณ์เป็นหนึ่ง เป็นผู้หนักอยู่ในประโยชน์ของตน เพราะฉะนั้น จึง
ชื่อว่า ภิกษุพึงเป็นผู้มีฌาน ไม่พึงเป็นผู้โลเลเพราะเท้า.
[748] คำว่า ความคะนอง ในคำว่า พึงเว้นจากความคะนอง
ไม่พึงประมาท ความว่า แม้ความคะนองมือ ความคะนองเท้า ความ

คะนองมือและเท้าก็ชื่อว่าความคะนอง ความสำคัญในสิ่งที่ควรว่าไม่ควร
ความสำคัญในสิ่งที่ไม่ควรว่าควร ความสำคัญในสิ่งที่ไม่มีโทษว่ามีโทษ
ความสำคัญในสิ่งที่มีโทษว่าไม่มีโทษ ความรำคาญ กิริยาที่รำคาญ ความ
เป็นผู้รำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ นี้เรียกว่าความรำคาญ.

ว่าด้วยความรำคาญเกิดเพราะเหตุ 2 ประการ


อีกอย่างหนึ่ง ความรำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ
ย่อมเกิดขึ้นเพราะเหตุ 2 ประการคือเพราะกระทำและไม่การทำ ความ
รำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ ย่อมเกิดขึ้นเพราะกระทำและ
เพราะไม่การทำอย่างไร ความรำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ
ย่อมเกิดขึ้นว่า เราทำกายทุจริต เราไม่ได้ทำกายสุจริต เราทำวจีทุจริต
เราไม่ได้ทำวจีสุจริต เราทำมโนทุจริต เราไม่ได้ทำมโนสุจริต เราทำ
ปาณาติบาต เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจากปาณาติบาต เราทำ
อทินนาทาน เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจากอทินนาทาน เราทำกาม-
สุมิจฉาจาร เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร เราทำ
มุสาวาท เราไม่ทำเจตนาเครื่องงดเว้น จากมุสาวาท เราทำปิสุณาวาจา
เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจากปิสุณาวาจา เราทำผรุสวาจา เราไม่ได้
ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจากผรุสวาจา เราทำสัมผัปปลาปะ เราไม่ได้ทำเจตนา
เครื่องงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ เราทำอภิชฌา เราไม่ได้ทำอนภิชฌา เราทำ
พยาบาท เราไม่ได้ทำอัพยาบาท เราทำมิจฉาทิฏฐิ เราไม่ได้ทำสัมมาทิฏฐิ
ความรำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ ย่อมเกิดขึ้นเพราะกระทำ
และไม่กระทำอย่างนี้.