เมนู

อีกอย่างหนึ่ง บุคคลเป็นผู้ไม่ถือโกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่ลบหลู่
ไม่ตีเสมอ ไม่ริษยา ไม่ตระหนี่ ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา ไม่กระด้าง
ไม่ถือตัวจัด ไม่มีความปรารถนาลามก ไม่มีความเห็นผิด ไม่ถือทิฏฐิ
ของตน ไม่มีความถือรั้น มีความสละคืนง่าย บุคคลนี้เรียกว่าผู้ไม่เป็นที่
รังเกียจ อริยบุคคลทั้งหมดรวมทั้งกัลยาณปุถุชน เรียกว่าผู้ไม่เป็นที่รังเกียจ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่คะนอง ไม่เป็นที่รังเกียจ.

ว่าด้วยผู้ส่อเสียด


[401] ชื่อว่า ความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด ในคำว่า และไม่
ประกอบในความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด
พึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีวาจาส่อเสียด คือฟังจากข้างนี้แล้วไปบอก
ข้างโน้น เพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือฟังจากข้างโน้นแล้วมาบอกข้างนี้ เพื่อ
ทำลายคนหมู่โน้น เป็นผู้ทำลายคนที่พร้อมเพรียงกันบ้าง สนับสนุนคนที่
แตกกันแล้วบ้าง ชอบผู้ที่เป็นก๊กกัน ยินดีผู้ที่เป็นก๊กกัน เพลินผู้ที่เป็น
ก๊กกัน เป็นผู้กล่าววาจาที่ทำให้เป็นก๊กกัน นี้เรียกว่าความเป็นผู้มีคำ
ส่อเสียด อีกอย่างหนึ่ง บุคคลย่อมนำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยเหตุ 2 ประการ
คือด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รัก 1 มีความประสงค์ให้เขาแตกกัน 1.
บุคคลนำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รักอย่างไร ? บุคคล
นำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รักอย่างนี้ว่า เราจักเป็นที่รัก
เป็นที่ชอบใจ เป็นผู้สนิท เป็นภายใน เป็นที่ดีใจ ของบุคคลนี้ บุคคล
นำคำส่อเสียดเข้าไป ด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รักอย่างนี้.

บุคคลเป็นผู้มีความประสงค์ให้เขาแตกกันอย่างนี้ว่า คนเหล่านี้พึง
เป็นต่างกัน แยกกัน เป็นก๊กกันเป็นสองเหล่า สองพวก สองฝ่า อย่างไร
คนเหล่านั้นพึงแตกกัน ไม่ปรองดองกัน พึงอยู่ลำบาก ไม่ผาสุก บุคคลมี
ความประสงค์ให้เขาแตกกัน นำคำส่อเสียดเข้าไปอย่างนี้.
คำส่อเสียดนี้ บุคคลใด ละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้
ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้นไม่ประกอบ ไม่ประกอบ
ทั่ว ไม่มาประกอบ ไม่มาประกอบพร้อม ในความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และไม่ประกอบในความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
บุคคลเป็นผู้หลีกเร้น ไม่หลอกลวง ไม่ทะเยอทะยาน
ไม่ตระหนี่ ไม่คะนอง ไม่เป็นที่รังเกียจ และไม่ประกอบ
ในความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด.

[402] บุคคลผู้ไม่มีความยินดีในวัตถุเป็นที่ยินดี ไม่ประกอบ
ในความถือตัวจัด ผู้ละเอียด มีปฏิภาณไม่เชื่อใคร ๆ
และไม่คลายกำหนัด.


ว่าด้วยกามคุณ


[403] กามคุณ 5 เรียกว่าวัตถุเป็นที่ยินดี ในคำว่า บุคคลผู้ไม่
มีความยินดีในวัตถุเป็นที่ยินดี
เพราะเหตุว่า เทวดาและมนุษย์ย่อมอยาก
ได้ ยินดี ปรารถนา รักใคร่ พอใจกามคุณ 5 โดยส่วนมาก เพราะ-
เหตุนั้น กามคุณ 5 จึงเรียกว่าวัตถุเป็นที่ยินดี. ความยินดี คือความ