เมนู

ว่าด้วยภัยและความขลาดกลัว


[741] ชื่อว่า ความขลาดกลัว ในคำว่า และไม่หวั่นไหว
ในเพราะความขลาดกลัว
ความว่า ภัยก็ดี ความขลาดกลัวก็ดี โดย
อาการก็อย่างเดียวกัน สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภัย ความ
ขลาดกลัวนี้นั้น ย่อมมีมาแน่ ภัยนั้นท่านกล่าวว่ามีวัตถุภายนอกเป็น
อารมณ์ คือราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี เสือดาว หมาป่า โค
กระบือ ช้าง งู แมลงป่อง ตะขาบ โจร คนที่ทำกรรมชั่ว คนที่เตรียม
จะทำกรรมชั่ว อนึ่ง โดยอาการอื่น ความกลัว กิริยาที่กลัว ความหวาด
หวั่น ความเป็นผู้มีขนลุก อันเกิดแก่จิตในภายใน ความหวาดเสียว ความ
สะดุ้งแห่งจิต ภัยแต่ชาติ ภัยแต่ชรา ภัยแต่พยาธิ ภัยแต่มรณะ ภัยแต่
พระราชา ภัยแต่โจร ภัยแต่ไฟ ภัยแต่น้ำ ภัยแต่ความติเตียนตน ภัย
แต่ความติเตียนผู้อื่น ภัยแต่อาชญา ภัยแต่ทุคติ ภัยแต่คลื่น ภัยแต่จระเข้
ภัยแต่วังวน ภัยแต่ปลาร้าย ภัยแต่การเลี้ยงชีพ ภัยแต่ความติเตียน ภัย
แต่ความครั่นคร้ามในประชุมชน ความขลาด ความหวาดหวั่น ความ
เป็นผู้มีขนลุก ความหวาดเสียว ความสะดุ้งแห่งจิต เรียกว่าภัย.
คำว่า ไม่พึงหวั่นไหวในเพราะความขลาดกลัว คือภิกษุเห็นหรือ
ได้ยินวัตถุที่น่ากลัว ไม่พึงสะดุ้งสะทกสะท้าน หวั่นไหว หวาดเสียว
ครั้นคร้าม เกรงกลัว ถึงความสะดุ้งกลัว คือพึงเป็นผู้ไม่ขลาด ไม่
หวาดเสียว ไม่สะดุ้ง ไม่หนีไป พึงเป็นผู้ละความกลัวความขลาดเสีย
ปราศจากความเป็นผู้มีขนลุกขนพองอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึง
หวั่นไหวในเพราะความขลาดกลัว เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสตอบว่า

ภิกษุพึงเป็นผู้ถูกผัสสะกระทบเข้าแล้ว เมื่อใด เมื่อนั้น
ไม่พึงทำความรำพันในที่ไหน ๆ ไม่พึงปรารถนาภพ และ
ไม่พึงหวั่นไหวในเพราะความขลาดกลัว.

[742] ภิกษุได้แล้วซึ่งข้าวก็ดี น้ำก็ดี ของควรเคี้ยวก็ดี ผ้า
ก็ดี ไม่ควรทำการสั่งสม เมื่อไม่ได้ข้าวเป็นต้นนั้น ก็ไม่
พึงสะดุ้ง.


ว่าด้วยข้าวน้ำและของควรเคี้ยว


[773] คำว่า ข้าว ในคำว่า ข้าวก็ดี น้ำก็ดี ของควรเคี้ยวก็ดี
ผ้าก็ดี
ได้แก่ ข้าวสุก ขนมกุมมาส สัตตู ปลา เนื้อ. คำว่า น้ำ ได้แก่
ปานะ 8 อย่าง คือน้ำผลมะม่วง น้ำผลหว้า น้ำผลกล้วยมีเมล็ด น้ำผล
กล้วยไม่มีเมล็ด น้ำผลมะซาง น้ำผลจันทน์ น้ำรากบัว น้ำผลลิ้นจี่.
ปานะ 8 อีกอย่างหนึ่ง คือน้ำผลสะคร้อ น้ำผลกระเบา น้ำผล
พุทรา ปานะที่ทำด้วยเปรียง น้ำมัน น้ำข้าวยาคู น้ำนม ปานะที่ทำ
ด้วยรส. คำว่า ของควรเคี้ยว ได้แก่ของควรเคี้ยวที่ทำด้วยแป้ง ของ
ควรเคี้ยวที่ทำเป็นขนม ของควรเคี้ยวที่ทำด้วยเหง้าไม้ ของควรเคี้ยวที่ทำ
ด้วยเปลือกไม้ ของควรเคี้ยวที่ทำด้วยใบไม้ ของควรเคี้ยวที่ทำด้วยดอกไม้
ของควรเคี้ยวที่ทำด้วยผลไม้. คำว่า ผ้า ได้แก่จีวร 6 ชนิด คือ ผ้า
เปลือกไม้ ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ผ้าป่าน ผ้าที่ทำด้วยเปลือกไม้
เป็นต้น เจือกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าวก็ดี น้ำก็ดี ของควรเคี้ยว
ก็ดี ผ้าก็ดี.