เมนู

สกุลสูง มิใช่เป็นผู้ออกบวชจากสกุลใหญ่ ก็มีจิตวางตนเหมือนกับภิกษุ
ที่ออกบวชจากสกุลใหญ่ มิใช่เป็นผู้ออกบวชจากสกุลมีโภคสมบัติมาก
ก็มีจิตวางตนเหมือนกับภิกษุที่ออกบวชจากสกุลมีโภคสมบัติมาก มิใช่เป็น
ผู้ออกบวชจากสกุลมีโภคสมบัติยิ่งใหญ่ ก็มีจิตวางคนเหมือนกับภิกษุที่ออก
บวชจากสกุลมีโภคสมบัติยิ่งใหญ่ มิใช่เป็นผู้ทรงจำพระสูตร ก็มีจิต
วางตนเหมือนกับภิกษุผู้ทรงจำพระสูตร มิใช่เป็นผู้ทรงจำพระวินัย...มิใช่
เป็นพระธรรมกถึก . . . มิใช่เป็นผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร . . . มิใช่เป็นผู้ถือเที่ยว
บิณฑบาตเป็นวัตร . . . มิใช่เป็นผู้ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร. . .มิใช่เป็นผู้
ถือทรงไตรจีวรเป็นวัตร . . . มิใช่เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับตรอก
เป็นวัตร . . . มิใช่เป็นผู้ถือไม่ฉันภัตหนหลังเป็นวัตร . . . มิใช่เป็นผู้ถือไม่
นอนเป็นวัตร . . . มิใช่เป็นผู้ถืออยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดให้อย่างไรเป็นวัตร
...มิใช่เป็นผู้ได้ปฐมฌาน ฯลฯ มิใช่เป็นผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตน-
สมาบัติ ก็มีจิตวางตนเหมือนกับภิกษุที่ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
นี้ชื่อว่าความคะนองทางจิต.
ความคะนอง 3 ประการนี้ บุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว
ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้นเรียกว่า ผู้ไม่
คะนอง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่คะนอง.

ว่าด้วยผู้น่ารังเกียจและไม่น่ารังเกียจ


[400] คำว่า ผู้ไม่เป็นที่รังเกียจ ความว่า บุคคลผู้เป็นที่
รังเกียจก็มี ผู้ไม่เป็นที่รังเกียจก็มี.

ก็บุคคลผู้เป็นที่รังเกียจเป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็น
คนทุศีล มีบาปธรรม มีความประพฤติอันไม่สะอาดที่พึงระลึกด้วยความ
ระแวง มีการงานอันปกปิด ไม่ใช่สมณะ ก็ปฏิญาณว่าคนเป็นสมณะ
มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ก็ปฏิญาณว่าเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เป็น
ผู้มีความเน่าอยู่ ณ ภายใน มีจิตชุ่มอยู่ด้วยราคะ เป็นดังว่าหยากเยื่อ บุคคล
นี้เรียกว่า เป็นที่รังเกียจ.

อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้มักโกรธ มีความแค้นเคืองมาก ถูกใครว่า
เข้าแต่น้อย ก็ขัดใจ โกรธเคือง มุ่งร้าย ปองร้าย ทำความโกรธ ความ
เคือง ความไม่ยินดีให้ปรากฏ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นที่รังเกียจ.
อีกอย่างหนึ่ง บุคคลเป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธ ลบหลู่ ตีเสมอ ริษยา
ตระหนี่ โอ้อวด มีมารยา เป็นผู้กระด้าง ถือตัวจัด มีความปรารถนา
ลามก มีความเห็นผิด มีความถือทิฏฐิของตน มีความถือรั้น มีความสละ
คืนยาก บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นที่รังเกียจ.
ก็บุคคลผู้ไม่เป็นที่รังเกียจเป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้
มีศีลสำรวมด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรเห็นภัยใน
โทษทั้งหลาย มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาทั้งหลาย บุคคล
นี้เรียกว่า ผู้ไม่เป็นที่รังเกียจ.

อีกอย่างหนึ่ง บุคคลไม่เป็นผู้มักโกรธ ไม่มีความแค้นเคืองมาก
แม้อันใคร ๆ ว่ามากก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง ไม่มุ่งร้าย ไม่ปองร้าย
ไม่ทำความโกรธ ความเคือง ความไม่ยินดีให้ปรากฏ บุคคลนี้เรียกว่า
ผู้ไม่เป็นที่รังเกียจ.

อีกอย่างหนึ่ง บุคคลเป็นผู้ไม่ถือโกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่ลบหลู่
ไม่ตีเสมอ ไม่ริษยา ไม่ตระหนี่ ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา ไม่กระด้าง
ไม่ถือตัวจัด ไม่มีความปรารถนาลามก ไม่มีความเห็นผิด ไม่ถือทิฏฐิ
ของตน ไม่มีความถือรั้น มีความสละคืนง่าย บุคคลนี้เรียกว่าผู้ไม่เป็นที่
รังเกียจ อริยบุคคลทั้งหมดรวมทั้งกัลยาณปุถุชน เรียกว่าผู้ไม่เป็นที่รังเกียจ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่คะนอง ไม่เป็นที่รังเกียจ.

ว่าด้วยผู้ส่อเสียด


[401] ชื่อว่า ความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด ในคำว่า และไม่
ประกอบในความเป็นผู้มีวาจาส่อเสียด
พึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีวาจาส่อเสียด คือฟังจากข้างนี้แล้วไปบอก
ข้างโน้น เพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือฟังจากข้างโน้นแล้วมาบอกข้างนี้ เพื่อ
ทำลายคนหมู่โน้น เป็นผู้ทำลายคนที่พร้อมเพรียงกันบ้าง สนับสนุนคนที่
แตกกันแล้วบ้าง ชอบผู้ที่เป็นก๊กกัน ยินดีผู้ที่เป็นก๊กกัน เพลินผู้ที่เป็น
ก๊กกัน เป็นผู้กล่าววาจาที่ทำให้เป็นก๊กกัน นี้เรียกว่าความเป็นผู้มีคำ
ส่อเสียด อีกอย่างหนึ่ง บุคคลย่อมนำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยเหตุ 2 ประการ
คือด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รัก 1 มีความประสงค์ให้เขาแตกกัน 1.
บุคคลนำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รักอย่างไร ? บุคคล
นำคำส่อเสียดเข้าไปด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รักอย่างนี้ว่า เราจักเป็นที่รัก
เป็นที่ชอบใจ เป็นผู้สนิท เป็นภายใน เป็นที่ดีใจ ของบุคคลนี้ บุคคล
นำคำส่อเสียดเข้าไป ด้วยความมุ่งหมายเป็นที่รักอย่างนี้.