เมนู

บุคคลเป็นผู้มีความประสงค์ให้เขาแตกกันอย่างนี้ว่า คนเหล่านี้พึง
เป็นต่างกัน แยกกัน เป็นก๊กกันเป็นสองเหล่า สองพวก สองฝ่า อย่างไร
คนเหล่านั้นพึงแตกกัน ไม่ปรองดองกัน พึงอยู่ลำบาก ไม่ผาสุก บุคคลมี
ความประสงค์ให้เขาแตกกัน นำคำส่อเสียดเข้าไปอย่างนี้.
คำส่อเสียดนี้ บุคคลใด ละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้
ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้นไม่ประกอบ ไม่ประกอบ
ทั่ว ไม่มาประกอบ ไม่มาประกอบพร้อม ในความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และไม่ประกอบในความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
บุคคลเป็นผู้หลีกเร้น ไม่หลอกลวง ไม่ทะเยอทะยาน
ไม่ตระหนี่ ไม่คะนอง ไม่เป็นที่รังเกียจ และไม่ประกอบ
ในความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด.

[402] บุคคลผู้ไม่มีความยินดีในวัตถุเป็นที่ยินดี ไม่ประกอบ
ในความถือตัวจัด ผู้ละเอียด มีปฏิภาณไม่เชื่อใคร ๆ
และไม่คลายกำหนัด.


ว่าด้วยกามคุณ


[403] กามคุณ 5 เรียกว่าวัตถุเป็นที่ยินดี ในคำว่า บุคคลผู้ไม่
มีความยินดีในวัตถุเป็นที่ยินดี
เพราะเหตุว่า เทวดาและมนุษย์ย่อมอยาก
ได้ ยินดี ปรารถนา รักใคร่ พอใจกามคุณ 5 โดยส่วนมาก เพราะ-
เหตุนั้น กามคุณ 5 จึงเรียกว่าวัตถุเป็นที่ยินดี. ความยินดี คือความ

ปรารถนานั้น อันชนเหล่าใดยังละไม่ได้แล้ว ชนเหล่านั้นก็มีรูปตัณหา
ไหลหลั่ง เลื่อนไหล เป็นไปในทางจักษุ มีสัททตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล
เป็นไปทางหู มีคันธตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางจมูก มีรส-
ตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางลิ้น มีโผฏฐัพพตัณหาหลั่งไหล
เลื่อนไหล เป็นไปทางกาย มีธรรมตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไป
ทางใจ ความยินดี คือความปรารถนานั้น อันชนเหล่าใดละ ตัดขาด
สงบระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ ชน
เหล่านั้นก็ไม่มีรูปตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางจักษุ ไม่มีสัทท-
ตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางหู ไม่มีคันธตัณหาหลั่งไหล เลื่อน-
ไหล เป็นไปทางจมูก ไม่มีรสตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางลิ้น
ไม่มีโผฏฐัพพตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางกาย ไม่มีธรรม-
ตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางใจ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่มี
ความยินดีในวัตถุเป็นที่ยินดี.

ว่าด้วยความดูหมิ่น


[404] คำว่า ไม่ประกอบในความดูหมิ่น ความว่า ความดูหมิ่น
เป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมดูหมิ่นผู้อื่นโดยชาติบ้าง โดย
โคตรบ้าง ฯลฯ โดยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง ความถือตัว กิริยาที่ถือ
ตัว ความกำเริบขึ้น ความฟูขึ้น ความถือตัวดังว่าธงชัย ความยกย่องตน
ความที่จิตใคร่เป็นดังว่าธงยอดเห็นปานนี้ นี้เรียกว่า ความดูหมิ่นนั้น อัน
บุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้ว
ด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้นไม่ประกอบ ไม่ประกอบทั่ว ไม่มาประกอบ